“คิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ความสามารถไม่ถึง”
“ไม่พอใจในงานตัวเอง”
“ไม่เห็นทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย”
“คิดว่าตัวเองยังทำได้ดีกว่านี้แม้คนอื่นจะชื่นชมแค่ไหน”
“ผลงานยังเป็นประโยชน์ไม่พอ”
“จัดการเองเร็วกว่า ไม่ไว้ใจคนอื่น ไม่กล้าส่งมอบงานต่อคนอื่นเพราะกลัวความล้มเหลว”
“เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น สู้คนอื่นไม่ได้ เก่งไม่เท่าคนอื่น”
“ไม่กล้าเรียกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะคิดว่ายังรู้ไม่มากพอ”
.
.
.
หลายองค์กรที่มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเยอะๆ อาจประสบปัญหาที่มีพนักงานเป็นภาวะนี้กันได้ง่ายเนื่องจากต้องปรับตัวกับเรื่องใหม่ๆ อยู่ตลอด หรือบางท่านอาจเป็น Perfectionist ทุกอย่างต้องสมบูรณ์อาการนี้อาจลดการเห็นคุณค่าในตัวเอง จนทำให้บั่นทอนความสามารถของพนักงานเราได้
.
.
อ้างอิงจาก International Journal of Behavioral Science พบว่า 70% ของประชากรในโลกกำลังเป็นภาวะ Imposter Syndrome อาการจิตเวชอีกอย่างหนึ่งที่คิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ ซึ่งหากปล่อยให้เป็นนานๆ เรื้อรัง อาจทำให้จิตตก ไม่มีความสุข ไม่อยากมีส่วนร่วมกับสังคม จนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
.
.
ลองสำรวจวัฒนธรรมในองค์กรของคุณดูว่า “วัฒนธรรมองค์กรของคุณมันเป็นตัวสร้างความรู้สึกเหล่านี้ให้พนักงานหรือไม่? และวัฒนธรรมเช่นนี้เป็นสิ่งที่คุณอยากให้เกิดในองค์กรงั้นหรือ?” เป็นไปได้ที่องค์กรของคุณประสบปัญหานี้อยู่ วันนี้เรามีเคล็ดลับในการสร้างวัฒนธรรมที่ช่วยสนับสนุนและป้องกันไม่ให้พนักงานของเราเกิดอาการดังกล่าวโดยการ
.
.
✓ หาต้นตอหรือระบุพฤติกรรมของอาการ ให้ทีมเข้าใจว่ามันไม่จริงและเป็นแค่มุมมองของแต่ละคน
✓ ผลักดันวัฒนธรรมการโค้ชโดยไม่ลืมการฉลองความสำเร็จเล็กๆ ให้กับพนักงาน หรือทีมงาน ไฮไลท์ผลงานดีๆที่ประสบความสำเร็จ และข้อเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนงาน
✓ แชร์และฟีดแบคทีมงาน ส่งเสริมให้ทีมชื่นชมเพื่อนในทีม ขอบคุณและแชร์ความเชื่อมั่นของคุณกับพวกเขาเพื่อสร้างความอบอุ่น และความมั่นใจ
✓ ให้กำลังใจและแนะนำทีมงานที่ไม่ค่อยเชื่อมั่นในตัวเอง
.
.
และหากตัวคุณพบว่า คุณเองก็คิดกับตัวเองบ่อยๆ จนรู้สึกหรือมีพฤติกรรมบางอย่าง ย้ำคิดยำทำบ่อยๆ จนเริ่มเครียดและกังวล คุณสามารถเริ่มต้นปรับที่ Mindset หรือความคิดของคุณก่อนได้โดย
1. เราต้องเข้าใจและยอมรับในความรู้สึกนี้ก่อนว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา
2. ดูแรงจูงใจของเรา ว่าเราทำงานนี้เพื่อดึงดูดดความสนใจของคนอื่น หรือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
3. ทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง และเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ไม่รู้แทน
4. เขียนไดอารี่บันทึกงานที่ทำเสร็จ เพราะบางครั้งทำเสร็จแล้วแต่มองไม่เห็นคุณค่าในงานตัวเอง จนไปคิดว่า “ไม่เห็นทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย” การจดบันทึกจะช่วยให้เห็นจำนวนงานที่คุณทำเสร็จในแต่ละวัน และสร้างกำลังใจให้คุณได้
5. ยืดหยุ่นอย่างมีขอบเขต บางเรื่องไม่ต้องเป๊ะตลอดเวลา ไม่ต้องสมบูรณ์ที่สุด เรียนรู้ว่าผิดพลาดเพื่อการพัฒนา
6. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ลองตัวเป้าหมาย Quick Win ให้กับตัวเอง ทำอะไรเสร็จเล็กๆน้อยๆ ก็ให้รางวัลตัวเองบ้าง
7. ท่องเที่ยวเยอะๆ เพราะเวลาเที่ยวคุณต้องแก้ไขสถานการณ์ต่างๆเฉพาะหน้า และเมื่อคุณทำได้ คุณจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง (แต่รอหลัง COVID-19 หายแพร่ระบาดก่อนนะ)
.
.
A Cup Of Culture หวังว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยเติมกำลังใจให้กับคุณผู้อ่านนะ อย่าลืมว่า “หากเราไม่ให้กำลังใจตัวเอง ก็คงไม่มีใครในโลกนี้ที่สามารถเติมกำลังใจให้เราได้แล้ว….
>
>
อ้างอิงที่มาจาก: https://www.linkedin.com/pulse/your-company-culture-fuelling-imposter-syndrome-jo-wright/