9 ข้อควรระวังในการสนทนากับเพื่อนร่วมงาน หากยังอยากรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ – แนะนำโดย Words Experts

“Words matter” หรือ คำพูดทุกคำมีความสำคัญ — 3 องค์ประกอบในการพูด คือ ผู้พูด ภาษาที่พูด และผู้ฟัง องค์ประกอบนี้มันเริ่มต้นตั้งแต่ตัวคุณที่เป็นผู้พูด ไปสู่วิธีที่คุณเลือกใช้คำและพูดมันออกไป จนสุดท้ายไปจบที่ผู้รับฟัง


ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านภาษาพบว่า “คำพูด วลี และวิธีการใช้คำ” ส่งผลต่อมุมมองที่ผู้อื่นมีต่อคุณได้ สามารถทำให้ผู้อื่นมองคุณในระดับที่สูงขึ้น เป็นมิตร หรือรู้สึกเห็นอกเห็นใจคุณได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถมองคุณว่าไม่เป็นมิตร ไม่น่าพูดคุยได้ หรือทำให้เสียบรรยากาศได้ด้วย


บทความจาก CNBC ได้พูดถึง 9 ข้อควรระวังในการสนทนา หากเรายังอยากรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานไว้ ซึ่งแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้คำพูดในการสื่อสาร (Words Experts) ดังนี้


1. ไม่ทักทายผู้คน

การทักทายผู้คน แม้จะเป็นในระดับทางการหรือไม่ทางการถือว่าส่งผลทั้งสิ้น บางคนรู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานคนนี้ไม่เป็นมิตร ไม่ชอบขี้หน้า ก็ไม่อยากจะทักทายด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า “การแสดงความสุภาพและเป็นผู้เริ่มต้นบทสนทนาก่อน” มันทำให้คุณดูเป็นคนมีวุฒิภาวะที่ดีและมีความเป็นมิตร

สิ่งที่ควรทำ: ฝึกให้ตนเองเป็นผู้เริ่มต้นกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ” หรือเริ่มต้นทักทายว่า “เป็นอย่างไรบ้างช่วงนี้ สบายดีไหม?”


2. เป็นผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียว

นักจิตวิทยาชื่อดัง Carl Rogers กล่าวว่า “การฟังอย่างกระตือรือร้น (Active listening) เป็นหัวใจสำคัญของทุกความสัมพันธ์ที่ดี สอดคล้องกับการศึกษาล่าสุดพบว่าการฟังช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้

สิ่งที่ควรทำ: ปรับมายเซ็ตตนเองเกี่ยวกับการฟัง และลองตั้งเป้าหมายกับตนเองว่า “ในการสนทนานี้ฉันจะพูดเป็นคนสุดท้าย”


3. ความคิดและจิตใจ..ไม่อยู่กับคนตรงหน้า

การศึกษาหลายชิ้นพบว่า ในการสนทนาส่วนใหญ่เราไม่ได้อยู่กับสภาวะปัจจุบันตรงหน้าดีเท่าที่ควรนัก สมองของเรามักวิ่งไปคิดเรื่องนู้นทีเรื่องนี้ที หรือจดจ่อแต่จะหาคำพูด คำถามมาพูดสวน โดยไม่ได้ฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารอยู่

สิ่งที่ควรทำ: ใช้เทคนิคการดึงดูดผู้พูดด้วยภาษากาย — สบตา พยักหน้า และตอบสนองต่อผู้พูดบ้างเป็นระยะๆ /ในทางจิตวิทยาพบว่า การใช้ภาษากายตอบรับอยู่เป็นระยะๆ ช่วยสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งช่วยเพิ่มระดับความรู้สึกปลอดภัยต่อคู่สนทนาเพิ่มมากขึ้น


4. ไม่เชิญชวนให้อธิบายเพิ่ม

เราทุกคนชอบที่จะพูดคุย ดังนั้น การที่เราชวนให้ผู้พูดได้พูดต่อจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้พูดรู้สึกได้ว่า คุณกำลังสนใจบทสนทนาตรงหน้าจริงๆ และข้อดีอีกอย่างคือ ยิ่งคุณปล่อยให้คนอื่นพูดมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งเรียนรู้ตัวตนที่เกี่ยวกับพวกเขามากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการชนะใจพวกเขาได้

สิ่งที่ควรทำ: ใช้คำพูดกระตุ้น เช่น “เรื่องเป็นอย่างไรต่อนะ…” “อันนี้น่าสนใจ อยากให้เล่าต่อเกี่ยวกับ…”


5. ขาดความสงสัยใคร่รู้

แทนที่การคิดหาคำพูดมาตอบหรือหาคำพูดสวยหรูมาให้เกิดความประทับใจ ให้เปลี่ยนเป็น “ถามคำถามบางอย่างที่เฉพาะเจาะจงกับบทสนทนาที่กำลังคุยกันอยู่นั่นแทน” การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 2017 พบว่าเมื่อคุณถามคำถามผู้คน พวกเขามีแนวโน้มจะคิดว่าคุณเป็นคนที่น่าคบหาพูดคุยด้วยเพิ่มขึ้น

สิ่งที่ควรทำ: ใช้เทคนิคถามคำถามที่ “ต่อยอด” ในเรื่องเดิมไปเรื่อย ๆ เช่น “คุณคิดอย่างไรกับ…?” “หากเป็นคุณจะทำอย่างไร…?”


