“คงจะไม่เกิดไอเดียดีๆ ขึ้นแน่นอน หากคนผู้นั้นกำลังวิ่งหนีเสือแบบไม่คิดชีวิต”
นี่คือคำพูดของหนึ่งในกรรมการบริษัท Tesla เช่นเดียวกันหากคนในทีมกำลังอยู่ภาวะตื่นตระหนกว่าจะถูกลงโทษหรือกำลังจะถูกทำเสียหน้า ก็คงไม่มีใครกล้าแสดงความเห็น ทดลองอะไรใหม่ๆ หรือแม้แต่ถามคำถามอะไรทั้งสิ้น
Dr. Amy Edmondson จาก Harvard กล่าวในหนังสือ Fearless Organization ของเธอชัดเจนว่า เพียงแต่เราปรับเปลี่ยนรูปแบบและคุณภาพของการพูดคุยในทีม คุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้ก็จะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง Psychology Safety จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคเรื่องนี้ได้ ( https://brightsidepeople.com/what-is-psychological-safety/) แนวคิดเรื่อง Psychology Safety ตามมุมมองของ Fearless Organization ที่ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยของทีมที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 25 ปีได้แบ่งเป็นสี่มิติได้แก่
ความเต็มใจช่วยเหลือ
หากขาดเรื่องนี้ ความเป็นทีมจะขาดไปทันทีเพราะจะต่างคนต่างทำและไม่ได้ประโยชน์จากการรวมกันเป็นทีม นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าท้อแท้ ซึ่งสิ่งนี้อาจเกิดจากตัวบุคคลเองหรืองานที่หนักเกินไปจนไม่สามารถหยิบยื่นความช่วยเหลือผู้อื่นได้
การยอมรับกันและกัน
ทีมที่ให้ค่าการยอมรับกัน (inclusion) จะสามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย (diversity) ทางความคิดความสามารถได้อย่างเต็มที่ ไม่เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นมลภาวะต่างๆ
ทัศนคติที่มีต่อความเสี่ยงและความล้มเหลว
การมีมุมมองอย่างสร้างสรรค์ต่อความเสี่ยงและความล้มเหลวเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทีมที่มีผลงานที่โดดเด่น ทีมเหล่านี้จะสร้างสมดุลย์ได้ดีในการใช้ประโยชน์จากความเสี่ยง ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้และไม่มีการปิดบัง ไม่นำไปสู่การลงโทษและให้ร้ายกัน
การพูดคุยแบบเปิดอก
การสื่อสารคือลมหายใจของทีม การหายใจแบบติดๆขัดๆจะนำคุณภาพชีวิตที่ดีมาให้ได้อย่างไร การที่คนในทีมกล้าพอที่จะนำเรื่องยากๆหรือปัญหาออกมาพูดได้อย่างอิสระด้วยวิธีการที่ดีเป็นหัวใจของ Psychological Safety ไม่เลือกที่จะเงียบในเวลาที่ควรจะพูดเพราะเกิดความกลัวอะไรบางอย่าง
และจากสี่มิตินี้ Dr.Amy Edmondson ได้ออกแบบข้อคำถาม 7 ข้อเป็นแบบสอบถามให้องค์กรนำไปใช้ในการประเมินสุขภาพ Psychological Safety ในทีมหรือองค์กรของท่าน ดังนี้
- หากคุณทำอะไรผิดพลาด จะไม่มีใครในทีมนี้จับผิดคุณ
- คุณสามารถยกปัญหาทุกปัญหาในงานมาพูดคุยได้โดยไม่ต้องลังเล
- ความเห็นที่แตกต่างของคุณถูกรับฟังแม้จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม
- คุณรู้สึกปลอดภัยที่จะทำอะไรเสี่ยงๆในทีมนี้
- เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยที่คุณจะขอความช่วยเหลือจากคนในทีมนี้
- ไม่มีใครเลยในทีมจงใจบั่นทอนความพยายามของคุณ
- ทักษะและจุดแข็งของคุณถูกนำมาใช้ในทีมได้อย่างเต็มที่
หากคะแนนอยู่ในระดับ 4-5 เป็นส่วนใหญ่ก็แสดงว่าทีมคุณพร้อมแล้วที่จะลุยไปข้างหน้าที่จะทำอะไรใหม่และได้ปลดปล่อยศักยภาพของกันและกันอย่างเต็มที่
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
>>>>
แหล่งที่มาของข้อมูล https://fearlessorganization.com/
.
.