พอพูดถึงคำว่า “บูลลี่” เราอาจจะคุ้นชินกับคำนี้ในแง่ของการบูลลี่กันในโรงเรียน เพื่อนรังแกกันแกล้งกัน หรือข่มขู่คุกคาม เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่า การบูลลี่กันในที่ทำงาน (Workplace Bullying) ก็มีเกิดขึ้นและเกิดมานานแล้วเพียงแต่อาจไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นให้พูดถึงกันมากนัก
จากผลการสำรวจของสถาบัน Workplace Bullying Institute พบว่า 30% ของพนักงานเคยมีประสบการณ์การถูกบูลลี่หรือกลั่นแกล้งโดยตรงขณะทำงาน และการทำงานแบบ Remote work มีแนวโน้มที่ถูกกลั่นแกล้งมากกว่า 43.2% ตอบว่าพวกเขาถูกรังแกในที่ทำงาน
การกลั่นแกล้งในที่ทำงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน (well-being) นอกจากนี้ยังทำลายประสิทธิภาพการทำงานที่ของคนคนหนึ่งด้วย การศึกษายังพบอีกว่า“การกลั่นแกล้งกันในที่ทำงานได้สร้างบาดแผลทางใจที่ยาวนาน ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความมั่นใจในตนเอง และสุขภาพจิตโดยทั่วไปของเหยื่อ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การบูลลี่กันยอมส่งผลไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะหากองค์กรต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความเชื่อใจ (trust) การสื่อสารอย่างโปร่งใส หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว
การบูลลี่กันในที่ทำงานมีลักษณะอย่างไรบ้าง?
การบูลลี่กันในที่ทำงาน (Workplace Bullying) คือ การเลือกปฏิบัติของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลหนึ่งในทางที่ไม่สมเหตุสมผลซ้ำแล้วซ้ำเล่าในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติ เช่น การข่มขู่ รุกราน ลดศักดิ์ศรี หรือทำให้พนักงานอับอาย ทั้งต่อหน้าเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า
ตัวอย่างเช่น
- การพูดที่ทำร้ายจิตใจซ้ำๆ หรือล้อเลียนในเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ เชื้อชาติหรือวัฒนธรรม การศึกษา หรือภูมิหลังทางเศรษฐกิจ
- การล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสในจุดที่ไม่พึงประสงค์ หรือการร้องขอทางเพศที่โจ่งแจ้งที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ
- เล่น “สงครามจิตวิทยา” หรือ “สงครามประสาท” ไม่ว่าจะเป็นการกดดันด้วยภาษาท่าทาง หรือจงใจทำให้อีกฝ่ายอึดอัดด้วยคำพูดหรือการกระทำ
- การข่มขู่ (ทำให้คุณรู้สึกสำคัญน้อยลงและด้อยค่า)
- ให้ทำงานแบบไร้จุดหมาย (หรือทำงานในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของคุณ)
- ให้ทำงานที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ บีบบังคับด้วยเวลาที่จำกัด หรือลิมิตทรัพยากรที่มีให้
- ให้ทำงานหรือทำในสิ่งที่น่าอับอายไม่เหมาะสม เพื่อจงใจทำให้คุณไม่เป็นที่ยอมรับ
- จงใจเปลี่ยนชั่วโมงทำงานหรือตารางงานของคุณเพื่อทำให้ลำบากมากขึ้น
- จงใจระงับหรือการปิดการเข้าถึงข้อมูลที่คุณต้องการเพื่อการทำงานให้เสร็จสิ้น
- โจมตีหรือข่มขู่ด้วยอุปกรณ์ มีด ปืน กระบอง หรือวัตถุอื่นใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นอาวุธได้
บทสรุป —ในกรณีที่เราเป็นผู้ถูกบูลลี่หรือพบเห็นการบูลลี่กันในที่ทำงาน สิ่งที่ควรทำคือ —นำเรื่องราวไปแจ้งแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของเรา หรือหากผู้บังคับบัญชาเป็นผู้บูลลี่เราเสียเองก็นำความไปแจ้งแก่บุคคลที่สูงกว่าหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล รวมทั้งเก็บบันทึกรายละเอียดลักษณะของการกลั่นแกล้ง (เช่น วัน เวลา สถานที่ สิ่งที่พูดหรือทำ และในสถานการณ์นั้นมีใครอยู่ด้วยบ้าง)
สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้เพื่อลดพฤติกรรมบูลลี่กันในที่ทำงานคือ —ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรทำในที่ทำงานและการให้ความเคารพผู้อื่น ส่งเสริมการรายงานพฤติกรรมบูลลี่ที่พบเห็น พัฒนาทักษะการจัดการและการตอบสนองต่อความขัดแย้ง บอกความคาดหวังที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรที่พยายามสร้างให้เกิดขึ้น พฤติกรรมไหนที่ยอมรับได้และไม่เป็นที่ยอมรับ
อ่านสถิติเกี่ยวกับการบูลลี่ในที่ทำงานได้ที่ : https://www.twinkl.co.th/blog/anti-bullying-week-in-workplace
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

https://www.verywellmind.com/what-are-the-effects-of-workplace-bullying-460628
https://adminfinance.umw.edu/hr/employee-relations/respectful-workplace-policies/workplace-bullying/

