Responsibility-Based Leadership: บริหารทีมงานสู่ “วัฒนธรรมแห่งความรับผิดชอบ”

องค์กรในฝันของผู้นำหลายๆ คน คงหนีไม่พ้นภาพของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม หรือแม้แต่มีบุคลิกการทำงานแบบ Agile แต่ภายใต้ลักษณะที่ผู้นำองค์กรพึงปราถนาเหล่านี้ อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ควรมีควบคู่กันไปด้วย คือ “ความรับผิดชอบ” หรือ Responsibility และ Accountability นั่นเอง


องค์กรส่วนใหญ่มักใช้นโยบายหรือระบบการทำงานภายใน เผื่อจูงใจให้พนักงานมีความรับผิดชอบ ซึ่งระบบเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบขึ้นมาจริง แต่เป็นความรับผิดชอบที่มาจาก “ความกลัว” กลัวว่าหากทำอะไรผิดพลาดแล้วจะโดนผลกระทบเชิงลบตามมา ซึ่งขัดแย้งกับงานวิจัยหลายตัวที่พบว่า “การสร้างแรงจูงใจผ่านความกลัวนั้น เป็นแรงจูงใจที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่ยั่งยืน”


สิ่งที่จะผลักดันให้ผู้คนพร้อมรับผิดชอบต่อผลงานอย่างยั่งยืนที่แท้จริง คือ ความต้องการที่จะอยากรับผิดชอบจากใจจริง ซึ่งสามารถสร้างได้ผ่าน “วัฒนธรรมที่มีความรับผิดชอบเป็นฐาน” (Responsibility-Based Culture) นั่นเอง และปัจจัยที่จะสร้างวัฒนธรรมเช่นนี้นั้น ก็คือ การสร้างความไว้วางใจระดับสูงระหว่างผู้นำองค์กรและคนในทีม


สมาคมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่าง Society of Human Resource Management (SHRM) ระบุไว้ว่า องค์กรที่มีความไว้วางใจกันในระดับสูง จะเป็นองค์กรที่แลกเปลี่ยนข้อมูล แชร์ความรู้สึก แสดงความคิดเห็นระหว่างกันอย่างเปิดเผย และให้คุณค่ากับความแตกต่างระหว่างบุคคล จนทำให้สามารถหามติในทุกข้อขัดแย้ง และส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกถึงความเคารพที่มีต่อกันและกัน พร้อมรับผิดชอบต่อเนื้องานด้วยมาตรฐานที่เป็นเลิศ (Excellence) และพร้อมวางใจสนับสนุนและขอความช่วยเหลือจากคนในทีม


ความไว้วางใจ จึงเป็นปัจจัยหลักในการสร้าง Responsibility-Based Culture ซึ่งบทบาทของผู้นำในการสร้างบรรยากาศแห่งความไว้ใจ จะเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันองค์กรไปสู่วัฒนธรรมที่มีความรับผิดชอบเป็นฐาน


ข่าวดีก็คือ ความไว้วางใจ เป็นสิ่งที่อยู่ในสัญชาตญาณของมนุษย์ เพราะสมองของคนเราถูกออกแบบมาให้เป็นสัตว์สังคม ที่พร้อมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใน “กลุ่ม” เดียวกันกับเรา เช่น จากทีมหรือองค์กรเดียวกัน ดังนั้น ผู้นำองค์กรจะสามารถสร้างความไว้ใจได้ ผ่านพฤติกรรมดังต่อไปนี้:

  • พูดและทำในสิ่งที่เชื่อ: โดยธรรมชาติ คนเราไม่สามารถไว้ใจใครที่ “พูดอย่าง ทำอีกอย่าง” ได้ ดังนั้น คำพูด การกระทำ และความเชื่อของผู้นำจึงต้องสอดคล้องกัน และผู้นำควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำตามสิ่งที่คาดหวังจากพนักงาน เช่น ประพฤติตามค่านิยมหรือวัฒนธรรมที่ตั้งไว้ เป็นต้น
  • สื่อสารอย่างเปิดเผย: คนเรามีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือกับคนที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าสิ่งที่สื่อสารจะเป็นข่าวดีหรือร้าย ดังนั้น การเล่าสถานการณ์แบบตรงๆ และการเปิดเผยข้อมูลกับคนในทีม จะช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างกันได้
  • ยอมรับอย่างไม่ตัดสิน: การยอมรับนี้ ไม่ใช่การยอมรับผลงานที่ไม่ถึงเกณฑ์ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการแยกแยะระหว่างสิ่งที่คนๆ หนึ่ง “ทำ” และสิ่งที่คนๆ หนึ่ง “เป็น” ในบางครั้ง ผู้นำอาจมีความเชี่ยวชาญความเข้าใจ หรือประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้ผู้นำนั้นอาจตัดสินคนในทีมจากมาตรฐานตนเองโดยไม่รู้ตัว การยอมรับความแตกต่างในแต่ละคนจึงเป็นสิ่งที่ผู้นำควรหมั่นตรวจสอบให้ดี
  • เป็นที่น่าเชื่อถือ: การรักษาคำพูด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ขาดไปไม่ได้ในการสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน ดังนั้น แม้ในสถานการณ์ขับคัน ผู้นำควรรักษาทุกคำสัญญาที่ และไม่พูดในสิ่งที่จะไม่ไปดำเนินการต่อจริงๆ


