จำเป็นมั้ย? ที่องค์กรต้องอบอุ่นเหมือนครอบครัว

ภาพของความเป็น “ครอบครัว” ที่มีความอบอุ่น ห่วงใยกัน และให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน เป็นภาพในอุดมคติของการทำงานของหลาย ๆ คน และอาจถูกเรียกว่านี่คือวัฒนธรรมที่น่าอิจฉา กลิ่นอาย home sweet home แบบนี้ยังคงหลงเหลืออยู่ในหลาย ๆ องค์กร ที่ผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารเป็นผู้สร้างบรรยากาศแบบนี้ขึ้นมาจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจแต่แรกก็ตาม ในงานที่ปรึกษาของเราหลาย ๆ ครั้ง พบว่าองค์กรในประเทศไทยให้คุณค่ากับความผูกพัน มีการดูแลคนที่อยู่กับองค์กรมานาน มีการใช้คำพูดนับถือกันเป็นญาติ มีรูปแบบพี่น้องลุงป้าแบบสนิทใจ และมีการทำงานแบบถ่อยทีถ่อยอาศัยเกรงอกเกรงใจ บางองค์กรดูแลกันไปถึงรุ่นลูกหลานในการให้โอกาสเข้ามาทำงาน วิธีนี้ใช้ได้ดีเสมอมาในการสร้าง engagement กับพนักงานและรักษาคนให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ
.

แต่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่ถาโถม “การให้คุณค่าด้านผลงาน” เริ่มจะมีบทบาทสูงขึ้นเกินกว่ามิติด้านความสัมพันธ์มากขึ้นเรื่อยๆ  คนรุ่นใหม่เริ่มตั้งคำถามกับคำว่า “ความภักดีหรือภาพของความเป็นครอบครัวในองค์กร” จากงานวิจัยของ Deloitte ในปี 2016 พบว่าคนรุ่นใหม่คาดหวังการทำงานหลายๆที่มากกว่าจะอยู่ที่เดียวไปนานๆ อยากที่จะเติบโตในสายอาชีพแบบก้าวกระโดด ชอบงานที่มีคุณค่าและให้อิสระในเรื่องสถานที่ทำงาน ซึ่งแตกต่างจากคำว่าครอบครัวที่อบอุ่นอย่างสิ้นเชิง ภาพความสัมพันธ์ที่ยึดโยงกันเหนียวแน่นของเพื่อนร่วมงาน เริ่มเป็นไปแบบหลวม ๆ เสมือนเพื่อนที่สามารถ unfriend กันได้ง่ายๆใน social media
.

ในมุมของนายจ้าง Netflix เป็นองค์กรแรก ๆ ที่ออกมาพูดชัด ๆ ว่าไม่อินกับคำว่าครอบครัว ด้วยความเป็น Talent Density Culture ผู้ก่อตั้งเชื่อว่ารูปแบบที่เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความล้ำหน้าเสมอคือ วัฒนธรรมแบบทีมกีฬา เพราะองค์กรแบบครอบครัวจะไม่ไล่ลูก ๆ ออกจากบ้านแม้จะทำผิดรุนแรง (แม้บางครั้งอยากจะทำก็ตาม) แต่ระบบทีมกีฬาจะมุ่งมั่นหาคนเก่ง ๆ เข้ามาและเอาคนไม่ใช่ออกไป เพราะนี่เป็นทางเดียวที่จะรักษาสัดส่วนของคนเก่งในองค์กรให้มีอย่างเพียงพออยู่เสมอ // สอดคล้องกับ Jim Taylor อาจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก ที่สรุปผลจากงานวิจัยของเขาว่า วัฒนธรรมแบบทีมกีฬาเหมาะสมกับองค์กรที่ต้องการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
.

ในบทความ Stop Saying Your Company Is Like A Family ในเว็บไซด์ Forbes ได้พูดถึงลักษณะขององค์กร แบบทีมกีฬา ที่สามารถนำไปปรับใช้คือ

  • มีเป้าหมายที่ชัดเจน และเข้าใจอุปสรรคหรือศัตรูที่ต้องเผชิญ
  • มีบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจน ทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร
  • มีความหลากหลาย ต่างคนจำเป็นมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน
  • รวมตัวกันอย่างมีวัตถุประสงค์ ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ที่สะท้อนตัวผู้นำ สมาชิกในทีมและความปราถนา
    .

อย่างไรก็ตาม แม้คุณจะเลือกสร้างองค์กรในแบบทีมกีฬา แต่จุดแข็งบางด้านของความเป็นครอบครัวก็ยังจำเป็นอยู่เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การรับฟังกันและกัน ความไว้วางใจ หรือแม้กระทั่งความเห็นอกเห็นใจ และนี่คือความท้าทายของผู้นำที่จะสามารถสร้างสมดุลย์เหล่านี้ให้เกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างราบรื่น
.
.
A Cup of Culture

.

แหล่งบทความอ้างอิง
Stop Saying Your Company Is Like A Family by Denise Lee Yohn www.forbes.com
Build a Team Culture for Athletic Success by Jim Taylor Ph.D. www.psychologytoday.com/ Powerful by Patty Mccord

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search