ในปีหนึ่งๆ แรงจูงใจของพนักงานจะลดลงไปโดยธรรมชาติถึงปีละ 2-3 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผ่านฤดูฝน ผ่านช่วงวันหยุดยาว หรือกำลังผ่านช่วงวิกฤตอย่าง Covid นี้ และบางครั้งพนักงานก็ผ่านช่วงเวลาที่พวกเขารู้สึกมีแรงจูงใจน้อยลงโดยไม่มีเหตุผล ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม คุณคงไม่ต้องการให้พนักงานหมดกำลังใจนานนัก
ความสุขของพนักงาน การมีสุขภาพที่ดี จะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและการลาออกน้อยลง ข่าวดีก็คือ การเสริมสร้างกำลังใจให้พนักงานไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อน หรือเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก มีหลายสิ่งที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากจนเกินไป
.
.
เทคนิคการสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานด้วย Data Driven จาก Fundera ที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลตอบแทน, วัฒนธรรมการทำงาน, ไอเดียในการสื่อสาร และการบริหารจัดการ ผลสรุปออกมามีแนวทางที่เป็นหัวใจสำคัญซึ่งท่านสามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจภายในองค์กรได้ดังนี้
.
.
INCENTIVES (ผลตอบแทน):
- อัตราค่าจ้างที่แข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆได้
44% ของพนักงานออกจากที่เดิมเนื่องจากค่าจ้างที่อื่นสูงกว่า - ให้สวัสดิการที่หลากหลาย
80% ของพนักงานมองว่าการได้รับผลประโยชน์ที่หลากหลายเกิดจากวิสัยทัศน์และค่านิมยมขององค์กรของพวกเขา - ให้ความสำคัญกับประกันสุขภาพ
56% ของชาวอเมริกันเห็นว่า สวัสดิการด้านสุขภาพเป็นสาเหตุที่ทำให้ยังทำงานกับที่ทำงานปัจจุบัน - ชื่นชมคนขยัน
69% ของพนักงานบอกว่า พวกเขายอมทำงานมากขึ้นหากได้รับคำชื่นชมและการยอมรับ - จัดให้มีการพัฒนาในสายอาชีพ
การจัดให้มีการอบรมและพัฒนาช่วยรักษากลุ่ม Millennials ไม่ให้ออกจากงาน ได้ถึง 86% - มีความยืดหยุ่นในตารางงาน
75% ของพนักงานบอกว่าพวกเขาทำงานได้มี productivity มากกว่าเมื่อได้ทำงานที่บ้าน
WORK CULTURE (วัฒนธรรมการทำงาน):
- รู้จักขอบคุณ
87% ของพนักงานที่ได้รับความรู้สึกขอบคุณในที่ทำงาน ไม่ลาออกจากองค์กรของพวกเขา - สร้างระบบพี่เลี้ยง การสอนงาน
83% ของพนักงานที่เข้าร่วมระบบการสอนงานช่วยทำให้พวกเขาอยากทำงานในองค์กรเดิมต่อไปมากขึ้น - ลำดับความสำคัญของค่านิยมองค์กร
20% ของกลุ่มพนักงานที่มีอายุ 24-35 ปี มองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่นายจ้างต้องมีชื่อเสียงด้านความประพฤติที่มีจริยธรรม, ยอมรับความหลากหลาย และไม่เลือกปฏิบัติ - สนับสนุน Work Life Balance
เกือบ 50% ของพนักงานมองว่าหากตึงเครียดในที่ทำงานมากเกินไปส่งผลให้พวกเขาใส่ใจในงานน้อยลง - ส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี
54% ของผู้เชี่ยวชาญมองว่าโปรแกรมรณรงค์การมีสุขภาพดีช่วยพัฒนาแรงจูงใจของพนักงานได้
COMMUNICATION (การสื่อสาร):
- สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
86% ของผู้บริหารและพนักงานบอกว่าการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการทำงาน - จบการประชุมด้วยเป้าหมายที่ทำได้จริง
46% ของพนักงานไม่รู้ว่าหลังจากประชุมแล้วจะต้องทำอะไรต่อ - ลดการส่ง Email ลูกโซ่ หรือ Email ที่ไม่จำเป็น
