กระแสซีรีส์เกาหลีใน Netflix กำลังมาแรง ด้วยความบังเอิญทีมงาน A cup of culture มีโอกาสได้ดูจากซีรีส์ฮิตติดอันดับ Top 10 Netflix ประเทศไทย ITAEWON CLASS (IC) หรือธุรกิจปิดเกมแค้น ที่เติบโตจากผับเล็กๆ ย่านอิแทวอน จนกลายเป็นธุรกิจอาหารอันดับ 1 ของเกาหลี แม้เรื่องราวเริ่มต้นด้วยปมของความแค้นแต่การดำเนินเรื่องนั้นเต็มไปด้วยวิธีการแก้ปัญหาและบริหารองค์กรที่น่าสนใจ ซึ่งหลายคนก็หยิบยกมารีวิวกันมากมาย แต่ในฐานะคนทำงานด้านวัฒนธรรมองค์กร จึงขอหยิบยกเรื่องราวนี้มาถอดรหัสค่านิยมองค์กร เพราะหากองค์กรนี้เป็นองค์กรที่มีอยู่จริง ก็น่าจะเป็น Best Practice ที่ดีให้กับหลายๆคนที่อยากจะออกแบบวัฒนธรรมองค์กรด้วยตัวเอง..เราจึงอยากถอดรหัสค่านิยม หรือ Core Value ที่นำไปสู่การสร้าง ITAEWON CLASS CULTURE ได้ ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง (มีการกล่าวถึงเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์)
.
.
เพราะคติพจน์ในการดำเนินธุรกิจ ของ IC คือ “ผู้คน และความเชื่อถือ” ดังนั้น Core Value ที่ IC มีอย่างแน่นอนก็คือ การให้ความเคารพในความเป็นบุคคลอย่างเท่าเทียม และ การเป็นที่เชื่อถือได้
.
.
.
? #Equality – เคารพในความเป็นบุคคลอย่างเท่าเทียม
อาจเป็นเพราะตัวพัคแซรอยหรือผู้นำองค์กรเอง เป็นเพียงเด็กที่ไม่จบมัธยมปลาย แถมยังเคยติดคุกด้วยข้อหาพยายามฆ่า และนั่นจึงทำให้มีโอกาสได้พบทีมงานที่ถือว่าเป็นระดับ “เพชร” ของประเทศเลยก็ว่าได้ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเด็กอายุน้อยไร้ประสบการณ์ อดีตนักโทษ ทรานส์เจนเดอร์ คนผิวสี ต่างไม่มีผลต่อคุณค่าและการตัดสินเข้ารับทำงาน แต่จะได้รับโอกาสและการพิสูจน์ตัวเองจากผลงานและการกระทำอย่างเท่าเทียม
.
.
.
? #Trustworthiness – เป็นที่เชื่อถือได้
แม้วันที่องค์กรยังเป็นเพียงร้านเล็กๆ ก็ไม่ยอมให้เหตุการณ์ใดมาทำลายความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ได้แม้แต่ครั้งเดียว อย่างเหตุการณ์ที่ผู้ลงทุนถอนเงินลงทุนออกจนทำให้ผู้สนใจเปิดร้านแฟรนด์ไชด์เดือดร้อนเพราะเกรงว่าจะถูกหลอกให้สูญเงิน แต่ทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและคำสัญญาว่าทุกคนจะต้องเปิดแฟรนไชน์ได้และไม่ผิดหวังที่เลือกแบรนด์นี้ หรือ แม้กระทั่งช่วงขาขึ้นที่สามารถเลือกคู่ค้ารายใหม่ที่ดีกว่าได้ แต่ก็ปฏิเสธโอกาสนั้นเพราะไม่อยากทิ้งคู่ค้าสมัยแรกเริ่มทำแฟรนไชส์ที่กำลังตกที่นั่งลำบาก ด้วยเหตุนี้การเป็นองค์กรที่เชื่อถือได้ทำให้ในระยะยาวทั้งผู้ลงทุน และคู่ค้าต่างไว้วางใจ และไม่แปรเปลี่ยนแม้ในวันที่ IC ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือมีโอกาสที่ดีกว่าเช่นกัน
นอกจากนั้นสิ่งที่ผู้นำองค์กรทำจนมีกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เห็นได้ชัดเจน นั่นก็คือ การมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย และการให้ความสำคัญกับทีมงาน
.
.
.
? #Determination – มุ่งมั่นต่อเป้าหมาย
ด้วย “พัคแซรอย” ผู้นำที่มีความมุ่งมั่นในการแก้แค้น “ประธานชาง” ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นประธานบริษัท “ชางกา” ธุรกิจอาหารอันดับ 1 ของเกาหลี แซรอย กล้าที่จะตั้งเป้าหมายใหญ่ในการเป็นอันดับ 1 เพื่อล้มชางกา แม้ต้นทุนชีวิตจะไม่มีอะไรที่จะเป็นไปได้เลย แต่ก็ยึดมั่น และทำทุกวิถีทางเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้
ความเชื่อนี้ถูกส่งต่อไปยังทีมงานทุกคนด้วยการทำเป็นตัวอย่างในการฝ่าฝันทุกอุปสรรคและปัญหาแม้มีความหวังเพียงน้อยนิด ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ จึงพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้ในที่สุด
.
.
.
? #Teamwork – ทีมงานคือหัวใจ
การที่คนใดในทีมทำผิดพลาดหรือ อยู่ในสถานนะที่ไม่เหมาะสม (เช่นเป็นลูกของศัตรู) ไม่ใช่สิ่งที่จะแยกทีมออกจากกันได้ และด้วยความเชื่อว่าผลงานของทีมเปรียบเสมือนผลงานของทุกคน ครั้งหนึ่งที่พ่อครัวซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของร้านอาหาร มีความบกพร่อง (ซึ่งหากเป็นชางกา บ.อันดับ 1 คงใช้วิธีไล่ออกน่าจะง่ายกว่า) แต่ผู้นำกลับให้เงินสองเท่าเพื่อให้โอกาสและกำลังใจ ในการฝึกฝนให้ดีขึ้น รวมทั้งให้ทีมช่วยกัน Feedback อย่างตรงไปตรงมา จนสุดท้ายจุดอ่อนนั้นได้กลายเป็นจุดแข็งขององค์กรในที่สุด
การส่งเสริมทีมงานให้รับผิดชอบผลงานร่วมกัน และส่งเสริมให้แต่ละคนได้ใช้จุดแข็งและฝึกความชำนาญจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ จึงเป็นหัวใจของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้แก่ทีมงาน และผลักดันให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
.
.
.
A Cup of Culture เชื่อว่าหลายองค์กรคงมี Core Value บางตัวที่คล้ายกับ IC อยู่บ้าง เช่นเดียวกับชางกา ศัตรูอันดับ 1 ที่ความมุ่งมั่นในการรักษาความเป็นที่ 1 มีไม่แพ้กัน จนบางครั้งทำให้พนักงานต้องทำเรื่องที่ข้ามเส้นจริยธรรมเพื่อเอาชนะคู่แข่ง จนนำไปสู่ความล่มสลายขององค์กรในตอนสุดท้าย ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่าง Core Value แต่ละตัวนั้นจึง มีความสำคัญมากในการออกแบบวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างยิ่ง
A Cup of Culture
A Cup of Culture———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
?