เราทราบกันดีว่าคนแต่ละ Generation มีสไตล์และมุมมองต่อโลกที่แตกต่างกัน นั่นทำให้หลายครั้งในองค์กรคนต่างเจนมักจะมีปัญหาในการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะเมื่อในโลกการทำงานความแตกต่างนี้ถูกทำให้ใหญ่ชัดมากขึ้นด้วยโครงสร้างองค์กรส่วนใหญ่ที่มีความเป็นลำดับขั้น ที่สุดท้ายแล้วทำให้พนักงานรุ่นใหม่หมดใจที่จะทำงาน พนักงานอาวุโสเหนื่อยหน่าย บรรยากาศในการทำงานร่วมกันไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ความพยายามของผู้บริหารในการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาเพื่อแสดงถึงศักยภาพองค์กร ถูกตอบรับด้วยเสียงบ่นของเหล่าผู้จัดการระดับกลาง
ความแตกต่างระหว่าง Generation เป็นปัญหาเก่าแก่ แต่ในตอนนี้มันเป็นครั้งแรกที่เรามีคนทำงานถึง 4 รุ่นที่กำลังทำงานร่วมกันอยู่ ด้วยนี้การรับมือกับความแตกต่างนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะพลาดไม่ได้อีกต่อไป
|
คนทั้ง 4 รุ่น ในที่ทำงาน ได้แก่:
- Baby Boomer (Baby Boomer เกิดช่วงปี พ.ศ. 2489-2507)
- Generation X (เกิดช่วงปี พ.ศ. 2508-2522).
- Generation Y (เกิดช่วงปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ.2540
- Generation Z (เกิดช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป).
เพราะเป็นธรรมชาติที่คนเราจะไว้ใจคนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวเองมากกว่า และมองตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้น นั่นทำให้เมื่อมีหลาย Generation อยู่ด้วยกันจึงง่ายที่สัญชาติญาณนี้จะกลายเป็นความ “นี่พวกฉัน” “นั่นพวกมัน” นั่นทำให้บทบาทของผู้นำคือความจริงจังใน การกระตุ้น “ตัวตน” ตรงกลางขององค์กรเพื่อให้พนักงานในทุก ๆ รุ่นมองเห็นตัวเองเป็นภาพเดียวกัน และต่อไปนี้คือ 3 แนวทางสร้างตัวตนร่วมกันในการทำงานที่จะช่วยให้ทีมงานของเราไม่ใช่เพียงแต่รับมือกับความแตกต่างของช่วงอายุได้ แต่ยังใช้ความแตกต่างนี้เสริมสร้างทีมให้แกร่งกว่าเดิม
1. Shared Sense of Purpose
งานสำรวจของ McKinsey พบว่าเกือบ 2 ใน 3 ของคนทำงานในสหรัฐฯรายงานว่า Covid-19 ทำให้พวกเขาต้องกลับมาทบทวนเป้าหมาย และความหมายของชีวิตตัวเองใหม่ และชัดที่สุดในกลุ่ม Millennials ที่มากกว่ากลุ่มอื่นถึง 3 เท่า และองค์กรที่สามารถเชื่อมโยงความหมายเหล่านี้ที่แต่ละช่วงอายุมีแตกต่างกันเข้าด้วยกัน และเข้ากับองค์กรได้จะส่งผลให้องค์กรเต็มไปด้วยพนักงานที่มีพลัง โดยสามารถเริ่มต้นได้จากกระบวนการเหล่านี้:
- นัดหมาย town hall meetings ที่ให้คนแตกต่างไวมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน (กลุ่มละ 6-8 คน)
- ให้พวกเขาร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับความหมายในชีวิต และการทำงานด้วยกัน
- ออกแบบคำถามให้เกิดการเชื่อมโยงความหมายส่วนตัวเข้ากับขององค์กรเพื่อให้พนักงานได้เห็นว่าตัวพวกเขาสามารถมีส่วนร่วมกับเป้าหมายองค์กรได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของคุณ และมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างไร”
