ทุกครั้งที่หยิบยกเรื่องวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาพูด เรามักจะได้ยินคำว่า employee lifecycle, employee experience, หรือ employee engagement อยู่บ่อย ๆ ซึ่งในบางครั้งก็บ่อยจนพาเราสับสนว่าแต่ละคำเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
แต่ statement ที่ปรากฎให้เห็นบ่อยที่สุด คงจะว่าด้วยเรื่อง “employee engagement ที่ดีจะนำมาซึ่งประสบการณ์และผลลัพธ์การทำงานของพนักงานที่ดีขึ้นตามไปด้วย” ซึ่งถือว่าเป็น statement ที่ไม่ผิด และในวันนี้ เราจะมาร่วมกันค้นหาว่าแก่นแท้ที่เป็นจุดศูนย์กลางของ employee engagement น่าจะเป็นอะไร และเมื่อนำคำตอบนั้นมาปรับใช้ได้ตรงจุดแล้ว จะส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างไรบ้างครับ
===============
บทความนี้เปรียบได้กับการที่เราจะมาปอกหัวหอมที่ประกอบไปด้วยกันหลาย ๆ ชั้น เมื่อปอกเอาผิวนอกออก ก็จะพบกับชั้นด้านในไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบจนกว่าจะไปถึงชั้นในสุด ซึ่งจะเป็นคำตอบของเราในวันนี้ครับ
ในบริบทนี้ เมื่อพูดถึงเปลือกนอกสุด เรากำลังพูดถึง employee life cycle โดยตามตำราถูกแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ที่เชื่อกันว่าพนักงานองค์กรทุกคนจะต้องเดินทางผ่านครบทั้ง 7 ขั้นนี้ตลอดระยะเวลาของการเป็นพนักงานให้กับบริษัท ได้แก่ attract, hire, onboard, engage, perform, develop, และ depart
ในทุกขั้นตอนล้วนมีความหมายและความสำคัญ เพราะเมื่อนำทุก checkpoint มาร้อยเรียงกันเป็น journey เส้นเดียว ก็จะเกิดคำว่า employee experience
==============
ทีนี้เมื่อเราปอกหอมใหญ่ลูกนี้ลงไปอีกชั้น ก็จะพบว่ามีอยู่ 3 จาก 7 ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ engage, performance, และ develop เพราะทั้งสามขั้นตอนดังกล่าว จะปรากฎขึ้นซ้ำ ๆ ในชีวิตประจำวันของพนักงานทุกคน ต่างจากขั้นตอน hire, onboard หรือ depart ซึ่งเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวตลอดระยะเวลาที่พนักงานอยู่กับองค์กร ดังนั้นประสบการณ์จะดีจะร้าย อาจพูดได้ว่าตัดสินกันที่ 3 ขั้นตอนนี้ก็ว่าได้ครับ
เราจะปอกหอมใหญ่ลงไปอีกชั้น เพื่อมาแกะว่าทั้งสามขั้นตอนต้องเริ่มที่อะไรก่อน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และอะไรอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำให้ประสบการณ์ในทั้งสามขั้นตอนนี้ออกมาดีและน่าจดจำ
===============
ตรงไปตรงมาเลยนะครับ ในสามขั้นตอนนี้ เรามักจะเริ่มต้นที่ employee engagement ก่อน เพราะนี่เป็นก้าวแรกที่สำคัญจริง ๆ พนักงานที่มีความรู้สึกยึดโยงต่อองค์กรจะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานกายและใจที่ยอดเยี่ยมชนิดที่สามารถสังเกตและจำแนกกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย กลุ่มคนเหล่านี้ โดยธรรมชาติจะหาทางเพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนจากนี้ง่ายขึ้นโดยอัตโนมัติ
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม engagement จึงมาก่อน เพราะความรู้สึกยึดโยงกับองค์กร คือ ฐานรากสำคัญของการทำงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
