บทบาทของ Project Manager กำลังถูกท้าทายจากภูมิทัศน์องค์กรที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี จากการวิจัยของ Gartner (https://www.gartner.com/en/documents/4011184) พบว่ามีการนำรูปแบบการทำงานแบบ Agile และ product management มาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นคำถามสำหรับ Project Manager ว่าอนาคตที่กำลังจะมาถึง พวกเขาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และท้าทายด้านใดบ้าง
Project Management แบบดั่งเดิมที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับความนิยม เช่น การตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆ การควบคุม scope และ timeline กำลังถูกทดแทนด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น autonomous delivery teams, scrum และ fusion teams ซึ่งถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ และสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจได้จริงๆ ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Generative AI ทำให้งานของ Project Manager หลายอย่างเปลี่ยนไปเป็นแบบ Automation เช่น การติดตามการใช้ทรัพยากร และการจำลอง Business Case.
ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แต่การสำรวจของ Gartner ทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้คาดการณ์ว่าบทบาท Project Manager จะกลายเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่องค์กรต้องการมากที่สุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คำถามสำคัญคือ Project Manager จะยังคงส่งมอบคุณค่าในบริบท และภูมิทัศน์องค์กรที่พัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างไร?
เพื่อให้ประสบความสำเร็จในภูมิทัศน์ใหม่นี้ Project Manager จำเป็นต้องฝึกชุดทักษะที่แตกต่างจากการจัดการโครงการแบบเดิม ๆ เราได้ระบุทักษะ 10 ประการที่ผ่านการสำรวจจาก Leading Project Manager 373 คน ซึ่งเป็นทักษะที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต
10 ทักษะสำคัญแห่งอนาคตสำหรับ Project Manager
1) Organizational Awareness (ความตระหนักรู้ในองค์กร)
Project Manager จะต้องศึกษา และรู้ลึกถึง Dynamic ต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์กร เช่นไซโลในองค์กรและความซับซ้อนต่างๆ รวมถึงทำความเข้าใจการพึ่งพาซึ่งกันและกันที่ซ่อนอยู่ของผู้คน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานข้ามทีม cross-functional ให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุดสูงสุด
2) Data Acumen (ความเฉียบแหลมของข้อมูล)
Project Manager จำเป็นต้องมีความแม่นยำในข้อมูล สามารถหยิบจัดข้อมูลมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของข้อมูลและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ
3) Cross-Functional Collaboration (การทำงานร่วมกันแบบข้ามสายงาน)
การทำงานข้ามสายงานและทีมที่หลากหลายถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินโครงการที่ราบรื่นและบรรลุเป้าหมายขององค์กร
4) Decision Making (การตัดสินใจ)
การใช้วิจารณญาณที่ดีในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับผู้คน ข้อมูล หรือเทคโนโลยี ถือเป็นทักษะที่ยังคงความสำคัญมากสำหรับ Project Manager
5) Willingness to Adopt New Technology (ความเต็มใจที่จะนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้)
การเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้โครงการต่างๆเป็นปัจจุบัน เท่าทันเหตุการณ์ และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
6) Financial Acumen (ความเฉียบแหลมทางการเงิน)
เราอยู่ในยุคที่เอาแน่เอานอนกับเศรษฐกิจไม่ได้ ในวันนี้ที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน เช่นการเกิดสงคราม การออกนโยบายการเงินต่างๆ ของประเทศมหาอำนาจ ล้วนส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ทางการเงินทั่วโลก ดังนั้นการทำความเข้าใจผลกระทบทางการเงินและการจัดการงบประมาณจึงเป็นทักษะที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการจัดการโครงการที่ประสบความสำเร็จ
7) Process and Framework Expertise (ความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการและกรอบการทำงาน)
ความเชี่ยวชาญในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ วิธีทำงานแบบ Agile การจัดการ Change Management ในองค์กร และการประเมินความเสี่ยงล้วนเป็นสิ่งสำคัญ
8) Customer Centricity (ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง)
การมุ่งเน้นไปที่ความต้องการและประสบการณ์ของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการจัดชิ้งาน และ โครงการมีความคล่องตัวมากขึ้น
9) Growth Mindset (กรอบความคิดที่มุ่งเน้นการเติบโต)
ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับตัว และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งส่วนตัวและในทีม
10) Coaching and Motivation (การฝึกสอนและสร้างแรงจูงใจ)
การสร้างความสัมพันธ์ กราโค้ชชิ่งทีม และการจูงใจผู้คนในทีมมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จอย่างมากนอกเหนือจากทักษะการจัดการโครงการทางเทคนิค
ทักษะเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น ไซโลขององค์กร การพึ่งพาซึ่งกันและกันที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานข้ามทีมในภูมิทัศน์ที่วิถีการทำงานเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เช่น โครงการพัฒนาแอปบนอุปกรณ์มือถือ Project Manager จำเป็นต้องนำทางการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่หลากหลาย โดยเน้นความสำคัญของทักษะ เช่น การตระหนักรู้ในองค์กร และการทำงานร่วมกันข้ามสายงาน
แน่นอนว่าการพัฒนาทักษะเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน องค์กรต่างๆ จะต้องลงทุนในโครงการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นทักษะแห่งอนาคตเหล่านี้ เพื่อช่วยให้ Project Manager ประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะเหล่านี้เน้นย้ำถึงแง่มุมที่คำนึงถึงมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการจัดการโครงการ ซึ่งอยู่เหนืองานที่เป็นเชิง Routine-based และยังคงให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ การฝึกสอน และสร้างแรงจูงใจที่เทคโนโลยียังไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.