คำว่า Soft Power หรือ “อำนาจอ่อน” (wikipedia:) เป็นกระแสที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงนี้ โดยความหมายของคำนี้คือ “ความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของผู้คนในสังคม จนเกิดกระแสอยากทำตาม เช่น กระแสข้าวเหนียวมะม่วงฟีเวอร์ จากแร็ปเปอร์สุดฮอต “มิลลิ” ที่ขึ้นโชว์ในเทศกาลดนตรี “Coachella”
เมื่อมองย้อนกลับมาในมุมขององค์กร หากเราพูดถึงเรื่องของ “อำนาจ” (Power) จะประกอบไปด้วย 3 ตัวสำคัญ คือ Power of Position, Influence (Soft Power) และ Persuasion คำเหล่านี้อาจไม่ได้ใหม่สำหรับเรา แต่หลายคนอาจจะสับสนในความหมาย และหากจะแปลให้เป็นคำสั้นๆก็จะเลยเถิดสับสนกันไปใหญ่ ทางเพจ A Cup of Culture ของเคลียร์ความเข้าใจให้คุณผู้อ่านทุกท่าน ดังนี้
🔸Power of Position 🔸
คือ ความสามารถที่จะทำให้เราได้สิ่งที่เราต้องการผ่านการใช้สายบังคับบัญชา เรามีอำนาจโดยที่องค์กรให้เราและเราสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง (แต่เหมาะสมรึเปล่า อันนี้อีกเรื่อง) เช่น เจ้านายของท่านมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติงบประมาณ/จ้างพนักงาน/เลื่อนตำแหน่ง/ประเมินผลงานท่าน หัวหน้าท่านไม่จำเป็นต้องโน้มน้าว หรือชักจูงเพื่อจะทำสิ่งเหล่านั้น เค้าสามารถทำได้เลย เช่น CEO ประกาศ ปีนี้ลด cost 15% หน้าที่ของฝ่าย production ต้องไปทำมา โดยที่ CEO ไม่ต้องไปโน้มน้าวหรือต่อรองอะไร
🔸Influence (Soft Power) 🔸
คือ การทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการโดยไม่ได้ใช้คำสั่ง หรือการบังคับ เราไม่สามารถไปสั่งคนที่เราไม่มีอำนาจไปสั่งเขาได้ Influence (Soft Power) สามารถทำโดยใครก็ได้ เช่น วิศวกรท่านหนึ่งซึ่งไม่ได้เป็นหัวหน้าใคร แต่มี Influence (Soft Power) ต่อหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเพราะเป็นคนมีความสามารถที่โดดเด่นในด้านความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาซึ่งทุกๆคนชื่นชม เวลาวิศวกรท่านนี้พูดอะไรทุกคนจะฟังและยอมรับพร้อมทำตาม หรือผู้นำบางท่านแม้มีอำนาจแต่ก็เลือกใช้ Influence (Soft Power) แทน Power of Position ก็มีมาก เช่น ผู้จัดการฝ่ายไอทีท่านหนึ่ง พบว่าหนักงานในทีมไม่ยอมใช้วันลากัน เพราะจะได้สิทธิประโยชน์เป็นตัวเงินทดแทน เขาจึงใช้วิธีการพูดคุยและขอความร่วมมือให้ใช้วันลา เพราะกลัวว่าอาจมีผลต่อสุขภาพและเกิดเจ็บป่วยพร้อมๆกัน ซึ่งจะสร้างปัญหาใหญ่กว่า
🔸Persuasion 🔸
คือ การทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการโดยไม่ได้ใช้คำสั่งเช่นกัน แต่ต่างจาก Influence (Soft Power) ตรงเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารชิ้นหนึ่งในการจูงใจให้คนคล้อยตาม เช่น การหว่านล้อมด้วยเหตุผล การใช้ศิลปะการพูดหรือแม้กระทั่งการใช้เสน่ห์ดึงดูด คนบางอาชีพใช้ Persuasion อยู่ทุกวัน เช่น เซลหรือคนโฆษณา ตัวอย่างในองค์กรเช่น CEO พูดโน้มน้าวบอร์ดให้อนุมัติโครงการ ผู้จัดการพูดโน้มน้าวพนักงานให้ตอบรับการใช้ระบบ paperless หรือพนักงานคนหนึ่งพยายามพูดหว่านล้อมเพื่อนร่วมงานให้อยู่ต่อหลังเลิกงานช่วยงานของตน
การใช้ Power of Position และ Influence (Soft Power) อยู่ในระดับเดียวกันซึ่งผู้นำสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบไหนเพื่อให้งานสำเร็จและได้ใจทีมงาน โดย Persuasion เป็น เครื่องมือชิ้นหนึ่งภายใต้ Influence (Soft Power) คำถามที่น่าสนใจคือ “หากเราไม่ได้เป็นหัวหน้า ไม่ได้มีลูกน้องให้ใช้ Power เราจะสามารถใช้ Influence (Soft Power) ได้ไหม??