เมื่อพนักงานทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้ performance ดีขึ้นตามลำดับ จึงต่อยอดสู่ development เพราะการพัฒนาคนที่ดีที่สุด เกิดขึ้น ณ ขณะที่คน ๆ นั้นกำลังทำงานได้ดีภายใต้การโค้ชที่ยอดเยี่ยมนั่นเองครับ จึงอาจสรุปสั้นได้ว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือ การทำให้ความต้องการขั้นพื้นฐานของพนักงานได้รับการเติมเต็มก่อน และเมื่อนั้นพวกเค้าจึงพร้อมที่จะปล่อยพลังทั้งหมดออกมาสร้างสรรค์ผลงานที่ดีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์กร
================
เราเห็นกันแล้วว่า employee engagement นั้นสำคัญขนาดไหน แต่เชื่อหรือไม่ครับว่าจากผลสำรวจของ Gallup Research พบว่ามีแรงงานทั่วโลกเพียง 15% เท่านั้นที่รู้สึกยึดโยงกับองค์กรอย่างแท้จริง ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า คำว่า engagement นั้นฟังดูง่าย แต่เอาเข้าจริง ๆ ทำให้เกิดได้ยาก
คุณผู้อ่านพร้อมที่จะปอกเปลือกชั้นสุดท้ายของหอมใหญ่ลูกนี้เพื่อไปหาคำตอบกับผมรึยังครับว่า แก่นแท้ของ engagement คืออะไร?
===============
จากงานวิจัยอีกฉบับของ Gallup พบว่าปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะสร้าง employee engagement ให้เกิดขึ้นได้จริง คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง “หัวหน้างาน” กับตัวพนักงานครับ มีหนึ่งประโยคจากบทความต้นฉบับที่กินใจมาก ๆ กล่าวว่า “หัวหน้างานคือผู้รับผิดชอบประสบการณ์เกือบทั้งหมดของพนักงานระหว่างที่ทำงานให้กับองค์กร และเป็นจุดศูนย์กลางของการทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีความยึดโยงสูง”
ทุกท่านคิดว่าจริงมั้ยครับ? อยากให้ลองคิดภาพตามโดยย้อนนึกไปถึงประสบการณ์จริงที่ผ่านมาของตัวท่านเองแล้วลองตอบคำถามนี้ในใจดูว่าจริงหรือไม่
สำหรับผม ขอตอบออกมาดัง ๆ ว่าชีวิตทำงานที่เดินทางมาถึง ณ วันนี้ แม้จะยังไม่ได้ยาวนานมากนัก แต่คำตอบนั้นชัดเจนมาก ๆ ว่าหัวหน้างาน คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดชีวิตการทำงาน ณ ขณะนั้น ๆ ว่าจะดีจะร้ายอย่างไร ทำให้ผมได้พัฒนาตนเองขึ้นจากจุดเดิมมากน้อยแค่ไหน โดยไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ทักษะการทำงานด้านนั้น ๆ แต่หมายรวมถึงวิธีคิดและทัศนคติต่อชีวิตในภาพรวมด้วยครับ
===============
วันนี้เราพบคำตอบแล้วว่า “หัวหน้างาน” คือจุดศูนย์กลางในการสร้างความยึดโยงของพนักงานต่อองค์กร อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุสิ่งนี้ได้ หัวหน้างานเองก็ต้องมีความพร้อมในการที่จะดูแลคนหนึ่งคนหรือมากกว่าให้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การคัดเลือกคนในตำแหน่งระดับนี้เข้ามาสู่องค์กร หรือการเตรียมความพร้อมคนในองค์กรเองให้พร้อมสู่การเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต จึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญสูงสุด และวางองค์ประกอบนี้ไว้ที่จุดศูนย์กลางของแผนกลยุทธ์ด้าน employee experience ครับ
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.
>>>
Source: https://www.gallup.com/workplace/323573/employee-experience-and-workplace-culture.aspx
.
.
>>>