Culture eats strategy for breakfast
วลีสุดคลาสสิคของท่าน Peter Drucker ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักเขียนและที่ปรึกษาด้านการจัดการคนสำคัญในแวดวงธุรกิจ วลีนี้หากแปลตรงตัวก็คือ “วัฒนธรรม กินกลยุทธ์ เป็นอาหารเช้า” หากเราตีความหมายของวลีนี้ดี ๆ ท่านกำลังสื่อว่า “ไม่ว่ากลยุทธ์จะคิดออกมาดีเพียงใด หากคุณไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีมาสนับสนุน กลยุทธ์นั้นก็จะไม่เกิดผล
.
A Cup of Culture ขอเทียบเคียงวลีนี้เข้ากับสถานการณ์ของบริษัทหนึ่งในยุคปัจจุบัน นั้นคือ บริษัท Uber
ช่วงเดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา บริษัท Uber ได้ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่า ราคาเปิดตัวน่าจะสูงถึง 50 USD แต่ผลปรากฏว่าราคาอยู่ที่ 37 USD และหลังจากนั้นราคาก็ลุ่มๆดอนๆมาตลอด บริษัท Uber ที่ซึ่งเคยถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ อยู่ในระดับแนวหน้าเฉกเช่น Google หรือ Facebook
.
.
เราได้ลองค้นหาข้อมูลเพิ่ม และพบสิ่งที่น่าสนใจคือ มีวิเคราะห์หลายรายออกมาฟันธงว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เป็นผลมาจาก “วัฒนธรรมองค์กร”ต้องยอมรับว่าข่าวสารเกี่ยวกับ Uber ในช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนัก มีข่าวฉาวด้านบุคลากรและภาพลักษณ์ขององค์กรมากมาย
.
ไม่ว่าจะเป็น อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงของ Uber ที่ออกมาเปิดเผยว่า เธอเคยถูกหัวหน้างานล่วงละเมิดทางเพศหรือการที่สื่อใหญ่อย่าง New York Times ออกมาตีแผ่เรื่องพนักงานหลายคนใน Uber ใช้สารเสพติดรวมถึงคลิปวิดีโอที่ CEO บริษัท Uber กำลังโต้เถียงกับผู้ขับ Uber เรื่องรายได้จากบริการที่ลดลงและมีคำพูดที่ดูหมิ่นเหยียดหยามกันอย่างรุนแรง เป็นต้น
.
คลิปวิดีโอ CEO ของบริษัท Uber โต้เถียงกับผู้ขับ Uber
.
นักวิเคราะห์หลายสำนักให้ความเห็นว่า เป็นเพราะ Uber ไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงให้ยึดโยงและผู้บริหารก็ไม่ได้ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีนักให้กับพนักงาน จึงส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพราะพวกเขาไม่แน่ใจว่าบรรยากาศการทำงานแบบนี้ จะทำให้แผนธุรกิจประสบความสำเร็จได้จริงหรือเปล่าและยังส่งผลไปถึงคนเก่ง ๆ ที่ลังเลที่จะเข้ามาร่วมงานเมื่อได้ยินข่าวพวกนี้
.
เหล่านี่กำลังสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า องค์กรที่มีแผนกลยุทธ์ที่ดี มีไอเดียแปลกใหม่ มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่หากขาดเรื่องการบริหารคน ขาดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่จะไปสนับสนุนแผนกลยุทธ์เหล่านั้น กลยุทธ์ที่มีก็ไม่เกิดผล
.
.
……
เปรียบเทียบกับบริษัท Google ที่ในยุคเริ่มต้นอาจไม่ใช่องค์กรที่มีแผนกลยุทธ์ชัดเจนนัก แค่กำหนด strategic foundation พื้นฐานไว้ แต่เขามีรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน เช่น “focus on the user and all else will follow” คือ การสร้างวัฒนธรรม ให้พนักงานทุกคนพุ่งความสนใจ ไปที่ความต้องการของยูสเซอร์โดยปราศจากอคติ และพร้อมจะให้บริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แก่พวกเขา แล้วผลลัพธ์ทางธุรกิจจะตามมาเอง
.
.
หรือจะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรมองค์กรของตนเอง โดยใช้คำว่า “don’t be evil” ถ้าแปลตรง ๆ คือ “อย่าทำตัวเป็นคนไม่ดี” มีความหมายว่า พนักงานของ Google จะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ซึ่งทุกคนจะมีสามัญสำนึกอยู่แล้วโดยไม่ต้องบอกกันว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ถ้าอะไรไม่ถูกต้อง ก็อย่าไปทำมัน ดังนั้น พนักงานของกูเกิ้ลทุกคนจะมีเข็มทิศนำทางของพวกเขา
.
นี่แสดงให้เห็นว่าการมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งจะสามารถนำพาคนในองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ และในทางตรงกันข้ามกัน ไม่ว่าแผนธุรกิจหรือกลยุทธ์จะดีแค่ไหน ถ้าวัฒนธรรมองค์กรไม่สอดคล้อง ก็อาจทำให้ไปได้ไม่ถึงฝันเช่นกัน
.
…..
ในครั้งหน้า A Cup Of Culture จะพาทุกคนไปรู้จักกับบริษัทที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมองค์กรของโลกเลย จะเป็นบริษัทไหน ติดตามกันได้เลย ท้ายสุดนี้… “ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอย่างเห็นกันละ”
.
……
A Cup Of Culture