ตลอดสองปีที่ผ่านมาเป็นเหมือนสิ่งที่ช่วยเตือนสติให้ทุก ๆ คนเห็นภาพของความจำเป็นในการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับสิ่งที่คิดไม่ถึง แต่เดี๋ยวก่อน! นี่อาจเป็นเพียงแค่การอบอุ่นเครื่องเท่านั้น เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะมีวิกฤติ หรือความเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ อะไรเข้ามาอีกบ้าง
เมื่อเราพูดถึงอนาคต สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนรู้กันคือมันเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคง และไม่แน่นอน และความแน่นอนอย่างหนึ่งคือมันจะยิ่งเป็นอย่างนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านของชีวิตส่วนตัว และในด้านขององค์กรที่แค่ปัจจุบันก็มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่การโดน Disrupt, Digital transformation แล้วตอนนี้ก็มี the Great Resignation หรือสังคมเองก็มีในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจ หรือการเมืองต่าง ๆ และความไม่แน่นอนทั้งหมดนี้ต่างก็ส่งผลต่อกันแและกันไม่มากก็น้อย
การพยายามคาดเดาว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นโดยพิจารณาปัจจัยทั้งหมดนี้ให้ได้นั้นเป็นเรื่องที่อาจจะเรียกได้ว่าเปล่าประโยชน์ เพราะมันไม่ต่างจากการดูดวงสักเท่าไหร่นัก แต่สิ่งที่องค์กรสามารถทำได้คือการสร้างความพร้อมในการที่จะรับมือกับรูปแบบความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้เยอะที่สุด เพราะเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะเตรียมความพร้อมไม่ใช่เมื่อเวลาที่ความเปลี่ยนแปลงมันมาถึง แต่ควรเป็นช่วงก่อนที่มันจะมา เพราะเมื่อความเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้วมันมักจะมาพร้อมกับความวุ่นวายถ้าหากเราไม่พร้อม ทั้งการที่ต้องรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้า และเป็นการยากขึ้นที่จะมองเห็นทิศทางภาพใหญ่ขององค์กรเมื่อเรากำลังต้องง่วนอยู่กับการก้มหน้ามองทางไม่ให้สะดุดล้ม ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสี่ยง และปัญหาแทรกซ้อนอีกมากมาย ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะเตรียมพร้อมคนของเราคือช่วงเวลาที่คลื่นลมกำลังสงบก่อนที่พายุจะมาถึง
===================
และนี่คือที่มาของวันนี้ที่ทางเราพบกับบทความที่น่าสนใจของ Havard Business Review ที่พูดถึง 4 ขั้นตอนที่ผู้นำสามารถทำได้เพื่อพาให้องค์กรเติบโตได้ดีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
🚩 1. การประเมินความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
การประเมินความพร้อมขององค์กรในการก้าวเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบจะช่วยเป็นพื้นฐานต่อการปรับเปลี่ยนในอนาคตโดยขั้นตอนคร่าว ๆ ในการสำรวจตรงนี้ คือ
1) วิเคราะห์ข้อมูลในอดีตว่าเวลามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหน่วยงานในองค์กรที่มักจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมันง่ายที่จะตีกรอบความเปลี่ยนแปลงเป็นส่วน ๆ ไป แต่นั่นทำให้เราพลาดที่จะมองเห็นความเชื่อมโยงที่ปัจจัยต่าง ๆ จะส่งผลซึ่งกันและกัน การวิเคราะห์ย้อนหลังอย่างน้อย 18 เดือนเพื่อลองหาดูว่ามีหน่วยงานไหนของเราบ้างที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าทีมอื่น เพื่อที่จะมองหาจุดเรียนรู้จากกันและกันได้
2) หาว่าความเปลี่ยนแปลงแบบไหนที่ท้าทายที่สุด เพราะมนุษย์ชอบความเปลี่ยนแปลงที่เป็นคนเลือกเอง เช่น การเปลี่ยนงาน เปลี่ยนความสัมพันธ์ เปลี่ยนทรงผม และกลัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การโดนไล่ออก การโดนทิ้ง หรือปัญหาสุขภาพ และสิ่งเหล่านี้มักจะเข้ามามีผลต่อการปรับตัวในโลกการทำงานเช่นกัน
