งานบริหารทรัพยากรบุคคล หรือ HR มีการพัฒนาแบบเห็นได้ชัดเจนต่อเนื่องในรอบ 10 ปี แต่ The Next Normal กำลังจะทำให้การพัฒนาของ HR จำเป็นต้องเป็นไปแบบยกกำลัง (Exponential HR)?
.
.
จากผลสำรวจของ Deloitte’s 10th annual 2020 Global Human Capital Trends report พบว่า
? 65% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกเห็นว่างาน HR มีการพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
? 75% เห็นว่าบทบาทของ HR จะมีความสำคัญมากต่อผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า
แต่มีเพียง 11% เท่านั้นที่มั่นใจว่าพวกเขาพร้อมที่จะรับมือกับแนวโน้มนี้
.
.
นักวิเคราะห์ของ Deloitte เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นมากกว่าแค่การการปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือการคิดค้นใหม่ แต่ต้องปรับเปลี่ยนไปถึงรากฐานของงาน HR เลยทีเดียว
รายงานเรื่อง “The social enterprise at work: Paradox as a path forward” ให้ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ว่า:
• ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ทักษะใหม่ (Reskill) แต่ต้องลงทุนกับความยืดหยุ่นเพื่อปรับเปลี่ยน (Resilience)
• สร้างศักยภาพที่สูงสุดผ่านการผสมผสานระหว่างคนกับเทคโนโลยี
• สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้กับพนักงานผ่านกิจการเพื่อสังคม
• ดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเสมือนเป็นความรับผิดชอบขององค์กร
• ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี
• ปิดช่องว่างระหว่างวัยผ่านการดำเนินงานที่มีคุณค่าหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน
.
.
ซึ่งข้อเสนอแนะเหล่านี้มาจากสมมติฐานพื้นฐานสามประการได้แก่:
1. ผลลัพธ์ของงานที่ชัดเจน: องค์กรรู้ว่าต้องทำอะไรและทำอย่างไร
2. สามารถคาดการณ์งานได้: ประกอบด้วยงานที่กำหนดไว้ตายตัว
3. บุคลากรสามารถทดแทนได้: ใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีช่วยในงานส่วนใหญ่ได้
ข้อเสนอแนะจากสมมติฐานเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีก่อนที่ The Next Normal จะก้าวเข้ามา แต่ในนาทีนี้การก้าวไปข้างหน้าในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ เผชิญกับการหยุดชะงัก ทุก ๆ องค์กรตระหนักดีว่าสิ่งที่แน่นอนที่สุดในเวลานี้ก็คือความไม่แน่นอน
.
.
เราจึงถูกสถานการณ์บังคับให้คิดใหม่ในมุมมองที่กว้างขึ้น และสร้างแนวทางใหม่ ๆ แข่งกับเวลาเพื่อการปรับตัวให้อยู่รอด ความจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้แก่:
? มากกว่าการพัฒนางานที่ทำในวันนี้ องค์กรต้องพิจารณาถึงงานที่จะต้องปรับตัว (Resilience) และทำในสภาพสังคมใหม่ (the next normal)
? การทำงานแบบเชี่ยวชาญแค่หน้าที่หนึ่งในกระบวนการจะน้อยลงหรือท้ายที่สุดจะหมดไป การสร้างผลลัพธ์ในการทำงานจะต้องมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานแบบบริหารแนวราบ เป็นการทำงานเป็นเครือข่ายของทีม จากทักษะที่จำกัดจะเปลี่ยนเป็นความสามารถที่ขยายขีดจำกัดมากขึ้น
?บุคลากรในงานจะไม่เป็นแค่เป็นฟันเฟืองที่ใช้แทนกันได้ในองค์กร แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ความคิด ทัศนคติความต้องการ และมีคุณค่าที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการบุคลากรในงานมีความสำคัญและซับซ้อนมากขึ้น..เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น HR จึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทโดยการขยายหน้าที่รับผิดชอบแบบยกกำลัง (Exponential HR) และเพิ่มอิทธิพลต่อผลลัพธ์ขององค์กรในภาพรวม จากการมุ่งเน้นที่บุคลากรเป็นการมุ่งเน้นองค์กร
.
.
#ผู้อ่านสามารถศึกษาบทบาทของHRแบบBusinessPartnerได้ที่บทความ “เราจึงเรียกเขาว่า HRBP” https://brightsidepeople.com/เราจึงเรียกเขาว่า-hrbp/
.
.
.
ผลลัพธ์ในงาน 7 ด้านของ HR ที่จะเปลี่ยนไป ได้แก่
>
>>
>>>>
.
.
.
แม้ว่าจะเป็นความท้าทายแต่ the Next Normal ก็ทำให้หลาย ๆ องค์กรเริ่มปรับเปลี่ยนบทบาท HR โดยการขยายหน้าที่รับผิดชอบแบบยกกำลัง (Exponential HR) โดยเริ่มจากแนวทางต่อไปนี้
.
1. เพิ่มความสามารถใหม่ โดยการส่งเสริม Mindset ใหม่ ๆ กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยให้องค์กรเติบโตได้ในยุคดิจิตอล
.
2. ออกแบบโครงสร้างองค์กรเพื่อความคล่องตัวและเป็นทีม ใช้โมเดลการดำเนินงานที่ช่วยให้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความต้องการทางธุรกิจ
.
3. เพิ่มประสิทธิภาพในงานด้วยเทคโนโลยี ปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าและสร้างประสบการณ์การทำงานที่ง่ายขึ้น
.
4. เพิ่มขอบข่ายความรับผิดชอบของผู้นำ HR ปรับเปลี่ยนผลลัพธ์ในงานแต่ละด้านเพื่อวันพรุ่งนี้ สร้างคุณค่าขององค์กรที่จับต้องได้และวัดผลได้
.
.
อีก 10 ปีข้างหน้าเราอาจได้เห็นสถิติการพัฒนาของ HR แบบก้าวกระโดดแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นในศตวรรษใด ๆ และความสำเร็จนั้นอยู่ที่ก้าวแรกจาก Exponential HR ในวันนี้นี่เอง
.
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
ที่มาของบทความ
https://www.humanresourcesonline.net/expand-focus-extend-influence-how-hr-will-change-in-the-coming-decade