Session นี้จะช่วยให้คนมองเห็นว่าสิ่งที่แต่ละคนให้ความสำคัญนั้นมีความใกล้เคียงกันมากกว่าที่คิดไว้ เพราะคำตอบที่พบได้บ่อยมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว การเติบโต หรือการพัฒนาสังคม และนอกจากนั้นยังช่วยให้องค์กรสามารถสนับสนุนตัวตนของพนักงานในช่วงวัยได้มากขึ้นอีกด้วย
2. Differences Matter
Sense of purpose ที่มีร่วมกันระหว่างวัยเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียว และเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน แต่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มเองก็ควรเป็นเรื่องที่ยอมรับ และใช้ให้เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น เมื่อทีมใหม่กำลังถูกตั้งขึ้น ทีมที่ทำงานได้ดีมักจะเป็นทีมที่มีการประชุม kickoff แม้ว่าสมาชิกจะเคยทำงานร่วมกันมาแล้ว เพราะมันช่วยให้พวกเขาเข้าใจตรงกันถึงความถนัดของแต่ละคน รวมถึงข้อได้เปรียบที่แต่ละคนสามารถให้ได้ และแม้ว่าจะเป็นทีมถาวรก็ควรหาโอกาสในการ re-kick off โดยอาจจะมีตัวกระตุ้นเป็นการปิด quarter หรือการเปิดปีใหม่
เพื่อให้แน่ใจได้ว่าความแตกต่างระหว่างช่วงอายุนี้ยังเป็นประโยชน์อยู่เรื่อย ๆ องค์กรควรมีคนที่ทำหน้าที่เป็น coordinator ประจำทีมที่คอยทำความเข้าใจถึงศักยภาพของพนักงานแต่ละคน และมองหาโอกาสดึงมาใช้
3. Reverse Mentoring Program
Reverse mentoring คือการที่พนักงานอายุน้อยกว่าทำหน้าที่ช่วยสอนงานคนที่อายุมากกว่า กระบวนการนี้ช่วยให้ผู้บริหาร หรือผู้จัดการระดับสูงสามารถตามโลกของ social media และหัวข้อต่าง ๆ ที่คนหนุ่มสาวพูดคุยกันได้มากขึ้น และเมื่อพนักงานรุ่นเก๋ามีความรู้ในประเด็นเหล่านี้มากขึ้น จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจพนักงานหนุ่มสาวได้มากกว่าเดิมไปด้วย นั่นทำให้รุ่นเก่าเปิดรับกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเดิม
และตัว mentor เองก็จะได้ประโยชน์จากการมีความมั่นใจ และทักษะการสื่อสารมากขึ้น และแน่นอนว่าระหว่างการ mentoring พนักงานทั้งสองรุ่นก็จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันในประเด็นอื่น ๆ และช่วยให้พนักงานรุ่นใหม่มองเห็นพนักงานรุ่นเก๋าในมิติอื่น ๆ มากกว่าภาพลักษณ์ตาม stereotype ของคนอายุมาก สิ่งสำคัญสุดท้ายของการทำโปรแกรมนี้คือไม่ควรเป็นภาคบังคับ แต่ควรเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายเลือกเข้าร่วมตามความสะดวกใจ และจับคู่ตามความสนใจที่ตรงกัน
. . .
และสุดท้ายนี้ในโลกการทำงานที่มีคน 4 รุ่นทำงานร่วมกัน ความแตกต่างของช่วงอายุกำลังอยู่ในจุดพีค และเป็นโอกาสดีที่เราจะใช้ความแตกต่างนี้ให้เป็นประโยชน์กับองค์กรที่สุด เพราะนอกจากการรับมืออย่างถูกวิธีจะช่วยแก้ปัญหาความไม่ลงรอยละหว่างวัยแล้ว ยังสามารถดึงเอาศักยภาพที่แตกต่างของแต่ละช่วงอายุมาสร้างผลลัพธ์ใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นให้กับองค์กรได้อีกด้วย
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.