3) มองหาปัจจัยที่กำลังขัดขวางความเปลี่ยนแปลง โดยสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่:
- ความเครียด หรือการ Burn out
- การขาดความไว้วางใจ
- วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ให้พื้นที่กับความผิดพลาด
🚩 2. เปลี่ยน Mindset ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลง
กับดักหนึ่งที่ผู้บริหารมักพบเจอคือการที่มองว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่จัดการได้ ควบคุมได้ และจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในหัว แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมักจะไม่เป็นเช่นนั้น และในฐานะผู้นำเราจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองนี้ก่อนที่จะคิดถึง Strategy
เพราะการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ในเวลาเดียวกัน จึงต้องการทั้งแผนที่ดี และมุมมองที่ดีด้วย และถ้าเรามองว่าทุกอย่างจะไม่เปลี่ยนแปลงและปล่อยให้ตัวเองสบายใจที่จะเชื่ออย่างนั้น เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เข้ามา จะเล็กจะน้อย หรือแม้จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีก็ตามเราก็จะไม่ต้อนรับมัน
ตัวอย่างเช่น
• Challenges = Opportunities
• Embrace your Weaknesses
• Focus on the Process
• Seeking Approval
🚩 3. แต่งตั้งผู้มีบทบาทหลักในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
เราต่างรู้ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ถ้าองค์กรจริงจังกับการสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงแล้วการมีคนที่มีบทบาทหลักในการเสริมความแข็งแกร่งให้องค์กรใดด้านนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยบทบาทหลักของคนคนนี้คือการทำงานแบบ cross-functional เพื่อให้ทั้งองค์กรพร้อมสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะหลัก ๆ ของคนคนนี้คือ: - ทำงานได้กว้างขวางทั้งในแนวราบ และแนวดิ่ง เพราะจะเป็นคนที่เชื่อมทั้งองค์กรเข้าด้วยกันเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น
- มีความรับผิดชอบที่ชัด แต่ปรับเปลี่ยนได้ โดยความรับผิดชอบที่ชัดคือพาองค์กรให้พร้อมกับทุก ๆ ความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นบุคคลนี้จึงต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน Scope การทำงานของตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง
- ต้องชอบความเปลี่ยนแปลง เพราะคนนี้จะต้องมาเป็นผู้นำในการที่จะปลูกฝัง Mindset ที่ดีให้กับพนักงานคนอื่น ๆ และเป็นแบบอย่างให้ได้
🚩 4. ออกแบบวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมต่อทุกความเปลี่ยนแปลง
ในการที่องค์กรจะเติบโตได้ดีในโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงนี้ ถ้าจะพูดกว้าง ๆ มันคือการที่องค์กรจะต้องมีการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ การกระทำ ถ้าวัฒนธรรมองค์กรเราต้อนรับวิธีคิดแบบใหม่ ๆ ความคาดหวังใหม่ ๆ ในแบบที่ไม่กลัวกับมันไปทั้งองค์กร เราจะสามารถเรียนรู้จากความเปลี่ยนแปลง และค้นพบโอกาสใหม่ ๆ ได้อีกมากมาย
ตัวอย่างเช่น
• ชื่นชมและให้รางวัลพนักงานเมื่อพวกเขาสร้างวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ และวิธีการใหม่
• ให้คุณค่าทางความคิดของทุกๆ คน ให้เท่ากับการบริหารองค์กร
• ให้อำนาจตัดสินใจมากขึ้นแก่พนักงานที่มีความรับผิดชอบและพึ่งพาตนเองได้
• กระตุ้นพนักงานผ่านการถาม: “อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ใน….?
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>

.
.
>>>
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://hbr.org/2021/09/a-futurists-guide-to-preparing-your-company-for-constant-change
.
.
>>>
