เมื่อการมีนวัตกรรมและความรวดเร็วกลายเป็นคำตอบเดียวของการทำธุรกิจในโลกใบนี้ไปแล้ว การรอคอยคำสั่งและการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คนด้วยโครงสร้างแบบ Hierarchical อาจไม่ตอบโจทย์การทำงานของหลายๆองค์กรอีกต่อไป ระบบการทำงานยุคใหม่จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณานำมาปรับใช้กับธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับคนทำงานและสร้างประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุดอประกอบส่วนผสมของ workforce ที่เปลี่ยนไปตามสัดส่วนของคน generation ใหม่ๆที่มีมากขึ้น การทดแทนแรงงานด้วย AI ที่แทบจะเป็นเรื่องปกติไปแล้วในทุกๆส่วนงาน โครงสร้างองค์กรแบบ one size fits all จึงไม่น่าเป็นคำตอบอีกต่อไปแล้ว
3 แนวทางการจัดการองค์กรต่อไปนี้คือบางตัวอย่างที่หลายองค์กรทั่วโลกได้ปรับตัวและทดลองนำไปใช้แล้วและต่างพบว่าได้ผลและตอบโจทย์สภาวะในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่งที่องค์กรยังมีขนาดไม่ใหญ่นัก
Flat Organization
เป็นรูปแบบองค์สุดโต่งที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกันเกือบ 100% ไม่ตำแหน่งใด, ไม่มีระดับชั้น, ไม่มีผู้บริหาร ไม่ต้องมีใครมาบอกว่าต้องทำอะไร ทุกคนมีสิทธิ์เลือกงานหรือโครงการที่ตัวเองสนใจและอยากทำได้ด้วยตัวเองรวมไปถึงการหาเงินทุนต่างๆ ไม่โครงสร้างจากส่วนกลางมาควบคุม เป็นเสมือน startup เล็กๆที่อยู่ในองค์กรใหญ่ เป็นการทำงานที่แบ่งเป็นทีมย่อยๆที่บริหารจัดการตนเองโดยสมบูรณ์ รูปแบบนี้เป็นการมุ่งเน้นที่การให้อิสระโดยไม่ต้องขึ้นกับส่วนกลางโดยมุ่งเน้นที่เป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าที่แต่ทีมมีอยู่และมีความเชี่ยวชาญที่ทุกการตัดสินใจจบทุกอย่างในทีมของตนได้ (self- managing team) ในทีมไม่มีใครเป็นผู้นำโดยตำแหน่งมีแต่เพียงบทบาทของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป
Flatarchie
องค์กรทั่วไปจะสะท้อนภาพลำดับขั้นตั้งแต่ CEO ที่อยู่บนยอดปิรามิด รองลงมาเป็นผู้บริหารระดับสูงและผ้จัดการ พนักงานคือฐานด้านล่าง แต่ในรูปแบบของ Flatarchie คือการผสมผสานระหว่างระบบ flat work (การจัดองค์กรแบบระดับเดียวแบบไม่มีใครนำใคร) และ Hierarchy กล่าวคือ เป็นการผสมผสานการทำงานแบบไม่มีลำดับขั้นที่เน้นอิสระทางความคิดซึ่งจะนำไปสู่นวัตกรรมโดยฝังตัวอยู่ในองค์กรแบบโครงสร้างปกติที่เป็นกระดูกสันหลังหลักไว้คอยกำกับดูแลการสร้างผลงานตามตัวชี้วัดขององค์กร เหมาะสำหรับองคืกรที่มีรูปแบบHierarchy อยู่แล้วแต่อยากบ่มเพาะนวัตกรรมหรือทำโครงการพิเศษที่เน้นความแปลกใหม่และความรวดร็วที่เป็นอิสระจากการบริหารงานโดยปกติ ทีมที่ทำงานแบบ flat นี้อาจเป็นการรวมตัวเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
Holacracy
หัวใจสำคัญของการจัดการองค์กรรูปแบบนี้คือความเชื่อทุกคนจะมีแรงจูงใจสูงสุดเมื่อได้นำตนเองและใช้ศักยภาพของแต่ละคนอย่างเต็มที่ตามชำนาญของตน และพยามตัดปัญหาการเมืองในองค์กร โดยในแต่ละทีมไม่มีใครเป็นผู้นำโดยตำแหน่งมีแต่เพียงบทบาทของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปอย่างไรก็ดีมีการวางโครงสร้างแบบลำดับชั้นไว้อยู่ โดยแต่ละระดับชั้นก็มีการบริหารแบบ Holacracy ของตัวเองเพื่อการบริหารผลงานขององค์กร แต่เป็นการแบ่งระดับโดยบทบาทไม่ใช่เพื่อสายการบังคับบัญชา ผ่านการสื่อสารในทีมที่มีประสิทธิภาพที่ออกแบบโดยองค์กร การจัดการองค์กรแบบนี้เหมาะกับองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กมากกว่าองค์กรใหญ่เพราะปริมาณทีมจะไม่มากเกินไปที่จะบริหารจัดการภาพรวมไหว อย่างไรก็ดี องค์กรใหญ่อย่าง Zappos ได้ใช้รูปแบบ Holacracy มาตั้งแต่ปี 2016 และเป็นเหตุให้มีหลายองค์กรพยามยามทำตาม (ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปจาก version แรกพอสมควรแล้ว)
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporateculture
culture
.
.

.
.
แหล่งที่มา
https://www.businessinsider.com/tony-hsieh-explains-how-zappos-rebounded-from-employee-exodus-2016-1
Flatarchie, Holacracy and Virtual: 3 Emerging Business Structures That Might Work For You