สถานที่ทำงานเป็นที่ที่หลายคนใช้เวลาอยู่กับมันมากถึง 1 ใน 3 ของเวลาชีวิตหรือบางคนอาจจะมากกว่า เพราะฉะนั้น คงไม่แปลกเลยถ้าจะบอกว่าที่ทำงานเป็นอย่างไร คุณภาพชีวิตของคนในที่ทำงานก็มีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้น ถ้าที่ทำงานน่าอยู่ก็สนับสนุนให้พนักงานมีความสุขไปด้วย มีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย มีความสำเร็จที่ชัดเจน และมีพลังใจดี ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีให้กับองค์กร แต่ในทางกลับกันถ้าที่ทำงานเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความกดดัน และบรรยากาศลบ ๆ และความสัมพันธ์ที่ไม่ต่อดีสุขภาพใจนัก ก็ส่งผลทางลบต่อความเป็นอยู่ของพนักงาน และประสิทธิภาพในการทำงานเช่นกัน เพราะฉะนั้นองค์กรหลาย ๆ ที่ ทั้งบริษัทเล็ก และบริษัทใหญ่ ต่างให้ความสำคัญที่จะดูแสภาพแวดล้อมขององค์กรให้มีบรรยากาศเป็นบวก และเอื้อต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โดย Dr. Riggio นักจิตวิทยาองค์กร ได้ให้แนวทางในการพัฒนาสถานที่ทำงานให้เป็นที่ที่น่าอยู่ ไว้ 3 แนวทาง
1. Promote Regular Team-Building Activities.
ที่ทำงานที่ดีที่สุด คือที่ที่ชวนให้พนักงานมีความเชื่อในเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Cisco and Whole foods market ซึ่งพนักงานในองค์กรเหล่านี้ หรือพวกเขามักจะถูกเรียกว่า “Team member” มากกว่าเป็นพนักงาน ซึ่งพวกเขามีความเชื่อมั่นในตัวองค์กร เชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาทำ และพวกเขาจะ support กันและกันเสมอ
การที่จะทำให้ทุกคนมีจุดมุ่งหมายร่วมกันได้ สิ่งสำคัญคือต้องตั้งใจสร้างให้มันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก หรือใหญ่ สามารถสร้างประสบการณ์เหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้ ผ่านการทำกิจรรม Team Building บางองค์กรอาจจะใช้การจ้างที่ปรึกษาหรือหน่วยงานภายนอก ในขณะที่องค์กรเล็ก ๆ สามารถจัดตั้งทีมภายใน เพื่อดูแลการสร้างกิจกรรม Team building ต่าง ๆ ที่นำไปสู่การสร้างความรู้สึกร่วมต่อความสำเร็จในการไปสู่จุดมุ่งหมายขององค์กร
ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมที่ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกแบบโบรชัวร์ หรือเว็บไซต์ขององค์กร สื่อต่าง ๆ ในการโปรโมทองค์กร ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะพาให้พนักงานทุกคนได้มาโฟกัสไปกับ mission และ purpose ขององค์กร และที่สำคัญเลยคือเป็นจังหวะที่แต่ละคนจะได้มองเห็นด้านดี ๆ ขององค์กรชัดเจนขึ้น
อีกตัวอย่างนึงคือ การให้ทีมงานทุกคนได้มีโอกาสเขียนรายงานประจำปี มันเป็นโอกาสให้ทุกคนกลับไปนึกถึงความสำเร็จที่ผ่านมา และเปลี่ยนการเขียนรายงานที่น่าเบื่อนี้ให้กลายเป็นโอกาสในการฉลอง และสังสรรค์
2. Create a culture of Mutual Respect
หนึ่งใน value ที่ทุก ๆ บริษัทควรมีในรูปแบบของตัวเองคือการเคารพกันและกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำจริง ๆ ไม่ง่ายเลย แต่จุดเริ่มต้นที่ดีคือการส่งเสริมคุณค่าตัวนี้ ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศของการเคารพกันและกัน และจริงจังกับการจัดการกับเรื่องการ Bully กันในองค์กรทั้งระหว่างพนักงานกันเอง และพนักงานกับนายจ้างหรือหัวหน้างาน
