วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ของคุณ ให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน…
ระหว่าง ความมั่นคง และ ความยืดหยุ่น ?
ระหว่าง เรื่องภายใน และ เรื่องภายนอกองค์กร?
ในระหว่างการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพ Performance และความสำเร็จขององค์กรในปี 1999 University of Michigan ได้ออกแบบ Competing Values Framework ที่แบ่งประเภทวัฒนธรรมองค์กรตามความสำคัญที่องค์กรให้ต่อความมั่นคง ความยืดหยุ่น และความสนใจต่อเรื่องภายในและภายนอก โดย Framework ดังกล่าว กลายเป็นฐานของเครื่องมือวัดวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture Assessment Instrument หรือ OCAI) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
แต่ที่น่าสนใจไปกว่านี้คือ หลังจากนั้นเป็นต้นมา งานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ มักใช้ Competing Values Framework นี้ เป็นตัวตั้งในการวิจัยวัฒนธรรมในด้านอื่นๆ เช่น การสื่อสาร ความสามารถที่จะปรับตัวแบบ Agile หรือแม้แต่ระบบการให้และคำนวนค่าตอบแทนให้พนักงาน
==================
Competing Values Framework แบ่ง”วัฒนธรรมองค์กร”เป็น 4 ประเภท ดังนี้:
- Clan องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง และ Focus เรื่องภายในองค์กรมากกว่าภายนอก
- Adhocracy องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง และ Focus เรื่องภายนอกองค์กรมากกว่าภายใน
- Hierarchy องค์กรเน้นการควบคุมและ Focus เรื่องภายในองค์กรมากกว่าภายนอก
- Market องค์กรเน้นการควบคุมและ Focus เรื่องภายนอกองค์กรมากกว่าภายใน.
วัฒนธรรมทั้ง 4 ประเภทนี้ มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน และมีความเหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมที่ต่างกันด้วย A Cup of Culture ขอชวนทุกคนมาดูกันเลยว่า วัฒนธรรมของคุณ เป็นวัฒนธรรมแบบไหน
Clan Culture : “ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”
ลักษณะเด่น: ความร่วมมือกัน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน
- Clan Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นเรื่องคน ในฐานะ “ครอบครัวแสนสุข” ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นทีม ให้คุณค่ากับทุกคนเท่ากันแนว Flat Organisation และเห็นการสื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องสำคัญ Clan Culture มักพบได้บ่อยในองค์กรที่มีขนาดกลาง-เล็ก, Startups, หรือในองค์กรที่ขึ้นชื่อด้านวัฒนธรรม อย่าง Zappos
- ผู้นำแนว Clan Culture มักมาในรูปแบบของ Mentor ผู้พร้อมรับฟังและสนับสนุนทุกคนให้ไปถึงฝั่งด้วยกัน
- ข้อดี คือ Clan Culture เป็นวัฒนธรรมที่มี Employee Engagement และความไว้ใจภายในสูง นอกจากนั้น ความยืดหยุ่นของวัฒนธรรมนี้ยังช่วยในการปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ไว
- ข้อควรระวัง คือ วัฒนธรรมลักษณะนี้อาจประคับประครองต่อไปได้ยากเมื่อองค์กรเติบโต และ อาจทำให้บางครั้ง การบริหารทำงานดูไม่มีทิศทางหรือไม่ชัดเจน• วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการให้ความสำคัญกับพนักงานอย่างแท้จริง เช่น การสื่อสารที่เปิดเผยและชัดเจน การทำความเข้าใจกับเหล่าพนักงานในฐานะเพื่อนมนุษย์และสร้างการทำงานที่สอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคล และกระบวนการให้ Feedback กันและกันอย่างเปิดกว้างในทุกระดับ
Adhocracy Culture : “ลุยก่อน เสี่ยงก่อน ได้เปรียบ”
ลักษณะเด่น: ความเป็นนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
- Adhocracy Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นเรื่องไอเดีย ความสร้างสรรค์ และความเป็นนวัตกรรม ซึ่งแน่นอนว่าความเป็นนวัตกรรมนี้ จะมาควบคู่กับความเสี่ยงที่ Adhocracy Culture พร้อมน้อบรับ วัฒนธรรมเช่นนี้ให้คุณค่ากับความเป็นเอกลักษณ์ระดับบุคคล ที่จะเป็นที่มาของไอเดียที่แตกต่างหลากหลาย และจะตอบโจทย์การพัฒนาธุรกิจในที่สุด
- ผู้นำแนว Adhocracy Culture มักมาในรูปแบบของ Experimenter ผู้กล้าลอง กล้าลุย และกล้าท้าทายคนในองค์กรให้ลองและลุยไปด้วยกัน
- ข้อดี คือ Adhocracy Culture สามารถสร้าง Employee Engagement ผ่านเป้าหมายในการ “ทำสิ่งแปลกใหม่” ที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ละการพัฒนาวิชาชีพได้เสมอ นอกจากนี้ องค์กรที่มีที่ Adhocracy Culture เช่น Facebook หรือ Google มักเป็นองค์กรที่โด่งดังและทำกำไรได้สูง
- ข้อควรระวัง คือ วัฒนธรรมลักษณะนี้จะมีความแข่งขันภายในที่สร้างแรงกดดันต่อพนักงานอย่างสูง และองค์กรยังต้องพร้อมรับความเสี่ยงที่มากับไอเดียที่ “นำหน้า” ตลาดอีกด้วย
- วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมกันะดมไอเดียหรือคิดแผนกลยุทธ์ผ่านเวิร์คช็อปหรือระบบการ Brainstorm อื่นๆ และการให้รางวัลไอเดียดีๆ ใหม่ๆ ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่พร้อมรับมือกับกลยุทธ์ธุรกิจแบบ High-Risk เป็นพิเศษ.
Market Culture : “เรามาเพื่อชนะลูกเดียว”
ลักษณะเด่น: การแข่งขัน มุ่งสู่ผลลัพธ์
- Market Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นผลลัพธ์และการสร้างกำไร วัฒนธรรมลักษณะนี้ตั้งเป้าหมายให้ทุกบทบาทอย่างชัดเจน และทุกบทบาทจะสอดคล้องต่อเป้าหมายใหญ่ขององค์กร เพื่อมุ่งสู่การเติบโตในตลาด ซึ่งทำให้องค์กรที่มี Market Culture มีความคาดหวังต่อพนักงานสูง และมีระบบติดตาม Performance ของพนักงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็น Industry Leader เช่น Amazon และ Apple (โดยเฉพาะในยุคของ Steve Jobs) มักจะมีวัฒนธรรมเช่นนี้
- ผู้นำแนว Market Culture มักมาในรูปแบบของ Goal-Oriented Victor ผู้มีความคาดหวังสูง ที่จะผลักดันทีมให้คงมาตรฐานอันเลิศขององค์กร
- ข้อดี คือ เป้าหมายที่ชัดเจนของ Market Culture ช่วยให้พนักงานทุกคนทำงานเพื่อมุ่งไปในทิศทางเดียวกันและสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนั้น การ Focus ที่เรื่องภายนอกองค์กรยังช่วยให้วัฒนธรรมลักษณะนี้สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในตลาดได้ไวอีกด้วย
- ข้อควรระวัง คือ องค์กรที่มี Market Culture มักมาพร้อมกับวิธีการทำงานที่ทำให้ทุกการตัดสินใจผูกติดกับตัวเลขเป็นหลัก ซึ่งเมื่อรวมกับแรงกดดัน อาจทำให้พนักงานเครียด ไม่รู้สึก Engage กับงาน และ Burn Out ได้ในที่สุด
- วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการประเมินและคำนวนว่าแต่ละบทบาทในองค์กรมี Return of Investment ขนาดไหน การตั้ง Milestone ที่ชัดเจน และการให้รางวัลกับเหล่า Top Performance ขององค์กร
Hierarchy Culture: “ทำให้ดีและถูกต้อง”
ลักษณะเด่น: การควบคุม โครงสร้างที่แข็งแรง
- Hierarchy Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นการควบคุมและการทำงานตามโครงสร้างใน Day-to-Day วัฒนธรรมลักษณะนี้จะมีระบบสายการบังคับบัญชาและกฎกติตาที่ชัดเจน ที่ให้คุณค่ากับความมั่นคง ความสม่ำเสมอ และการเป็นแบบหนึ่งเดียวกันที่ตรวจสอบกันได้ เช่นหน่วยงานรัฐ หรือธุรกิจเครือใหญ่อย่าง McDonald’s
- ผู้นำแนว Hierarchy Culture มักมาในรูปแบบของ Monitoring Ruler ผู้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ และให้คุณค่ากับความสามารถที่จะคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าได้
- ข้อดี คือ ทิศทางขององค์กร และกระบวนการทำงานที่ชัดเจนของ Hierarchy Culture สามารถช่วยให้พนักงานคงมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์กับเป้าหมายใหญ่ขององค์กรได้
- ข้อควรระวัง คือ ความแข็งแกร่งของโครงสร้างภายในจะไม่เปิดโอกาสให้ความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียใหม่ๆ ซึ่งทำให้อาจปรับตัวตามตลาดไม่ทัน
- วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการสร้างกระบวนการ ระบบ และนโยบายการทำงานที่ชัดเจนและแข็งแรงขึ้น การ “ปิด Gap” ในสายการบังคับบัญชา และการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวในทุกระดับขององค์กร
==================
องค์กรหนึ่ง อาจไม่ได้มีวัฒนธรรมเพียงประเภทเดียว แต่อาจมีลักษณะของหลายประเภทผสมผสานกัน (เช่น Google ที่เป็นทั้ง Clan และ Adhocracy Culture) อย่างไรก็ตาม ในการปรับและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร หนึ่งในขั้นตอนที่จะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คือการระบุว่าวัฒนธรรมในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเป็นประเภทใด เพื่อที่องค์กรจะได้มีจุดตั้งต้นในการออกแบบแนวทางในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกจุดและชัดเจน.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
>>>>>
.
แหล่งที่มาของข้อมูล:
https://builtin.com/company-culture/types-of-organizational-culture
https://www.runmeetly.com/four-types-organizational-culture
https://blog.vantagecircle.com/types-of-organizational-culture/
.
.