กลุ่มคน Gen Z ที่มีอายุมากที่สุด (24-26 ปี) กำลังเริ่มต้นก้าวเท้าเข้าสู่องค์กรและเริ่มต้นเส้นทางอาชีพของพวกเขาในปัจจุบัน ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตลอดไปจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้กลุ่มคน Gen Z แตกต่างอย่างมากจากคนรุ่นก่อนๆ (แม้แต่กับกลุ่มคนที่ใกล้ที่สุดอย่างคน GenY) รวมไปถึงความต้องการและความคาดหวังของพนักงาน Gen Z ในด้านอาชีพและการเรียนก็มีความแตกต่างหลากหลายไม่แพ้กัน ซึ่งหมายความว่าการฝึกอบรมพนักงาน การจัด Workshop กับพนักงานกลุ่มนี้อาจมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้น
คำถามที่น่าสนใจคือ ในเมื่อความรู้ทุกอย่างในปัจจุบันอยู่ในมือถือของคน Gen Z หมดแล้ว พนักงาน GenZ ยังต้องการ Workshop หรือ Training อยู่หรือไม่? และนี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้…
—————-
1. การใช้ซอฟต์แวร์หรือระบบเฉพาะขององค์กร
คน Gen Z มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล (โดยสายเลือด) เพราะพวกเขาเกิดและเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย แม้ว่าพวกเขาอาจมีทักษะด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง แต่พนักงาน Gen Z ก็อาจยังต้องการการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์หรือระบบเฉพาะขององค์กรอยู่ดี
2. การพัฒนา Soft Skills ยังเป็นสิ่งจำเป็น
ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการปรับตัว มีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ ในขณะที่พนักงาน Gen Z บางคนอาจมีทักษะเหล่านี้โดยธรรมชาติ แต่เวิร์กช็อปสามารถช่วยขัดเกลาและพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้แข็งแกร่งต่อไปได้
3. การปฏิสัมพันธ์ข้ามวัย (Cross-Generational Interaction)
การจัดวิร์คช็อปที่ส่งเสริมความเข้าใจที่ดีขึ้นและการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นหรือช่วงวัยที่แตกต่างกันในที่ทำงาน ยังคงเป็นประโยชน์กับพนักงาน Gen Z อยู่ โดยเฉพาะในด้านมุมมองความคิดเห็น รวมถึงวิธีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การเทรนนิ่งทักษะความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ
ความเป็นผู้นำในปัจจุบันไม่ใช่แค่เพียงทำงานเก่งหรือทำงานอยู่กับองค์กรนี้มานานแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องการทักษะการบริหารจัดการทีมงาน (Team management) ความสามารถในการตัดสินใจ (Decision Making) รวมไปถึงการบริหารอารมณ์ (Emotion Management) ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่
5. การเทรนนิ่งเรื่องความหลากหลาย
พนักงาน Gen Z มีแนวโน้มที่จะมีความหลากหลายและตระหนักถึงสังคมมากขึ้น การฝึกอบรมที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการรวมเป็นหนึ่งในสถานที่ทำงานสามารถทำให้สอดคล้องไปกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรได้
6. สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี
พนักงาน Gen Z ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิต การจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการจัดการความเครียด การสร้างความยืดหยุ่น และรักษาการบูรณาการชีวิตการทำงานที่ดีอาจเป็นประโยชน์กับพวกเขา
บทสรุป — การจัด Workshop หรือการ Training พนักงาน Gen Z เป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่การที่องค์กรสามารถบรรลุความท้าทายนั้นได้สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้กับพนักงานทั้งหมดรวมถึงการเติบโตขององค์กรด้วย ดังนั้น การเลือกและปรับการฝึกอบรมให้ตรงกับความต้องการของพนักงาน Gen Z ไม่เพียงแต่ทำให้พนักงาน Gen Z มีส่วนร่วม แต่ยังช่วยให้องค์กรของคุณเตรียมพร้อมที่จะเป็นสถานที่ทำงานแห่งอนาคตได้อีกด้วย
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.