ในสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด หลายองค์กรมีการเร่งปรับปรุงกระบวนการทำงาน ภาคส่วนต่าง ๆ มีการพัฒนาระดับ Agility ภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิด Agile Organization ขึ้นจริง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนไปและเกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน
แล้วใครจะเป็นคนสร้างและนำให้เกิดองค์กร Agile ได้อย่างที่เราต้องการหละ? คำตอบก็คงไม่พ้น Agile Leaders ซึ่งผู้นำกลุ่มนี้จะต้องมีความสามารถในการนำอย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งใช้มุมมองที่หลากหลายและการลำดับความสำคัญจนทำให้ประสบความสำเร็จได้
Levels of Leadership Agility:
จากการศึกษาวิจัยกับกลุ่มผู้จัดการ 604 ท่าน ถึงบริบทของผู้นำในปัจจุบัน ระดับของ Agility Levels แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับคือ Expert, Achiever, Catalyst, Co-Creator และ Synergist
ซึ่ง 45% เป็นผู้นำแบบ Experts 35% เป็นแบบ Achiever 5% เป็นแบบ Catalyst 4% เป็นแบบ Co-Creators และมีเพียง 1 % เป็น Synergist (Co-Creators และ Synergists ถูกจัดเป็นผู้นำแบบ servant leaders ซึ่งจะพยายามสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันกับผู้นำท่านอื่นๆ ส่งอิทธิพลต่อกันในทิศทางเดียวกัน อุทิศตนเพื่อส่วนรวมร่วมกัน)
.
อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์และผลวิจัยระบุผลออกมาว่าส่วนมากในองค์กร Agile จะพบผู้นำแบบ Expert, Acheiver และ Catalyst มากที่สุด
.
Expert | Achiever | Catalyst | |
Leadership style | มีความเชี่ยวชาญ และมุ่งเน้นการแก้ปัญหา ได้รับความเคารพจากทีมเนื่องด้วยความเชี่ยวชาญและความรอบรู้เฉพาะตัว | วางกลยทุธ์ และมุ่งเน้นผลลัพธ์ สื่อสารกลยุทธ์ ระบุวัตถุประสงค์ จัดกระบวนการทำงานที่เหมาะสมเพื่อให้ทีมงานบรรลุเป้าหมาย | มีวิสัยทัศน์, มุ่งเน้นกระบวนการในการทำงาน สร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมต่อนวัตกรรม กำหนดวิสัยทัศน์ที่สร้างแรงบันดาลใจ และให้อำนาจกับทีมเพื่อดึงศักยภาพให้เขาพัฒนาอย่างกระตือรือร้น |
รูปแบบการสนทนา | เป็นทั้งแบบเชื่อมั่นในความคิดหรือผ่อนปรน อาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ทั้ง 2 สไตล์ และมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการให้และรับ feedback | เชื่อมั่นในความคิดเป็นหลัก หรือบางครั้งอาจผ่อนปรนบ้าง ยอมรับ feedback ที่สร้างสรรค์ ที่มองแล้วว่าจะช่วยให้ถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ | มีทักษะในการบาลานซ์สไตล์ระหว่างความเชื่อมั่นในความคิดและการผ่อนปรนตามแต่ละสถานการณ์ เน้นการประสานงาน มีความเด็ดขาด มีการสนทนาแบบตรงไปตรงมา มีการพิสูจน์และตั้งสมมติฐาน สนใจในการเรียนรู้จากหลากหลายมุมมอง ค้นหาและปรับใช้ feedback เชิงรุก |
การนำทีม | หัวหน้างานมักเข้าไปมีส่วนร่วมในงานของลูกน้อง หรือให้คำปรึกษาเป็นรายคน เน้นรายละเอียดในงานเพื่อนำไปสู่การวางกลยุทธ์ ทำงานในส่วนงานของตัวเอง ไม่ค่อยเน้นการทำงานข้ามแผนก | หัวหน้างานเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาทีมให้มีประสิทธิภาพ กระตุ้นทีมด้วยการให้ทำในสิ่งที่ท้าทายและกำหนดวัตถุประสงค์ที่ใหญ่ขึ้น เป็นผู้สนับสนุนเบื้องหลังให้ทีมได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการ ประชุมทีมเพื่อหารือกลยุทธ์ที่สำคัญ สร้างการมีส่วนร่วม เป็นวัฒนธรรมแบบ Customer Centric และสามารถทำงานข้ามสายงานได้ | ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำ (Leader) และผู้นำกระบวนการ (Facilitator) ไม่ใช่แค่เป็นโค้ช แต่ยังเปิดรับ feedback ด้วย เป็นแบบอย่างของผู้นำแบบมุ่งค้นหาข้อมูล เปิดรับการแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นที่ท้าทาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อเป็นประโยชน์แก่องค์กร นำแนวคิดในการพัฒนาทีมมาใช้ในการพัฒนาทักษะผู้นำส่วนบุคคล |
การนำการเปลี่ยนแปลงองค์กร | เน้นการพัฒนาในองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญและทำกำไรเพิ่ม มุ่งเน้นการปรับปรุงภายในขอบเขตของหน่วยงาน สนใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่อนข้างน้อย | วิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก วางกลยุทธ์เพื่อหาการสนับสนุนและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | สร้างวัฒนธรรมการทำงานในทีม ทำงานร่วมกัน มอบอำนาจ สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมเหล่านี้ในองค์กร สร้างการมีส่วนร่วม รับฟัง feedback จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่เพื่อเพียงได้รับการยอมรับ แต่ยังเพื่อพัฒนาการตัดสินใจให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น |
และในการพัฒนาทักษะ Agility ให้กับผู้นำแต่ละท่านสามารถทำได้โดย:
- Assess the leadership culture (ประเมินระดับวัฒนธรรมของผู้นำ)
- Clarify the desired leadership culture (ระบุวัฒนธรรมของผู้นำที่ต้องการ)
- Engage the executive team (ให้ผู้บริหารมีส่วนร่วม)
- Facilitating Change (การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง):
- Coaching ส่วนบุคคล และทีม
- การให้อำนาจในการบริหาร
- ปรับปรุง Competency Model
- จัดทำโครงการ Action Learning
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
https://agileleadershipjourney.com/#awareness