96% ของพนักงานมองว่าอีเมล์ที่ไม่จำเป็น อย่างอีเมล์กลุ่มยาว ๆ ที่ส่งกันต่อเนื่อง หรืออีเมล์ลูกโซ่ ทำให้พวกเขาเสียเวลา - สื่อสารในช่วงเวลาทำงาน
26% ของทั้งหมดรู้สึกกดดันที่จะตอบเมล์ทำงานในช่วงนอกเวลาทำงาน - สนับสนุนการทำงานเป็นทีม
ประสิทธิภาพสามารถพัฒนาได้โดย 20-25% ของพนักงานในองค์กรมีการประสานเชื่อมโยงกัน - จัดเตรียมช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบ
55% ของพนักงานมองว่า application ในมือถือช้วยให้พวกเขาได้รับแจ้งข่าวสารและมีความผูกพันมากขึ้น
OFFICE (การทำงานในองค์กร):
- ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
73% ของพนักงานที่ทำงานโดยใช้ระบบ digital ในที่ทำงาน ผลทำให้ประสิทธิภาพงานของพวกเขาเกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีขึ้น - เอาต้นไม้เข้ามาปลูกในออฟฟิต
ต้นไม้ในร่ม 2-3 ต้นสามารถช่วยเพิ่มความผูกพันและเพิ่มผลผลิตขึ้นถึง 15% - อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าออฟฟิต
88% ของพนักงานที่ทำงานในที่ๆเป็นมิตรหรือรักสัตว์ วางแผนจะทำงานที่บริษัทเดิมต่ออีก 12 เดือน - เตรียมขนมเสบียงต่างๆ
การมีขนมจัดเตรียมไว้ทำให้ 57% ของพนักงานรู้สึกมีคุณค่าและรู้สึกขอบคุณ - มีจอแสดงผลหลายอัน
จอแสดงผล 2 จอถูกพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ถึง 50% - หามุมแสงธรรมชาติในออฟฟิต
54% ของพนักงานที่เข้าถึงแสงธรรมชาติได้จะรู้สึกผูกพันกับหน้าที่ของเขา
MANAGEMENT (การบริหารจัดการ):
- เลือกผู้จัดการของคุณอย่างชาญฉลาด
58% ของพนักงานบอกว่าการบริหารงานที่แย่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการเพิ่มผลผลิต - ส่งเสริมให้พนักงานเติบโต
69% ของพนักงานที่ผู้จัดการช่วยตั้งเป้าหมายให้มีความผูกพันสูง - Feedback พนักงานทุกอาทิตย์
43% ของพนักงานที่มีความผูกพัน รับ Feedback อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง - บริหารที่จุดแข็งของพวกเขา
67% ของพนักงานที่ผู้จัดการมุ่งเน้นที่จุดแข็งของพวกเขามีรายงานผลว่ามีความผูกพันสูง - ให้อิสระในการทำงาน
พนักงานที่ใช้จุดแข็งของพวกเขาในการทำงานผูกพันถึง 6 เท่า - ระวังอย่าให้ปริมาณงานล้น
ผลผลิตลดลงถึง 68% เมื่อพนักงานรู้สึกว่าพวกเขามีเวลาไม่เพียงพอต่อการทำงาน
.
.
ในยุคปัจจุบัน การขับเคลื่อนแบบ Data Driven Culture เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารและผู้นำองค์กรอย่างมาก จนอาจเรียกได้ว่า เราไม่สามารถขาดข้อมูลในการตัดสินใจได้เลย และจำเป็นต้องใช้ในการนำการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรที่มีการนำแนวทางของ Agile ไปประยุกต์ใช้แล้ว Data ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเร่งให้องค์กรเกิดความเป็น Agile อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของข้อมูลเพื่อนำมาสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน และจะดีแค่ไหนหากองค์กรของท่านมี Data ซึ่งบ่งบอกถึงพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรท่านเอง
.
.
“ท้ายสุดนี้…ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอย่างเห็นกันละ”
A Cup of Culture
ที่มาจาก: https://www.fundera.com/blog/improve-employee-morale