คำตอบคือ “ทำได้!!” และทางเพจเราก็สนับสนุนให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้ทดลองฝึกฝนกับตนเองด้วย ผ่าน 5 เทคนิคการใช้ Influence (Soft Power) ในองค์กร (หรือในชีวิตประจำวัน) ดังนี้
🚩 1. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
“ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้มนุษย์มีความสุขมากขึ้น” ข้อสรุปจากนักวิจัยฮาร์วาร์ดที่ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างมามากกว่า 75 ปี การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนคนหนึ่งก็เปรียบเหมือนเรามี Credit ที่ดีต่อเขา เมื่อเรามี Credit ที่ดีกับใครบางคนก็ย่อมจะมีผลในเชิงจิตวิทยาว่าเขาติดค้างเราอยู่ การสร้าง Credit นั้นสามารถทำได้ทั้งคนที่เป็นลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งเจ้านายของเรา หรือแม้กระทั่งคนนอกเช่นลูกค้าหรือคู่ค้า
ตัวอย่างเช่น ด้วยการที่เจ้านายกำลังกุลีกุจอในการทำ Presentation ให้กับ Top management ต้นสัปดาห์หน้า คุณวินเลยต้องช่วยทำ สไลด์ในช่วงสุดสัปดาห์ให้ออกมาปังๆ และแน่นอนเจ้านายติดค้างคุณวินอยู่แม้ไม่ต้องเอ่ยถึงเพราะคุณวินช่วยทำงานส่วนตัวของนายและช่วนให้นายได้ผลงาน โดยวิธีนี้จะได้ผลเป็นอย่างดีก็ต่อเมื่อเราต้องรู้ให้ได้ว่าคนที่เราต้องการ Influence (Soft Power) เค้าให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรเพื่อเราจะไปช่วยให้เขาทำงานได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยให้ไปถึงเป้าหมายเลย
🚩 2. สร้างตนเองให้เป็น Expert
แม้ไม่มี Power of Position ในมือ แต่หากท่านมีความ Expert ชำนาญและเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง ความ Expert นี้ คือ หัวใจหรือแหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่ท่านจะสามารถสร้าง Soft Power ให้เกิดขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น คุณน้อยหน่าซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการแต่มีความชำนาญด้านการใช้ Data Analytics แบบหาตัวจับยาก ทุกคนต่างต้องการตัวเพื่อพูดคุยขอความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งไหว้วานให้ทำงานให้ ซึ่งเท่ากับคนเหล่านั้นได้มาอยู่ใน Influential footprint ของคุญน้อยหน่าเรียบร้อยแล้ว
คำถามหนึ่งข้อที่สำคัญที่สุดตอนนี้ คือ “คุณมีความเชี่ยวชาญที่เป็นที่ต้องการเหล่านั้นหรือไม่??” หากยังไม่มีการพิจารณาเพื่อเลือกขึ้นมาซักหนึ่งเรื่อง และลงมือสร้างมันขึ้นมา อาจเป็นบันไดขั้นสำคัญที่พาท่านไปสู่ความสำเร็จในองค์กรได้
🚩 3. การช่วยให้อีกฝ่ายเห็นประโยชน์ในมุมมองที่เขาเองคิดไม่ถึง