นอกจากนี้ ผู้นำองค์คนสามารถสร้าง Responsibility-Based Culture ผ่านการบริหารทีมด้วยวิธีดังต่อไปนี้:


1.ให้คนในทีมเลือกกระบวนการทำงาน (Method of Action)


การให้คนในทีมเลือกเองว่าจะใช้วิธีการใดเพื่อบรรลุเป้าหมาย จะเปิดโอกาสให้เขารับผิดชอบผลลัพธ์ของวิธีการนั้นๆ อย่างเปิดกว้างมากขึ้น ผู้นำควรสื่อสารความคาดหวังและมาตรฐานในการทำงานอย่างชัดเจน แต่เปิดให้คนในทีมตัดสินใจเองว่าจะนำกระบวนการใดมาใช้กับชิ้นงาน หรือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น


2. ให้อิสระในการตัดสินใจ


อิสระในการตัดสินใจจะช่วยให้คนในทีมเปิดรับความรับผิดชอบได้มากขึ้น ดังนั้น หากผู้นำองค์กรได้วางกลไกที่ช่วยให้พนักงานทุกระดับมีโอกาสในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบในเนื้องานที่มอบหมาย (หรือแม้แต่การอาสาทำงานที่นอกเหนือไปจากนั้น) จะพัฒนาขึ้นในทุกระดับเช่นกัน


3. สร้างความภาคภูมิใจต่อองค์กร

หากองค์กรมีวิสัยทัศน์และภารกิจ (Mission) ที่ชัดเจน ผู้นำทีมสามารถนำองค์ประกอบเหล่านี้มากระตุ้นความภาคภูมิใจในองค์กร เพื่อให้คนในทีมมีความรู้สึกพร้อมรับผิดชอบภารกิจนี้ร่วมกัน นอกจากนั้น การตั้งระบบที่เปิดโอกาสให้คนในทีมมีความภูมิใจในงานที่ตนทำเป็นประจำทุกวัน เช่นผ่านการ Feedback เชิงบวกภายในทีม จะช่วยให้ทุกคนต้องการรับผิดชอบในเนื้องานตนเองมากขึ้น


4. ส่งเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของผลงาน


หากเรารู้สึกเป็นเจ้าของผลงาน เราก็จะมีความรับผิดชอบต่อผลงานนั้นมากขึ้นโดยอัตโนมัติ ความรู้สึกนี้ สามารถสร้างได้ผ่านอิสระในการตัดสินใจ เลือกกระบวนการทำงาน และนำเสนอไอเดีย ผู้นำทีมควรปล่อยวางความเป็นเจ้าของของตนเอง เพื่อกระตุ้นให้ความรับผิดชอบอยู่ที่ทีมดำเนินงานอย่างแท้จริง


5. ชื่นชมคนที่เลือกความรับผิดชอบ


ระบบการชื่นชมหรือให้รางวัลหรือผู้ที่รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย หรืออาสารับผิดชอบงานเพิ่ม จะฉาย Spotlight ไปสู่แบบอย่างที่ดี และช่วยให้คนในทีมเข้าใจถึงคุณค่าที่องค์กรให้ต่อความรับผิดชอบได้อย่างชีดเจน นอกจากนั้น ระบบนี้จะช่วยให้คนที่ได้รับคำชื่นชมรู้สึกถึงคุณค่าของตนในทีม และมีความพร้อมที่จะลงมือทำงานด้วยกำลังใจที่มาควบคู่กับความรับผิดชอบมากขึ้น


การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไม่ได้อยู่แค่เพียงที่บทบาทผู้นำก็จริง ถึงกระนั้น บทบาทผู้นำก็ยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมนี้ตามค่านิยม วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้น หากองค์กรของคุณอยากที่จะมี Responsibility-Based Culture ลองให้ผู้นำเริ่มขับเคลื่อน ผ่านพฤติกรรมและแนวทางบริหารแบบ Responsibilty-Based Leadership


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>>


แหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.shrm.org/resourcesandtools/hr-topics/people-managers/pages/creating-employee-accountability.aspx

https://www.inc.com/matthew-jones/congruence-is-what-separates-most-influential-leaders-from-everyone-else-heres-why.html

https://www.inc.com/peter-economy/5-ways-to-create-a-culture-of-responsibility-with-.html

https://hbr.org/2009/06/rethinking-trust

.
.

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search