โลกได้เข้าสู่ยุคของการทำงานแบบ Hybrid Workplace ปีนี้เป็นปีที่สองแล้ว และการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับเหล่าองค์กรที่ต้องปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในด้านของวิถีการทำงานแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยตัวแปรที่หลากหลาย และซับซ้อนที่อาจทำให้ทั้งเหล่า HR และผู้บริหารต้องปวดหัวกันอย่างต่อเนื่อง และแม้ตัวแปรเหล่านี้จะเยอะมาก ๆ แต่โชคดีที่จากการเดินทางกว่าสองปีของเหล่าองค์กรทั้งหลายก็ไม่ได้สูญเปล่า เพราะวันนี้ในที่สุดเราสามารถสรุปได้ชัด ๆ สักทีว่า Hybrid Workplace นั้นในการทำงานแล้วมันมี Mindset อะไรที่ต้องเปลี่ยนบ้าง
===============
🔰 1. วัฒนธรรมองค์กรเกิดได้แม้จะ Hybrid
ตามปกติแล้วตั้งแต่วินาทีที่เราก้าวเข้าออฟฟิศเราก็เข้าสู่สังคมการทำงานเรียบร้อยแล้ว นั่นหมายถึงการทำงานร่วมกันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมีบรรยากาศของการทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐาน แต่สำหรับ Hybrid Workplace ตัวแปรนี้หายไปโดยสิ้นเชิง
และเมื่อเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรนั้นแน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องของคนคนเดียว แต่มันต้องเกิดขึ้นผ่านปฏิสัมพันธ์ของผู้คน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า Hybrid Workplace จะทำให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะองค์กรหลายแห่งเช่น Zoom ก็มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งได้แม้พวกเขาจะ Remote 100% ก็ตาม
ดังนั้นใน Hybrid Workplace เราต้องปรับ mindset ของเราไม่ให้อยู่ในกรอบเดิม ๆ ที่ว่าต้องที่ออฟฟิศเท่านั้นวัฒนธรรมองค์กรถึงจะแข็งแรงได้ และเป็นหน้าที่สำคัญของผู้นำทีมในการหาทางสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมงานไม่ว่าจะหน้างาน หรือออนไลน์ และวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีมาก ๆ สำหรับการทำวัฒนธรรมองค์กรแบบ Hybrid คือการทำ Ritual ของทีมขึ้นมา โดยท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีม Ritual ได้ที่ https://brightsidepeople.com/rituals/
🔰 2. หมดเวลาของ One-Size-Fits-All
องค์กรมักจะคุ้นเคยกับการใช้มาตรการแบบ one-size-fit-all ด้วยความที่การยืดหยุ่นตามพนักงานแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องยาก และอาจจะดูไม่คุ้มค่า แต่ไม่ใช่สำหรับยุคนี้ เพราะที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวองค์กรอย่าง Apple ที่มีนโยบายให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศทุกคนกลายเป็นปัญหาใหญ่โตเมื่อพนักงานกว่าครึ่งได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อนโยบายนี้ของ Apple
นั่นเป็นเพราะการทำงานที่บ้านได้เปลี่ยนความคิดที่ผู้คนมีต่อการทำงานไปตลอดกาล และมาตรการของ Apple จึงได้ทำให้พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกไม่ได้รับการรับฟัง และถูกเพิกเฉยต่อความต้องการ และทำให้พนักงานของ Apple รวมตัวกันเพื่อวาง Roadmap เกี่ยวกับนโยบาย Hybrid Workplace ส่งกลับไปยังด้านบนเพื่อนำเสนอทิศทางใหม่ที่ลงตัวกับทุกฝ่าย และนี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการที่วิธีการ one-size-fit-all แบบบนลงล่างไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
🔰 3. ถึงเน้นผลงานมากกว่าเวลาทำงาน
การทำงานที่บ้านทำเราไม่สามารถมองเห็นได้ว่าใครยุ่งอะไรแค่ไหน และสำหรับผู้นำบางคนอาจจะเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดไม่น้อยเมื่อเราไม่สามารถมี visibility ของลูกน้องเราได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่เชื่อว่าการใช้เวลาทำงานเยอะ ๆ นั้นหมายถึงความ productive และคนแบบนี้สมควรได้รับคำชื่นชม และการเลื่อนขั้น แต่ในความเป็นจริงการใช้เวลาทำงานเยอะ ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ productive เพราะพนักงานหลายคนอาศัยความเชื่อแบบนี้ในการพยายามทำตัวยุ่ง ๆ หรือที่เราเรียกกันว่า Busy Culture โดยที่ไม่ได้มีผลลัพ์จริง ๆ ที่จับต้องได้เกิดขึ้นมา
