คำว่า “Decentralize” หรือ “การกระจายศูนย์” เป็นคำที่เราเริ่มได้ยินมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการพัฒนาองค์กร เช่น ในด้านของการ Decentralized Finance หรือ Defi ที่นำโดยเทคโนโลยี Cryptocurrency มาปรับใช้ เป็นต้น นอกจากนั้นการ Decentralize ยังถูกนำไปปรับใช้กับรูปแบบของการทำงาน เช่น กระแสวัฒนธรรมองค์กรแบบ Netflix ที่ให้อิสระ และอำนาจการตัดสินใจกับพนักงานในทุก ๆ ระดับ เป็นต้น
แต่แน่นอนว่าการ Decentralize ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และสำหรับในด้านของการทำงานก็เช่นกัน เรามักคุ้นเคยกับการตัดสินใจจากเบื้องบนส่งต่อลงมายังคนทำงานเบื้องล่าง และกระจายตัวออกไปจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการหรือคนที่อยู่ใกล้ชิดลูกค้าที่สุด แต่วิธีการแบบเดิมนี้ส่งผลให้มันมีช่องหว่างระหว่างการตัดสินใจกับการลงมือทำอยู่
ในทางทฤษฎีแล้วการกระจายศูนย์กลางการตัดสินใจนั้นจะช่วยให้องค์กรเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการตัดสินใจแบบนี้อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุก ๆ สถานการณ์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรที่ควรจะกระจายศูนย์ หรือการตัดสินใจแบบไหนที่ควรจะให้ผู้นำตัดสินใจ ? ในการที่จะตอบคำถามนั้นเราต้องขอเริ่มต้นจาก 4 มิติที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ ได้แก่ Responsiveness (ความเร็วในการตอบสนอง) , Reliability (ความน่าเชื่อถือ) , Efficiency (ประสิทธิภาพ) และ Sustainability (ความยั่งยืน) โดยองค์กรควรพิจารณาทั้ง 4 มิตินี้เพื่อระบุว่าในแต่ละส่วนขององค์กรเรามิติไหนสำคัญที่สุด
.
>>>
มิติที่เน้น | Responsiveness | Reliability | Efficiency | Sustainability |
ควรที่จะ | Decentralization | Centralization | Centralization | Centralization |
เหตุผล | ความรวดเร็ว | รักษามาตรฐาน | มองภาพรวม | ลด Bias |
ส่วนงานที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว
การตอบสนองที่ทุกองค์กรมองหาคือการที่พนักงานสามารถทำในสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีโอกาส หรือวิกฤติเข้ามา และเมื่อที่มาของโอกาส หรือวิกฤติ (เช่น ลูกค้า คู่แข่ง คู่ค้า พนักงาน หรือ Regulators) เกิดขึ้นในระดับของการปฏิบัติงาน โดยที่แต่ละฝ่ายมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน หรือพูดง่าย ๆ คือ กรณีที่คนหน้างานรู้สถานการณ์ดีที่สุด การให้อำนาจการตัดสินใจ และความเป็นเจ้าของกับบุคคลเหล่านั้นคือวิธีการที่ดีที่สุดที่เราจะได้การตอบสนองที่รวดเร็ว และถูกต้อง เช่น การให้พนักงานหน้าร้านตัดสินใจได้เต็มที่ในการตอบสนองลูกค้าในสาขาร้านกาแฟ เมื่อทุกคนเข้าใจตรงกันว่าความพึงพอใจของลูกค้าต้องมาก่อน
ส่วนงานที่ต้องรักษามาตรฐาน
ในงานบางประเภทจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับกฏเกฑณ์ข้อบังคับต่าง ๆ ตามแต่ละส่วน เช่น นโยบายภาครัฐ มาตรฐานสากล ระบบการผลิตต่าง ๆ เช่นงานในสายของระบบ HRM สายการผลิตโรงงาน กระบวนการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในสายงานนี้ช่วยให้กระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามเป้าหมายหลักขององค์กรได้ และทำให้ผลลัพธ์นั้นมีความสม่ำเสมอ ในกรณีแบบนี้องค์กรควรมีหน่วยงานที่คอยกำกับดูให้ให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามมาตรฐาน และนั่นทำให้กรณีแบบนี้การบริหารแบบ Centralized จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าให้สิทธิการตัดสินใจกับคนในหน้างานเพราะในบางครั้งกรณีเหล่านี้ไม่ได้มีพื้นที่ให้กับการตัดสินใจด้วยซ้ำ เช่นเมื่อต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐ หรือมาตรฐานสากล
ส่วนงานที่เน้นประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ
บริบทนี้เป็นบริบทที่การบริหารแบบ Centralize จะเหมาะที่สุด เพราะเมื่อมีการต้องประสานการทำงานกัน และต้องอาศัยความถนัดจากหลาย ๆ หน่วยงาน การตัดสินใจอย่างไร้ศูนย์กลางจะทำให้การประสานเกิดขึ้นได้ยาก และนำมาซึ่งการทำงานที่ซ้ำซ้อน รวมไปถึงการที่บางหน่วยงานต้องทำงานที่ไม่อยู่ในขอบเขตที่ทำได้ดี และนำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ดังนั้นเมื่อองค์กรต้องอาศัยการทำงานร่วมกันจากหลาย ๆ ฝ่าย การมีหน่วยงานตรงกลางที่คอยตัดสินใจเพื่อให้ทุกคนทำงานได้สอดคล้องกันจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับองค์กร เพราะคนตรงกลางจะมองเห็นภาพรวม ลดการทำงานซ้ำซ้อน และสามารถลดขั้นตอนการทำงานที่เกิดจากการกระจายตัวได้
เมื่อต้องเน้นความยั่งยืนในระยะยาว
ส่วนสุดท้ายนี้คือในบางครั้งที่เราต้องการตัดสินใจในเรื่องระยะยาว
เช่น ทิศทางขององค์กร หรือการขยายฐานลูกค้า การตัดสินใจประเภทนี้ถ้าเรากระจายมันออกไปจากศูนย์กลาง มักจะมีโอกาสที่มันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น สาเหตุหลัก ๆ คือการที่การตัดสินใจเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งที่ดีต่อองค์กรในระยะยาว แต่อาจจะส่งผลเสียในระยะสั้นโดยเฉพาะกับคนที่อยู่หน้างาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในด้านของความเคยชินที่อาจจะทำให้ไม่เห็นความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนไปสู่วิธีที่ดีกว่า การตัดสินใจในด้านระยะยาวจึงต้องอาศัยคนที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้างานสักเท่าไหร่ และมีความห่างออกมามากพอที่จะเห็นข้อดีข้อเสียของมันได้อย่างชัดเจน
เพราะเมื่อเราพูดถึงเรื่องขององค์กรแล้วนั้น มันเป็นเรื่องที่ในแต่ละที่ก็มีความเฉพาะของตัวเอง ดังนั้นวิธีการใดวิธีการหนึ่งอาจจะไม่สามารถที่จะตอบโจทย์องค์กรเราได้ซะทีเดียว และรูปแบบการตัดสินใจขององค์กรก็เช่นกันที่จะต้องเลือกปรับใช้ให้เข้ากับองค์กร และทีมของเราที่สุด และในยุคที่เรากำลังมุ่งหน้าไปยังโลกของการ Decentralization นั้นนำมาซึ่งคำถามมากขึ้นถึงข้อดี-ข้อเสียของการกระจายอำนาจ และก็ยังคงเป็นหัวข้อหนึ่งที่แต่ละองค์กรต้องหาทาง Balance ทั้งสองด้านเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดกับองค์กรของเรา
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>

.
.
>>>
ข้อมูลอ้างอิง
https://hbr.org/2017/12/when-to-decentralize-decision-making-and-when-not-to
.
.
>>>
