สองปีที่ผ่านมาตั้งแต่ช่วงที่เราเริ่มทำงานที่บ้านกัน หลายคนก็พบกับปรากฏการณ์ที่เวลามันเหมือนจะเดินเร็วกว่าปกติ หนึ่งเดือนผ่านไปราวกันเมื่อวาน และสองปีผ่านไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงที่เราอาจจะทำงานหนักหน่วงมากกว่าปกติด้วยซ้ำ นี่อาจจะเป็นสัญญาณของการบริหารเวลาที่ไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้ความ Productive มันย้อนกลับมาทำร้ายเรา
วันนี้เรามีงานวิจัยจาก Fillipa Bellette ผู้ที่เป็น Co-Founder ของบริษัทปรึกษาด้านการจัดการกับความยุ่งเหยิง และความ Burn-out ให้กับองค์กรชั้นนำมาหลาย ๆ ที่คุณ Bellette เขาก็ได้ค้นพบว่าความ Productive ที่ผิดที่ผิดทาง โดยเฉพาะในระหว่างการ Work from Home นั้นอาจจะนำมาซึ่งปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ ทั้งในด้านกายภาพ สภาพจิตใจ และพฤติกรรม และเธอก็ได้สรุป 7 ข้อควรระวังรวมถึงวิธีการรับมือกับมัน
=================
💠 1. multi-tasking ขั้นสุด
คุณ Bellette ได้พูดถึงว่าจริง ๆ แล้ว Multitask เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างใหม่ ๆ โดยที่จากงานศึกษาพบว่าผู้หญิงมักจะมีแนวโน้มที่จะ Multitask เก่งกว่าผู้ชายมาก ๆ จน Working women หลาย ๆ คนดึงจุดแข็งของตัวเองตรงนี้ออกมาเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญเวลาสมัครงาน แต่ Bellette เองก็มองว่านี่ไม่ใช่วิธีที่ดีในการทำงาน และมันอาจจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ด้วยซ้ำ เพราะงานวิจัยพบว่าการ Multitask นั้นส่งผลต่อระดับ IQ ที่ลดลง และลด Produc-tivity โดยรวมลงได้มากถึง 40% ขัดกับภาพลักษณ์ที่การ Multitask เป็นอะไรที่ดู Productive และในระยะยาวแล้วการ multitsk หนัก ๆ สามารถเกิดความวิตกกังวลสะสม รวมไปถึงความเศร้าด้วย ดังนั้นคุณ Bellette จึงแนะนำว่าถ้ามีหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นพร้อมกันให้ทำให้เสร็จไปทีละอย่าง มากกว่าสลับงานไปมา
💠 2. จัดการเวลาไม่ได้
งานวิจัยนี้ยังบอกอีกว่าการจัดการเวลาที่ไม่ดีนั้นก็ส่งผลต่อการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ สังเกตุได้จากความรู้สึกว่าจัดการอะไรไม่ได้ หรือความไร้ระบบระเบียบในชีวิต นี่เป็นสัญญาณว่าเราอาจจะไม่ได้ลำดับความสำคัญสิ่งที่ต้องทำดีพอ และพยายามทำทุกอย่างให้ได้ จนเหมือนอยู่ในวังวนของงานที่ไม่รู้จบ นี่เป็นเวลาที่ทักษะการบริหารจัดการเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ โดยเครื่องที่มีสามารถลองไปใช้ได้อาจจะเป็น กระดาน Kanban สำหรับลำดับความสำคัญ และติดตามงานของแต่ละโปรเจค มันจะช่วยให้เราเห็นภาพของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวันง่ายขึ้น และบริหารจัดการตัวเองได้มากขึ้น รวมไปถึงเวลาส่วนตัวด้วย
💠 3. ตอบรับมากไป
ลองดู Calendar งานของตัวเองและประเมินกันดูว่าในแต่ละงานที่มีอยู๋ตอนนี้มีสักกี่อันที่เราอยากจะทำมันจริง ๆ และมีกี่อันที่เรารับมาเพราะเกรงใจ หรือรู้สึกผิด หรือถ้ายิ่งกว่านั้นมีกี่อันที่ช่วยให้เราเข้าใกล้เป้าหมายของตัวเองมากขึ้น และกี่อันที่เป็นเป้าหมายของคนอื่น ถ้าเราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับคำขอของคนอื่น นั่นอาจจะเป็นสัญญาณว่าเราอาจจะตอบรับมากไป และนี่ก็เป็นปัญหาที่หลายคนเผชิญอยู่
ซึ่งคุณ Bellette ก็เตือนว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่การ burnout อย่างแน่นอน รวมไปถึงทำลาย Productivity และความพึงพอใจในชีวิต และเธอก็มักจะแนะนำให้ลูกค้าของเธอวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะ ‘Say NO’ กับอะไรบ้าง ‘Maybe’ กับอะไรบ้าง และ ‘YES’ กับอะไรบ้างไว้ก่อนที่คำถามจะมาถึง เพื่อให้เราชัดเจนกับขอบเขตของตัวเอง