ปัญหาหนึ่งๆ อาจมองได้หลายมุมมอง (Frame of reference) หากท่านสามารถจูงใจให้อีกฝ่ายมองในมุมเดียวกับท่านได้ ท่านก็จะได้ประโยชน์จากเรื่องนั้น และนั้นแปลว่าคุณได้สร้าง Soft Power เล็กๆ ให้เกิดขึ้นแล้ว
ตัวอย่างเช่น คุณตาลผู้จัดการฝ่าย HR กำลังหาทางออกให้คุณทิมที่กำลังมีปัญหาเรื่องคนไม่พอกับงานที่มีอยู่ แต่อย่างที่ทราบกันดีในบริษัทว่า Top management สั่งเบรคเรื่องการเพิ่มคนทั้งหมด แทนที่จะทำตามที่คุณทิมต้องการ คุณตาลเลือกที่จะเปลี่ยนมุมมองของคุณทิมที่หัวชนฝาในเรื่องเพิ่มคนมาที่ผลลัพธ์ที่คุณทิมต้องการแทนก็คือเรื่องของ Productivity ปัญหาไม่ได้มาจากการที่คนไม่พอ แต่อาจมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้นและใช้คนน้อยลง ซึ่งคุณตาลอาสาตัวที่จะลงมือช่วยเรื่องนี้ด้วย การปรับเปลี่ยนมุมมองอาจช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่า และช่วยอีกฝ่ายเห็นประโยชน์ในมุมที่ตัวเองคิดไม่ถึง
🚩 4. สร้างเครือข่ายการสนับสนุน
เรื่องที่น่าเสียดายที่สุดที่เกิดขึ้นในองค์กรหนึ่งๆ คือ “การที่คนมีไอเดียดีๆ เกิดขึ้น แต่ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อ” อาจด้วยเหตุผลว่า… ท่านไม่มีพวกพ้องหรือช่องทางในการนำเสนอไอเดียนั้นๆ หรือความสัมพันธ์ส่วนบุคคลที่มีร่วมกันของท่านไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร
คำถามคือ ท่านคิดว่าคนเหล่านั้นมี Influence (Soft Power) ต่อผู้อื่นหรือไม่? และหากมีพวกเขาพร้อมสนับสนุนท่านหรือเปล่า? ถ้าหากพร้อม… สิ่งที่ท่านควรทำคือการทำตัวให้น่าไว้วางใจต่อเขาเหล่านั้น หมั่นช่วยเหลือหรือคอยสนับสนุนเมื่อถูกร้องขอ นำเสนอไอเดียดีๆและหาเป้าหมายที่มีร่วมกัน
🚩 5. ทักษะการสื่อสารเพื่อโน้มน้าว
ต้องยอมรับว่า ” #คนที่สื่อสารได้ดีย่อมมีชัยไปแล้วครึ่งหนึ่งในชีวิตการทำงาน ” การที่สามารถใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อชี้นำความคิด ความเชื่อและนำไปสู่การลงมือปฏิบัติย่อมเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จในการใช้ Soft Power ต่อผู้อื่น
แต่การพูดเก่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จากงานวิจัยด้านการขายของ Dr.Niel Rackham ผู้เผยแพร่เทคนิคการขาย SPIN Selling ที่นักขายทั่วโลกยึดเป็นแนวปฏิบัติ ยืนยันว่านักขายที่ประสบความสำเร็จคือ #คนที่พยายามทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าผ่านการฟังและการใช้คำถามที่มีประสิทธิภาพด้วยต่างหาก การฟังให้เข้าใจถึงปัญหาที่ประสบอยู่และเป้าหมายที่ต้องการจะไปถึงของคนที่ท่านกำลังจะโน้มน้าวแล้วจึงนำเสนอทางออกในรูปแบบของ Benefit ที่เขาจะได้รับ จะช่วยให้ท่านนำความคิดของอีกฝ่ายได้เป็นอย่างดี
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.