ตัวอย่างของเรื่องนี้ จะขอยกโรงเรียนบางแห่งมาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการเคารพกันและกัน และสอนเรื่องพวกนี้ได้เป็นอย่างดี หลายที่มีการชวนนักเรียนมาถกกันเรื่องความเคารพผู้อื่น หรือมีการป้ายที่เขียนว่า “No-Bully Zone” ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจสามารถปรับใช้นอกโรงเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุยกันถึงเรื่องความเคารพอย่างจริงจัง หรือการเสนอไอเดียเพื่อสร้างพื้นที่แห่งการเคารพกันให้มากขึ้น เพราะที่ทำงานเป็นหนึ่งในสถานที่ที่การ bully เป็นเรื่องที่หลายคนอาจจะยังมองข้าม และเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อความสบายใจ หรือทุกข์ใจขอพนักงานได้เลย
3. Develop Programs to Make Workplace Improvement
องค์กรหนึ่งที่เป็นผู้นำในด้าน Employee satisfaction ในวงการสถาบันทางการเงิน มีการใช้ระบบการสำรวจทุก ๆ ครึ่งปีเพื่อถามหาฟีดแบคจากพนักงาน พนักงานทุกคนจะได้รับแบบสอบถามเกี่ยวกับทุก ๆ ด้านในงานของเขา ในแผนก และในองค์กรโดยรวม พนักงานจะสามารถระบุปัญหา หรือระบุถึงจุดที่บริษัทสามารถทำได้ดีกว่าเดิมได้ และเมื่อถึงเวลาจัด All-hand meeting เรื่องเหล่านี้จะถูกนำมามาแชร์กันอย่างทั่วถึง และให้ผู้บริหารตัดสินใจเลือก 2-4 areas ที่มองว่าต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษ หลังจากนั้นพนักงานจากทุกระดับจะอาสาเป็นทีมเฉพาะกิจในการจัดการกับปัญหาเหล่านั้น เรื่องน่าสนใจคือจำนวนอาสาสมัครที่เข้ามานั้นล้นจากจำนวนที่ต้องการไปหลายเท่าเลยทีเดียว
ในทุก ๆ แนวทางที่กล่าวมา ปัจจัยสำคัญที่มีร่วมกันไม่ว่าจะเป็นแนวทางไหน คือการให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มีส่วนร่วมในการออกแรงเพื่อทำให้ที่ทำงานของพวกเขามีความน่าอยู่มากขึ้น และในขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพด้านการทำงานมีแนวโน้มที่สูงมากขึ้นตามเช่นกัน ตามที่งานวิจัยหลายที่ได้พูดถึงความสัมพันธ์ของความสุขความพึงพอใจของพนักงาน ต่อประสิทธิการทำงานที่มีความสอดคล้องกัน
และบทบาทสำคัญของผู้นำองค์กรคือการเปิดโอกาส และสนับสนุนให้พนักงานในทุก ๆ ระดับสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่พนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
และเช่นเดียวกันกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรไม่ว่าในที่ไหน ๆ นอกจากการสนับสนุน และเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว อีกบทบาทของผู้นำองค์กรที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การที่ผู้นำองค์กรให้ความสำคัญและทำตัวเป็นแบบอย่างในพฤติกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในองค์กร และจริงจังกับการดูแลจัดการพฤติกรรมที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นในองค์กรคือส่วนสำคัญของความสำเร็จ เพื่อให้สื่อสารความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไปยังทุกคนในองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ที่มา:
https://www.psychologytoday.com/us/blog/cutting-edge-leadership/201009/how-create-better-workplace
https://www.theladders.com/career-advice/5-ways-to-create-a-better-workplace