💠 4. เหนื่อยล้า
ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านการ Burnout ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คุณ Bellette จะต้องพบกับลูกค้าที่ไม่อยากตื่นขึ้นจากเตียงเป็นจำนวนมาก เพราะว่าความเหนื่อยล้าเป็นสัญญาณที่ชัดเจนมาก ๆ อันหนึ่งของอาการ Burn-out ซึ่งสุดท้ายก็จะวกกลับมาส่งผลเสียต่อคุณภาพการทำงานในที่สุด โดยวิธีการแก้ความล้านั้นไม่ใช่อะไรที่ซับซ้อนเหมือนข้ออื่น ๆ เพราะมันคือการนอนหลับที่เพียงพอนั่นเอง ห้องนอนที่มืด เงียบ และปราศจากแสงของเทคโนโลยีจะช่วยจัดการกับ Cortisol ที่เป็นฮอร์โมนความเครียดได้ในที่สุด
💠 5. วิตกกังวล
คุณ Bellette ให้ความเห็นในเรื่องความวิตกกังวลไว้ว่า นักธุรกิจที่มีความกังวลสูงนั้นมักจะเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองทำ หรือพูด หยุดทดลองสิ่งใหม่ ๆ และอาจจะหลีกเลี่ยงที่จะประเมินความเสี่ยงในการทำงานเนื่องจากกังวลกับสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ นั่นส่งผลอย่างมากต่อธุรกิจที่ต้องการการเรียนรู้ตลอดเวลา และอาศัยการคิดหาไอเดียใหม่ ๆ
ความรู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลาเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเรากำลังต้องการความช่วยเหลือ Bellette แนะนำว่าควรเริ่มต้นจากการประเมินว่าอะไรบ้างคือสิ่งที่กระตุ้นความเครียดเรา หลาย ๆ คนกังวลกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตัวเอง ดังนั้นเธอจึงแนะนำให้ลิสต์สิ่งที่เป็นกังวลออกมาให้หมด และระบุต่อว่าอันไหนควบคุมได้ หรือไม่ได้ และให้โฟกัสกับการจัดการในสิ่งที่ควบคุมได้แทน
💠 6. สมองมันเบลอ ๆ
เมื่อเราอยู่กับงานมากไปมันมักจะส่งผลต่อสมองเรา ทำให้สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก นี่เป็นอาการที่เรียกว่า Brain Fog หรือสมองขึ้นฝ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีหลายอย่างต้องทำมากเกินจะรับไหว รวมถึงความเครียดเรื้อรังที่อาจส่งผลให้สารสื่อประสาทไม่ทำงาน ส่งผลต่อการเสียสมาธิได้ง่าย คิดอะไรไม่ค่อยออก หลง ๆ ลืม ๆ แต่ Brain Fog ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น เพราะเราสามารถป้องกันได้ด้วยกันพยายามออกห่างจากคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ รวมถึงมีงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่าพฤติกรรมที่เท้าติดพื้นจะช่วยรีเซ็ตสมองเราได้ดี เช่น เดินเท้าเปล่าสักเล็กน้อย
💠 7. ความเจ็บปวด
นอกเหนือจากอาการปวดเมื่อย ปวดไหล่ ปวดหัว ปวดท้อง ต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่เหมือนร่างกายเรากำลังตะโกนบอกให้เราหยุดแล้ว มันยังเป็นสัญญาณว่าเราทำมากเกินไป มานานเกินไปอีกด้วย และทำลายประสิทธิภาพในการทำงานของเรา เช่นเดียวกันกับอาการก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาการป้องกันคือวิธีที่ดีกว่าการรักษา โดย Bellette แนะนำให้พักบ่อย ๆ และบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงดูสรีระท่าทางการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ
==============
หลาย ๆ ท่านที่ติดตาม A Cup of Culture ต่างก็มีภาระงาน และความรับผิดชอบที่หลากหลายทั้งสิ้น ความกังวล ความเจ็บปวด และเหนื่อยล้าจึงไม่ควรมาเป็นอุปสรรคสำหรับทุกท่านในการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร แต่แน่นอนว่าถ้าเราไม่ตั้งใจบริหารตัวเองและป้องกันอาการ Productivity เป็นพิษเหล่านี้ภารกิจของท่านอาจจะต้องล่าช้าลงได้ในที่สุด
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>
.
.
>>>
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26844712/