ดังนั้น ถ้าผู้นำสามารถเปลี่ยน Mindset ของการอยากเห็นพนักงานทำตัวยุ่ง ๆ ได้และหันมามองที่ผลลัพท์ จะพบว่า Hybrid Workplace เป็นตัวช่วยที่ดีต่อการจัดการกับ Busy Culture นี้ เพราะเมื่อตัดปัจจัยด้านการมองเห็นออกไปเราจะสามารถมองเห็นผลลัพธ์จริง ๆ ที่พนักงานแต่ละคนสร้างให้ออกมาได้ โดยที่ไม่มี bias ว่าแต่คนละดูยุ่งแค่ไหนในเวลาทำงาน
🔰 4. เราไม่ต้องทำงานพร้อมกันตลอดเวลา
หนึ่งในความผิดพลาดที่พบบ่อยในการเข้าสู่ Hybrid Workplace คือการที่เรามักจะเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ที่ว่าทุกอย่างต้องทำไปพร้อม ๆ กัน (Synchronous work) เช่น การประชุมเพื่อรีวิวงาน ประชุมเพื่อหาไอเดียออกความเห็นร่วมกัน ประชุมเพื่อตัดสินใจร่วมกัน และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยอาการเมา Zoom ของพนักงาน รวมถึงการไม่มีเวลาทำงานที่เป็นตัวชิ้นงานจริง ๆ
และหนึ่งในคีย์สำคัญในการทำงานแบบ Hybrid คือการยอมรับว่าการทำงานของเราส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน (Asyn-chronous work) และให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่นการที่ให้พนักงานสามารถแชร์ไอเดียได้บน Jamboard หรือ Mural ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องใช้การประชุม และประชุมกันเฉพาะเมื่อมีเรื่องที่ต้องอาศัยบทสนทนาที่เข้มข้น และซับซ้อนเท่านั้น นอกจากนั้นให้อิสระกับพนักงานในการทำงานในจังหวะของตัวเองได้ และตัวช่วยสำคัญของการทำงานแบบ Asynchronous คือการที่เราควรเตรียมไฟล์ต่าง ๆ ให้พร้อมและทุกคนเข้าถึงได้ในเวลาที่ตัวเองพร้อมจะทำ เพื่อให้ไม่มีใครต้องมารบกวนใครเวลาที่ไม่ได้จำเป็นจริง ๆ
🔰 5. อย่าปล่อยให้ตารางประชุมกลายเป็นตารางงาน
การทำงานที่บ้านที่ให้การประชุมกลายเป็นส่วนสำคัญของเวลางานไปมากกว่าเดิม Zoom กลายเป็นตัวหลักในการเซ็ตตารางทำงานของเรา หลายคนใช้ตารางนัดหมายเป็นหลัก และค่อยใช้เวลาว่างในการทำงานหลักของตัวเองจริง ๆ แต่นี่ไม่ใช่วิธีที่ดีเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อมันทำให้เราต้องสลับหลาย ๆ โหมดไปมา เช่น ประชุมงานหนึ่งเสร็จแล้วก็ต้องมาใช้เวลาที่เหลือทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องเลย นั่นทำให้การทำงานเราไม่สามารถที่จะโฟกัสกับตัวชิ้นงานใด ๆ หรือลงลึกกับงานได้จริง ๆ ส่งผลต่อทั้งการเรียนรู้ และคุณภาพของตัวชิ้นงาน
วิธีที่เราสามารถปรับใช้ได้เลยคือในทุก ๆ สัปดาห์ให้ลงเวลาที่เราจะต้องใช้ในการทำงานลงไปด้วย ไม่ใช่แค่เวลาสำหรับ Meeting เช่นถ้าเราลงว่าวันจันทร์บ่ายเป็นเวลาสำหรับงานค้นหาข้อมูลตารางการประชุมก็ต้องเคารพช่วงเวลานั้นของเรา และวางแผนตารางนัดหมายใหม่เป็นช่วงอื่น เพราะอย่างที่เราน่าจะรู้กันดีว่า calendar หน้าที่ว่าง ๆ สุดท้ายแล้วเดี๋ยวมันก็เต็มถ้า และถ้าเราไม่วางแผนเวลาของตัวเองตามในแบบที่มันเหมาะกับเรา สุดท้ายแล้วก็จะมีคนกำหนดให้อยู่ดีในแบบที่ไม่ลงตัวกับเรา
====================
ทั้งหมดนี้คือ 5 ข้อค้นพบในด้านของ Mindset ที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้การทำงานแบบ Hybrid นั้นเป็นประโยชน์ได้มากขึ้นกับทั้งพนักงาน และตัวองค์กรเอง และหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านในช่วงเวลาเช่นนี้
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.
>>>
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://qz.com/work/2018276/what-the-apple-employees-complaint-letter-got-right-about-hybrid/
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/the-problem-with-the-hybrid-workplace-and-how-to-fix-it
https://hbr.org/2020/09/how-to-defeat-busy-culture
.
.
>>>