6. ไม่มีการชมเชยเลย

การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า “การได้รับคำชม ให้ความรู้สึกเหมือนกับการได้รับรางวัลทางการเงิน” ดังนั้น ผู้คนจึงมักจะมองหาคนที่สามารถให้คำชมเชยกับพวกเขาได้

สิ่งที่ควรทำ: กล่าวคำชมบ้างเป็นระยะๆ โดยคำชมเชยควรมุ่งเน้นไปที่ทักษะหรือความสามารถบางอย่างของคู่สนทนา มากกว่าการกล่าวชมรูปลักษณ์ภายนอก เช่น “ในประเด็นนี้คุณวิเคราะห์ได้” หรือ “ผมชอบที่คุณเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วนมาก” หรือ “ใช้คำแบบนี้ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายมากเลย” คำชมแบบนี้จะสร้างความประทับใจได้มากกว่า และช่วยทำให้เขาอยากคุยกับคุณมากขึ้นด้วย


7. ไม่สนใจคนที่อยู่รอบข้างเลย

เหตุการณ์นี้อาจพบบ่อยในที่ประชุม คนที่มักเงียบขรึม ไม่ค่อยพูด หรือคนที่มีไอเดียดีๆ แต่มักโดยกลบด้วยนักพูดตัวยงในที่ประชุม ไม่ออกความคิดเห็นอะไร

สิ่งที่ควรทำ: การใช้คำถาม เช่น “คุณ…มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้บ้าง?” “อยากฟังไอเดียจากคุณ…” วิธีการนี้ส่งผลดีในการกระตุ้นให้ทุกคนได้มีเข้ามามีส่วนร่วม และยังแสดงว่าคุณให้ความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน


8. มีแต่คำพูดเชิงลบ

การศึกษาจาก Penn State research ในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 20 – 65 ปี เกี่ยวกับคำพูดต่างๆ ที่ใช้แสดงอารมณ์ ข้อสรุปจากการศึกษาพบว่า “ผู้คนรู้จักคำที่แสดงอารมณ์เชิงลบมากกว่าคำเชิงบวกหรือคำที่เป็นกลาง สัดส่วนคือ รู้จักคำเชิงลบ 50 เปอร์เซ็นต์ เชิงบวก 30 เปอร์เซ็นต์ และคำที่เป็นกลาง 20 เปอร์เซ็นต์” ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่เราจะมักจะใช้คำพูดแสดงอารมณ์ในเชิงลบมากกว่า

สิ่งที่ควรทำ: ในการใช้ชีวิตคนเรามักแสดงหาความสุขหรือความรู้สึกเชิงบวกมากกว่าความรู้สึกเชิงลบ ดังนั้น ในการสนทนาคุณควรจะเพิ่มคำพูดเชิงบวกให้มากเข้าไว้เพื่อเพิ่มระดับความสัมพันธ์ที่ดี เช่น “เรื่องนี้น่าสนใจ” “อันนี้เยี่ยมมาก” “ผมชอบประเด็นนี้”


9. ลืมที่จะกล่าวและรู้สึก “ขอบคุณ”

คำว่า “ขอบคุณ” เป็นสองคำสั้นๆ ที่มีน้ำหนักมากในความสัมพันธ์ การศึกษาจาก Harvard Medical School พบว่า “ผู้จัดการที่ขอบคุณทีมงานของพวกเขาอยู่เป็นระยะๆ พบว่าพนักงานมีระดับแรงจูงใจมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษาอีกชิ้นพบว่าการขอบคุณสามารถเพิ่มระดับความสัมพันธ์ได้ สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นเกี่ยวกับคู่รักพบว่า คู่รักที่แสดงความรู้สึกขอบคุณอยู่เสมอๆ มีระดับความสุขและความสบายใจในความสัมพันธ์มากขึ้น

สิ่งที่ควรทำ: เพิ่มการพูดคำว่า “ขอบคุณ” *ข้อสำคัญคือ ไม่ใช่แค่พูดว่าขอบคุณ แต่คุณควรรู้สึกขอบคุณจริงๆ ด้วย


บทสรุป — “คำพูด วลี และวิธีการใช้คำ” ของตัวเราในแต่ละวันส่งผลต่อมุมมองและความรู้สึกที่ผู้อื่นมีต่อคุณได้ ดังนั้น ในทั้ง 9 ข้อนี้ ใครที่ยังขาดหรือไม่เคยทำข้อไหน นี่อาจเป็นเวลาที่ดีที่เราจะมาเพิ่มทักษะในข้อนั้นๆ ขึ้น


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://www.cnbc.com/2022/03/02/avoid-these-communication-mistakes-if-you-want-to-be-more-likable-says-speech-and-words-experts.html
www.mendetails.com/life/5-for-charismatic-conversation-คุยให้น่าดึงดูดใจ/
Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search