เมื่อสิ่งเดียวที่แน่นอนในชีวิต คือ “ความไม่แน่นอน” องค์กรจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเข้ามาตลอดเวลาได้อย่างไร ? เราจะรอตอบสนองกับทุกการแปรผันหรือเปล่า ? ในเมื่อตลอดสองปีที่ผ่านมา โลกได้ให้บทเรียนกับเราแล้วว่าวิธีนี้อาจจะช้าเกินไป ? หรือเราจะเตรียมตัวเองและองค์กรให้พร้อมรับอนาคตที่คลุมเครือ ไม่ว่าอนาคตนี้ลงเอยอย่างไรก็ตาม ?
April Rinne นักคาดการณ์อนาคต หรือ Futurist ชั้นนำของโลกได้อธิบายว่า การรับมือกับความไม่แน่นอนที่แน่นอน ควรจะเป็นการเตรียมให้คนในองค์กร “พร้อมไว้ก่อน” โดยเป้าหมายของความพร้อมนี้ ไม่ใช่การคาดเดาอนาคตอย่างแม่นยำ แต่คือการที่ทุกคนในองค์กรจะพร้อมรับมือกับความเป็นไปได้ต่างๆ ในอนาคต ที่อาจจะเกิดขึ้น โดย Rinne ได้แนะแนวทางในการเตรียมตัวเราและองค์กร ดังต่อไปนี้:
==================
✅ 1. สร้าง Trust ภายในองค์กร
ความไว้ใจคือรากฐานของความเชื่อมั่น และความเชื่อมั่นเป็นทรัพยากรสำคัญในการชักชวนให้คนพร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน และพร้อมร่วมมือร่วมใจไปสู่ความไม่แน่นอนที่เขาไม่เคยชิน โดยเราสามารถสร้าง Trust สร้างได้ผ่านวัฒนธรรมที่โปร่งใส เคารพซึ่งกันและกัน และเป็นหนึ่งเดียวกัน
✅ 2. ตรวจสอบความพร้อมผ่าน Change Audit
ด้วยคำถามต่อไปนี้ เช่น:
• ในตอนนี้ความเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดให้กับองค์กร อุตสาหกรรม ทีมงาน และลูกค้าของเราอย่างไร ? — การตั้งคำถามนี้ต่อ Stakeholders ที่หลากหลายของเรา จะช่วยให้เราเห็นความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
• แผนกหรือหน่วยงานไหน มีผลงานที่น่าประทับใจตลอดช่วงการแพร่ระบาดของโควิด ? — เพื่อระบุกลุ่มคนที่พิสูจน์ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง คำตอบของข้อนี้จะช่วยให้เราชี้จุดที่แข็งแรงที่ในองค์กร หรือระบุกลุ่มคนที่สามารถแชร์ Learning เกี่ยวกับการปรับตัวภายในองค์กรได้
• การเปลี่ยนแปลงแบบไหนที่ท้าทายที่สุด ? —- ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ เราจะชอบการเปลี่ยนแปลงที่เราเลือกเอง (เช่น การเลือกงานใหม่) มากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เราควบคุมไม่ได้ (เช่น การโดน Layoff) ซึ่งประเภทของความเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อองค์กรที่ทวีคูณขึ้นได้
• อุปสรรคในการปรับตัวขององค์กรคืออะไร ? — ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การ Burnout การไม่ไว้ใจกันภายในองค์กร Psychological Safety ในการลองผิดถูก หรือตัวชี้วัดความสำเร็จที่มองเพียงผลลัพธ์ทางการเงิน การวินิจฉัยอุปสรรคอย่างชัดเจนจะช่วยให้เราวางแผนการพัฒนาแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Rinne ยังชี้แจงอีกว่ากระบวนการ Change Audit ควรมาจากส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร เพื่อส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกัน (และเพิ่ม Trust ไปในตัว) และเพื่อใช้ประโยชน์จากมุมมองที่หลากหลาย ในการคาดเดาอนาคตหลายๆ รูปแบบ
✅ 3. สร้างบทบาท “นักรับมือการเปลี่ยนแปลง” ให้ชัดเจน
บ่อยครั้งบทบาท Chief Change/Transformation Officer จะดูแล Transformation เฉพาะเจาะจงในองค์กร (อย่างเช่น Digital Transformation) แต่ที่จริงแล้ว นักรับมือการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่ดี ควรเป็นบทบาทที่ทำงานอย่าง Cross-Function ที่เห็นและความเชื่อมโยงระหว่างแผนก และร่วมมือกับ Culture Team เพื่อผลักดันความพร้อมอย่างทั่วถึง คนที่จะดำเนินบทบาทนี้ ต้องสามารถมองเห็นปัจจัยต่างๆ ที่อาจกระทบองค์กรในทุกมิติ นำกระบวนการวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์ในหลายๆ แบบ และสร้างทักษะในทุกคนในองค์กรพร้อมที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนด้วย Mindset เชิงบวก
✅ 4. สร้างวัฒนธรรมที่มองการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส
“Mindset เชิงบวก” ที่เราพูดถึงเมื่อกี้ ไม่ได้หมายถึงการมองโลกในแง่ดี แต่คือการเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อการแปรผันต่างหาก ในโลกปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถ “บริหาร” ได้อีกต่อไป เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงมีปัจจัยภายในและภายนอกที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของเราเต็มไปหมด
ดังนั้น การรับมือความไม่แน่นอนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนกว่ากลยุทธ์ไหนๆ คือการเปลี่ยน Mindset ให้มองการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสที่จะเติบโตพัฒนา ซึ่งวิธีที่จะสร้าง Mindset นี้ที่ดีที่สุด คือการฝังค่านิยมและพฤติกรรมที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงไปในวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้ Mindset นี้กระเพื่อมออกไปยังกลยุทธ์ นโยบาย และกระบวนการทำงานอื่นๆ โดยผู้นำองค์กรเองก็ต้องให้ความสำคัญกับ Mindset นี้เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นในองค์กร
==================
องค์กรที่พร้อมเผชิญกับ “ความไม่แน่นอนที่แน่นอน” คือองค์กรที่มองความไม่แน่นอนเป็นธรรมชาติของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่จะสร้างมุมมองนี้ให้กับทุกคนได้ ก็หนีไม่พ้นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ที่สื่อสารให้ทุกคนในองค์กรรับรู้อย่างชัดเจนว่า ความไม่แน่นอนไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นความท้าทายที่จะเข้ามาตลอดเวลา และสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้ หากทุกมี Mindset ที่พร้อมเผชิญทุกความเป็นไปได้นี้ไปด้วยกัน
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>>
.
.
>>>
แหล่งที่มาของข้อมูล:
https://hbr.org/2021/09/a-futurists-guide-to-preparing-your-company-for-constant-change
https://www.td.org/insights/5-steps-for-building-trust-in-the-workplace
.
.
>>>