หนึ่งในคำถามของผู้นำองค์กรหลาย ๆ คนในช่วงนี้จะเป็นในเรื่องของการที่ว่า องค์กรของเราจะสามารถสร้างการสื่อสาร และการทำงานประสานกันอย่างมีความหมายได้อย่างไรในยุคของ Hybrid Workplace และคำตอบนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ชัดเจนจนเราอาจคาดไม่ถึง
ก่อนหน้านี้สักประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในกระแสของโลกธุรกิจที่มาแรงคือคำกล่าวที่ว่า “Every company is a tech company” ที่ก่อนหน้านี้อาจจะมีคนไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่ แต่ในปีนี้ ในยุคที่พนักงานบริษัทแทบจะทุกคนต้องประชุมกันผ่าน Video และคุยงานกันผ่านแอปพลิเคชั่น วลีนี้ก็ได้กลายเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ที่เมื่อไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหนก็ตามเครื่องมือทางเทคโนโลยี นอกจากที่จะกลายเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้แล้ว ยังกลายเป็นประสบการณ์การทำงานส่วนใหญ่ของพนักงานอีกด้วย
และนั่นก็พาเรากลับมาสู่คำถามใหญ่ของเราที่ว่า “เราจะสามารถสร้างการสื่อสาร และการทำงานประสานกันอย่างมีความหมายได้อย่างไรในยุคของ Hybrid Workplace นี้ ?” และคำถามนี้ทำให้ในปัจจุบันเราได้เห็นการเกิดใหม่ของเทคโนโลยีสำหรับองค์กร และการทำงานออกมาเยอะขึ้น เทคโนโลยีที่นอกเหนือไปจาก Video call เพราะแม้เทคโนโลยีจะไม่ใช่ทางออกเดียว ไม่มากก็น้อยก็ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กรที่กำลังต้องการสร้างองค์กรที่วัฒนธรรมเติบโตได้ดี และดึงดูดคนเก่ง ๆ ผ่านวิถีชีวิตการทำงานที่ลงตัว
เพราะในรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid หรือ Remote ที่สภาพแวดล้อมแบบ offline มีบทบาทลดน้อยลงไป ทำให้ปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างของพนักงานและการทำงานจะตั้งอยู่บนเทคโนโลยีขององค์กรเสมอ และแนวโน้มนี้เองที่ทำให้เราต้องปรับมุมมอง และ mindset เดิม ๆ เกี่ยวกับงานด้าน IT ขององค์กรไปโดยสิ้นเชิง เมื่อสิ่งที่เราเรียกว่า User Expereince (ประสบการณ์ของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น) กับ Employee Experience (ประสบการณ์ของพนักงานในองค์กร) กลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้ว
🔰 Technology Defines the Employee Experience
เมื่อเราทำงานได้ยืดหยุ่นมากขึ้น การเข้างานในเชิงกายภาพกลายเป็นเรื่องที่ลดน้อยลงไป การสวัสดิการแบบเดิม ๆ ที่เน้นการอำนวยความสะดวกในออฟฟิศกลายเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก และความผูกพันธ์ของพนักงานที่มีต่อองค์กรน้อยลงเรื่อย ๆ
จากรายงานของ Microsoft ใน 2021 Work Trend Index แสดงให้เห็นว่า 46% ของพนักงานได้ย้ายที่อยู่อาศัยเนื่องจากว่าพวกเขาสามารถทำงานที่ไหนก็ได้แล้ว และเหล่าพนักงานยังค่อนข้างชอบการทำงานทางไกลอีกด้วย โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ Qualtrics ที่พบว่าพนักงาน 35% คิดว่าจะมองหางานใหม่ถ้าบริษัทเดิมของพวกเขาเรียกให้กลับเข้าออฟฟิศเต็มรูปแบบ
และด้วยกระแสเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เทคโนโลยีของออฟฟิศไม่ใช่แค่เครื่องมืออีกต่อไป แต่กลายเป็น ‘ที่ทำงาน’ หลักของเหล่าพนักงานไปโดยปริยาย กลายเป็นแกนหลักของการทำงาน และเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูด และรักษาเหล่า talent ไว้กับองค์กร เป็นตัวแปรสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร และเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงาน
:::::::::::::::
แต่แม้ว่าเทคโนโลยีจะกลายเป็นแกนหลักของการทำงานไปแล้ว เหล่าพนักงานก็ยังรู้สึกไม่ค่อยพอใจกับเทคโนโลยีการทำงานขององค์กรตัวเองเท่าที่ควร เพราะจากรายงานเดียวกันนี้ของ Qualtrics พบว่า 70% ของพนักงานรายงานว่าประสบการการใช้เครื่องมือทาง technology ของบริษัทพวกเขานั้นไม่ค่อยน่าประทับใจ และการศึกษาของ Microsoft เองก็พบว่าหลังจาก 1 ปีของการทำงานที่บ้านพนักงาน 42% รายงานว่าพวกเขายังขาดอุปกรณ์การทำงานที่บ้าน และ 1 ใน 10 ยังไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ดีพอให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อประสบการณ์การทำงานของพนักงาน (Employee experience)
โดยคือวิธีการที่พนักงานสื่อสาร ทำงานร่วมกัน และเชื่อมต่อกันในการทำงานคือพื้นฐานสำคัญของ Employee experience และเป็นสิ่งสำคัญที่นายจ้างต้องบริหารให้ดีหากต้องการให้เหล่าพนักงานยังคงอยู่กับเรา ดังนั้นการจัดการประสบการณ์การทำงานของพนักงานในด้านของเทคโนโลยีจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในยุคของการทำงานแบบ Hybrid เพราะโดย Qualtrics รายงานว่าบริษัทจะได้ engagement จากพนักงานมากขึ้นถึง 230% ถ้าเหล่าพนักงานรู้สึกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งเสริมการทำงานของพวกเขาได้ดี และเพิ่มโอกาสให้พนักงานอยู่กับองค์กรเราเกิน 3 ปีได้ถึง 85% นอกเหนือจากนั้นยังมีข้อได้เปรียบยิบย่อยอีกมากมายเมื่อเราพูดถึงการมีเทคโนโลยีที่เข้ากับวิถีชีวิตการทำงานของพนักงาน เริ่มตั้งแต่การช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ส่งเสริมความเร็วในการปรับตัวให้กับองค์กร หรือสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
และด้วยทั้งหมดนี้แหละ คือเหตุผลสำคัญที่ทำไมองค์กรควรที่จะกลับมาทบทวนถึงวิถีการทำงานกับเทคโนโลยีที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน และเริ่มต้นถามหาเสียงตอบรับจากพนักงานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อีกครั้ง รวมถึงการจริงจังกับการปรับแก้ไข และสรรหาเทคโนโลยีที่เข้ากับวิถีการทำงานของพนักงานมากที่สุด พร้อม ๆ กับการคอยถามหาฟีดแบคและปรับปรุงให้ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานรู้สึกดีกับการใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ขององค์กร เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็น ‘ที่ทำงาน’ แห่งใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว บริษัทจึงควรดูแลเทคโนโลยีในฐานะบ้านหลังใหม่เช่นกัน
.
.
Source:
https://www.qualtrics.com/news/qualtrics-announces-top-workplace-trends-to-watch-for-in-2022/
https://www.microsoft.com/en-us/worklab/work-trend-index
.
.