ล่าสุดมีงานวิจัยชิ้นนึงที่น่าสนใจอยากจะมาเล่าให้ฟัง งานวิจัยนี้เริ่มต้นในช่วงแรกของโควิด 19 หรือประมาณ 3 ปีที่แล้ว โดยนักวิจัยพบว่าผู้นำที่มีความสามารถรอบตัวสูงคือผู้นำที่สร้างผลลัพท์ให้กับองค์กรได้ดีที่สุด ตั้งแต่ในด้านของ emplotee engagement, agility, productivity และประสิทธิภาพการทำงานอื่น ๆ โดยรวม
โดยข้อสันนิษฐานคือการที่โลกมีความเป็น VUCA มากขึ้น (ยุคที่อะไร ๆ ไม่แน่นอนสูง) ความสามารถในการอ่านสถานการณ์ และปรับตัวไปตามความจำเป็นของสิ่งที่ต้องทำกลายเป็นทักษะที่สำคัญมาก ๆ ในยุคแบบนี้ เช่น ในบางสถานการณ์ต้องการให้ผู้นำเข้ามาคุมให้อยู่ แต่บางครั้งผู้นำควรที่จะปล่อยพวงมาลัยแล้วให้ทีมจัดการ และผู้นำที่ปรับโหมดไปมาได้อย่างเชี่ยวชาญนี่แหละ คือคนที่จะพาองค์กรผ่ายุค VUCA ได้ดีที่สุด
สังเกตได้ว่าสองทักษะที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าตรงข้ามกัน อันหนึ่งเป็นการควบคุมอย่างชัดเจน ในขณะที่อีกด้านนึงคือการกระจายอำนาจตัดสินใจ แต่กระนั้นก็เป็นสองทักษะที่เติมเต็มกันได้อย่างดีเหมือนหยินหยางนั่นยิ่งที่ทำให้ผู้นำที่สามารถมีทั้งสองทักษะนี้อยู่ในตัวคนเดียว และปรับใช้ไปมาได้ตามความเหมาะสมนั้นคือผู้นำที่ทุก ๆ องค์กรต้องมี และนั่นคือนิยามของผู้นำที่มีทักษะรอบด้าน หรือ versatility
———————-
ผู้นำที่สามารถมองเห็นภาพรวมและวางแผนได้อย่างกว้างไกล ในขณะเดียวกันพร้อมที่จะขยับมาดูรายละเอียดของแผนการทำงาน หรือผู้นำที่มีทักษะคู่ตรงข้ามกันในลักษณะแบบนี้คือผู้นำแบบที่หายากมาก ๆ โดยจากงานวิจัยที่ศึกษา senior manager กว่า 24,000 คนทั่วโลก พบว่ามีเพียง 10% เท่านั้นที่เพื่อนร่วมงาน และลูกทีมระบุได้ว่ามีความสามารถรอบด้าน
ผู้บริหารส่วนใหญ่มักจะถนัดในด้านใดด้านหนึ่งของสองขั้วที่แตกต่างกัน นั่นทำให้ผู้นำระดับสูงหลายคนมีจุดบอดที่ชัดเจนในการทำงาน และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้องค์กรปรับตัวได้ยากในยุคโควิด
แต่ในส่วนของผู้นำส่วนน้อยที่มีความสามารถรอบด้านนั้นนักวิจัยพบว่าเป็นกลุ่มที่มีประวัติกระจัดกระจายกันอย่างมาก คือพวกเขาเคยผ่านการทำงานที่หลากหลาย กับคนหลายประเภท และมักจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่บ่อย ๆ รวมถึงเป็นกลุ่มที่ชอบรับงานที่ไม่ตรงกับความถนัดของตัวเองมาทำในหลาย ๆ โอกาส
ด้วยความที่องค์ประกอบของการเป็นผู้นำที่รอบด้านนั้นต้องอาศัยหลายทักษะเข้าด้วยกัน ความรอบด้านของผู้นำนั้นจึงถูกจัดว่าเป็น Meta-competency หรือการที่มันไม่ใช่แค่ competency ใดอันใดอันหนึ่ง แต่เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่ผู้นำสามารพัฒนาทักษะที่แตกต่างกันเพื่อปรับใช้ร่วมกันและเติมเต็มกันและกัน นั่นทำให้สำหรับความรอบด้านในฐานะทักษะแล้วมันคือสิ่งที่ทำให้ 1+1 กลายมากกว่า 2 ได้
เราจะพัฒนามันได้อย่างไร ?
ในการพัฒนาความรอบด้านของผู้นำนั้นมีเส้นทางที่หลากหลายให้แต่ละบริบทของตัวเอง แต่ผู้วิจัยก็ได้สรุป 3 หลักการสำคัญไว้ดังนี้ คือ
1. รู้จักตัวเอง
– ไม่ใช่แค่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร แต่คือการที่ผู้นำต้องรู้ว่าโดยธรรมชาติแล้วตัวเองมักจะมีพฤติกรรมไปในทิศทางไหน โดยอาจจะใช้วิธีสอบถามกับคนที่ทำงานด้วยใกล้ตัว เช่น เพื่อนร่วมงาน ลูกทีม หรือหัวหน้า นอกจากนั้นก็สามารถใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพต่าง ๆ เป็นตัวช่วยได้
2. พัฒนารอบด้าน
– เมื่อเข้าใจตัวเองมากแล้ว สิ่งที่ควรตามมาคือ การพัฒนาความรอบด้านทำได้โดยการเรียนรู้สิ่งที่ตรงกันข้ามกับธรรมชาติของเรา ฝึกทำอะไรที่เรามักจะเลี่ยงไม่ทำ รวมถึงต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันไม่ให้จุดแข็งของเรากลายมาเป็นจุดบอดจากการใช้ซ้ำมากเกินไป เราสามารถฝึกได้จากการรับงานที่ท้าทายตัวเองมากขึ้นที่ฝืนให้เราต้องออกจาก comfort zone และก็ต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไปด้วย mindset ของการเปิดรับเพื่อที่จะซึมซับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่
3. อย่ายึดติด
– ผู้นำที่ขาดความรอบด้านหลายคนนั้นติดกับดักของการชอบระบุตัวเองว่าเป็นคนแบบใดแบบหนึ่ง เช่น “เป็นสายพุ่งชน ไม่ชอบประณีประนอม” หรือ “เชื่อในทีม ไม่ชอบต้องมาคุม” จะเห็นได้ว่าคำพูดแบบนี้คือการยึดติดกับตัวเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และด้อยค่าทักษะอีกด้านไปโดยสิ้นเชิง ในขณะผู้นำที่มีความรอบด้านมักจะมีการระบุตัวเองในรูปแบบที่เติมเต็มกันและกัน เช่น “เป็นคนเด็ดขาดที่เชื่อในพลังของทีม” แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการมองเห็นการทำงานร่วมกันของสองคุณลักษณะที่แตกต่างกัน และวิธีคิดแบบนี้ช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะได้อย่างรอบด้าน
ทั้งหมดนี้คือ 3 หลักการสำคัญของการเป็นผู้นำที่รอบด้าน เพราะความรอบด้านเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้อีกแล้วในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะสำหรับผู้นำองค์กร คนที่มีทักษะนี้จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพที่สุดและพร้อมพาองค์กรก้าวผ่านไปได้ทุกสถานการณ์
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporateculture
organizationalculture
.
.

https://hbr.org/2023/03/it-takes-versatility-to-lead-in-a-volatile-world
