Albert Einstein กล่าวไว้ว่า “ถ้าฉันมีเวลา 1 ชั่วโมงในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญมาก ๆ ฉันจะใช้เวลา 55 นาทีในการตั้งคำถามดี ๆ เกี่ยวกับปัญหานั้น และใช้เวลา 5 นาทีในการคิดวิธีแก้ปัญหา” .เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านมีประสบการณ์ในการใช้เวลาอันยาวนานเพื่อพูดคุยระดมสมองหาทางแก้ไขปัญหา และท้ายที่สุดก็พบว่าวิธีการแก้ปัญหานั้นมันไม่เวิร์ค สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเรามักจะรีบหาวิธีและลงมือแก้ปัญหาโดยยังไม่มีข้อมูลที่รอบด้านเพียงพอ และยังไม่รู้ถึงปัญหาที่แท้จริง .
#ActionLearning เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเท่า ๆ กับการเรียนรู้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1940 โดย Reg Revans ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ และได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ The World Institute for Action Learning (WIAL) จนปัจจุบันหลายองค์กรทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความรู้สึกปลอดภัยในทีม (Team Psychological Safety) สร้างทีมประสิทธิภาพสูง และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้แทนที่จะใช้วิธีการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาแบบเดิมๆ กระบวนการ Action Learning พาทีมถอยกลับมาหนึ่งก้าวโดยเริ่มจากการเล่าโจทย์ปัญหา ทีมรับฟัง ถามคำถาม และช่วยกันหาข้อสรุปร่วมถึงปัญหาที่แท้จริง แนวทางการแก้ปัญหา และท้ายที่สุดคือการให้คำมั่นสัญญาถึงสิ่งที่สมาชิกในทีมจะกลับไปลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหานั้น โดยมีโค้ชช่วยสะท้อนการเรียนรู้ระหว่างกระบวนการ .
Action Learning ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้..
📌1. ปัญหา (Problem)
ปัญหาที่เป็นโจทย์ตั้งต้น อาจจะเป็นปัญหาของบุคคล ทีม หรือองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน สำคัญ ยังคิดหาวิธีแก้ไขไม่ได้ และสมาชิกในทีมอย่างน้อยหนึ่งคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหานั้น ยิ่งปัญหาซับซ้อนเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของทีมได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างหัวข้อปัญหาเช่น การจัดสรรเวลาเพื่องานและครอบครัว การพัฒนาการให้บริการลูกค้าในช่วง Social Distancing หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริง เป็นต้น..
📌 2. ทีม (Team)
ทีมประกอบด้วยสมาชิก 4-8 คนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรง ผู้เชี่ยวชาญในปัญหานั้น ๆ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหานั้น หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นเลย โดยทั่วไปในการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหา เราจะได้รับความคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะ มากมายจากสมาชิกในทีมที่มีประสบการณ์คล้ายกัน ผู้ที่มีไอเดียดี ๆ และกล้าพูด ในขณะที่สมาชิกบางคนอาจไม่ได้มีส่วนร่วมเท่าที่ควรด้วยเหตุผลหลากหลายประการ กระบวนการ Action Learning จะส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และหาวิธีแก้ปัญหานั้นจริง ๆ ..
📌 3. คำถามและการสะท้อนปัญหา (Questioning and Reflective Listening)
คำถามที่ดีเปิดโอกาสให้ทีมได้คิดในมุมที่ต่าง และท้าทายขีดจำกัด สมาชิกในทีมทุกคนมีจึงหน้าที่ในการรับฟังอย่างตั้งใจ สะท้อนปัญหา และตั้งคำถามดี ๆ เพื่อให้ทีมมี โอกาสได้เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ก่อนจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหา นอกจากนั้นยังช่วยให้ทีมเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น สร้างแรงบันดาลใจ และความสัมพันธ์ที่ดีในทีม..
📌 4. การลงมือทำ (Action)
การเรียนจะสมบูรณ์จะสมบูรณ์ไม้ได้เลยถ้าปราศจากการลงมือทำ หลังจากที่ทีมช่วยกันตั้งคำถาม รับฟังอย่างตั้งใจเพื่อเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง และนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาแล้ว กระบวนการ Action Learning จะส่งเสริมให้สมาชิกในทีมนำแนวทางเหล่านั้นไปสู่การลงมือทำจริง..
📌 5. การเรียนรู้ (Learning)
ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ Action Leaning นอกจากวิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ก็คือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่
• การเรียนรู้ระดับบุคคล จากการฝึกสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม หรือค่านิยมที่ต้องการจะส่งเสริม เช่น การคิดรอบด้าน การสร้างความร่วมมือ การสร้างความไว้วางใจ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
• ระดับทีม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยการรับฟัง การตั้งคำถาม การทำความเข้าใจปัญหาจากหลากหลายคำถาม หลากหลายมุมมอง
• ระดับองค์กร จากการที่สมาชิกในทีมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร ..
📌 6. โค้ช (Action Learning Coach)
โค้ช ทำหน้าที่ในการรักษากฎกติกาของ Action Learning และสะท้อนการเรียนรู้กับทีมด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเช่น การฟังของทีม คุณภาพของคำถาม และการมีส่วนร่วมของทีม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะที่สมาชิกในทีมแต่ละคนต้องการพัฒนา และการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด .แนวคิดดหลักจาก Reg Revans ก็คือ “ไม่มีการเรียนรู้ใดที่จะสมบูรณ์หากปราศจากการลงมือทำ และไม่มีการลงมือทำใดที่จะสมบูรณ์หากปราศจากการเรียนรู้“ และนั่นก็คือที่มาของ Action Learning .
ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่Optimizing the Power of Action Learning https://wial.org/
https://www.facebook.com/Wialthailand
.
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture