วันที่ Satya Nadella รับตำแหน่ง CEO คนที่ 3 ของ Microsoft ต่อจาก Bill Gates และ Steve Ballmer เขาเลือกที่จะประกาศต่อหน้าพนักงาน Microsoft ทั่วโลกว่า “การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรก่อนจะเป็นสิ่งแรกที่เขาทำก่อนเรื่องอื่น ๆ” กลบภาพจำเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เป็นที่เลื่องลือของ Microsoft คือ ความไม่เป็นมิตร การห้ำหั่น และการเอาชนะ โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริหารระดับสูงเสียสนิท และหลังจากนั้น CEO ก็พานาวา Microsoft ที่กำลังค่อยๆจม มาสู่องค์กรที่มีมูลค่าตลาด 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐได้สำเร็จ .
หัวใจในการ transform องค์กรที่เขาเลือกใช้คือ Growth Mindset ย้อนไปหลายปีก่อน Bill Gates ได้ยกย่องหนังสือ Growth Mindset ที่เขียนโดยศาสตราจารย์ของ Stanford Carol Dweck ว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดที่เขาเคยอ่านและได้ทวีตสนับสนุนการใช้กรอบความคิดแบบนี้ในการใช้ชีวิต และนี่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ Satya หันมาศึกษาเรื่องนี้.
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนว่า Growth Mindset (ความคิดที่ว่าทักษะทุกอย่างได้มาจากการการทำงานหนักและอุปสรรคปัญหาล้วนเป็นโอกาสในการเรียนรู้) จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กรเพราะคนจะไม่กลัวความล้มเหลวและตั้งหน้าตั้งตาทำสิ่งที่ใครๆไม่เคยคิดฝัน ในขณะที่ Fixed Mindset (คนเก่งมาจากพรสวรรค์ อุปสรรคปัญหาคือสัญญานแห่งความล้มเหลว) นำมาซึ่งการทำงานแบบตัวใครตัวมัน ข้ามเส้นจริยธรรมและไม่กล้าเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Microsoft ประสบอยู่ก่อนที่ Nadella จะเข้ามากอบกู้ โดยไม่ใช่เพียงแค่พูดแล้วจบไป แต่เขาได้ใช้ Growth Mindset มาเป็นหลักในการทำงาน การบริหารและฝังมันเข้าไปในกระบวนการทำงานด้วยวิธีการดังนี้
✅ ยกเครื่อง Performance management
ในทุกๆการประชุม ผู้จัดการจะเตือนให้ทุกๆคนใช้ Growth Mindset ในการแก้ปัญหา และเขาได้ถอดระบบ Stack Ranking ที่เป็นการประเมินแบบเน้นการแข่งขันที่ Steve Ballmer ใช้มาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ย้อนแย้งกับการส่งเสริมการร่วมมือกันและสร้างนวัตกรรมในองค์กร แล้วหันมาให้ความสำคัญกับการที่เราจะสร้าง impact ด้วยตัวเองพร้อมๆไปกับการส่งเสริมให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จและการต่อยอดความสำเร็จของกันและกัน ..
✅ เหยียดให้สุดตัวรับความท้าทายใหม่ๆ
Satya ชอบผลักดันทีมผู้บริหารให้รับความท้าทายแบบก้าวกระโดดและต่อสู้กับ Fixed Mindset ของตัวเอง เขาท้าทายผู้บริหารที่มีศักยภาพหลายๆคนด้วยการให้รับงานใหญ่ๆที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ตัวอย่างที่น่าสนใจคือการที่ Peter Lee อดีตนักวิจัยอาวุโสของ Microsoft ด้าน AI ถูกท้าทายโดย Satya ในปี 2017 ให้มารับตำแหน่ง Vice President of Microsoft healthcare ซึ่งในขณะนั้นไม่ใช่ตลาดที่ Microsoft มีตัวตนและเป็นเสมือนถูกปล่อยลงในมหาสมุทรเพื่อไปหาพื้นแผ่นดินของตัวเอง จนในวันนี้เขากลายเป็น someone ในแวดวง healthcare ของสหรัฐทั้งๆที่ไม่เคยจับเรื่องนี้มาก่อน ..
✅ เปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมหามิตร
ในยุคของ Ballmer ทั้งบริษัทจะมอง Windows และ Office เป็นศูนย์กลางของทุกๆสิ่งๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโละทิ้งนวัตกรรมดีๆในองค์กรที่ดูเหมือนจะทำให้ทั้งสองกล่องดวงใจนี้ถูกลดค่าลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการประกาศว่า Linux เป็นมะเร็งร้ายและเป็นก้างขวางคอของ Windows แต่พอมาในยุคของ Nadella เขากลับมีแท็กไลน์ใหม่คือ “Microsoft loves Linux” โดยมองว่าการเป็นมิตรต่อกันจะก่อเกิดผลบวกทางธุรกิจในโลกของ cloud และกลายเป็นว่า Linux ได้รับความนิยมสูงสุดใน Azure Cloud ของ Microsoft นอกจากนี้ Salesforce.com อดีตคู่แค้นก็ได้รับการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน..
✅ ยอมรับใน imperfection
การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรใน Microsoft ยังต้องเดินทางอีกยาวไกลและไม่มีจุดสิ้นสุด Satya เป็นแบบอย่างให้ผู้บริหารทุกคนยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบและมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น เขายอมรับว่ายังมีหลายๆคนยังใช้ Growth Mindset เป็นเครื่องมือตำหนิและแบ่งแยกคนที่มี Fixed Mindset เขาเองก็ยอมรับต่อหน้าสาธารณชนอยู่เสมอๆถึงความผิดพลาดที่ตัวเองเคยทำ เช่น การพูดส่อไปในทางเหยียดเพศและทำให้พนักงานสตรีไม่พอใจ ซึ่งเขาก็ส่งข้อความไปยอมรับความผิดพลาดที่ทำไปและบอกถึงวิธีการที่เขาจะเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดนั้น ซึ่ง Satya ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างในการรับฟังแบบ empathy และได้ริเริ่มแผนในการเพิ่ม diversity ในองค์กรผ่านการจ้างงานและติดตามอย่างใกล้ชิด ..
นี่เป็นเพียงบางตัวอย่างของความพยายามที่จะยกเครื่องวัฒนธรรมองค์กรโดยมี Growth Mindset เป็นเครื่องยนต์หลักของ Satya Nadella ผ่านความเป็นแบบอย่างและ embed เข้าไปในระบบการทำงาน เพื่อเปลี่ยนคนของเขาจากพวก know-it-all ไปสู่ learn-it-all ..
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
>>>
.
.
แหล่งที่มาของบทความ
https://www.businessinsider.com/microsoft-satya-nadella-nonviolent-communication-2018-10
https://www.businessinsider.com/microsoft-hr-chief-kathleen-hogan-company-culture-change-satya-nadella-2019-8
https://www.forbes.com/sites/roncarucci/2019/10/14/microsofts-chief-people-officer-what-ive-learned-about-leading-culture-change/#2469aef6410d
หนังสือ Hit Refresh โดย Satya Nadella