Workplace Ritual หรือกิจวัตรบางอย่างในที่ทำงานมีในแบบที่เป็นเฉพาะตัวเป็นสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อพนักงาน ทีมงาน และองค์กร โดยองค์กรประกอบที่ทำให้ Ritual แตกต่างจากกิจวัตรอื่น ๆ คือ 1. มันคือกิจกรรมที่มีความหมายกับองค์กร และ 2. มันคือกิจวัตรที่ถ้าหายไปจะมีคนคิดถึง
และในด้านของวัฒนธรรมองค์กร Ritual เป็นหนึ่งในคีย์สำคัญของการมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง แต่ก็ยังเป็นหนึ่งในองค์กรประกอบที่เข้าใจยาก และไม่เป็นรูปธรรมที่สุดในการทำวัฒนธรรมองค์กรเช่นกัน ดังนั้นวันนี้เรามีหลักการที่จะช่วยให้การทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ Ritual เป็นไปได้มากขึ้น และเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วยหลักการ 3P
Erica Keswin ที่ปรึกษาด้าน Workplace Strategist และผู้เขียน Bring Your Human to Work และหนังสือ Bestselling อีกหลายเล่ม เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน Workplace Ritual ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับ Ritual มามากมาย โดยคุณ Keswin พบว่าสิ่งที่ทำให้ Ritual นั้นสามารถส่งผลต่อจิตใจพนักงานได้ถึงระดับนี้เป็นเพราะว่า Ritual คือสิ่งที่ช่วยส่งเสริม psychological safety ในที่ทำงาน และ purpose หรือจุดมุ่งหมายในการทำงาน และนำไปสู่ performance การทำงาน และทั้ง 3 ส่วนนี้ประกอบกันเป็นโมเดลที่เรียกว่า 3P ที่เป็นหลักการสำคัญที่ทุก ๆ Ritual ต้องมี
1. Psychological Safety
สิ่งหนึ่งที่มีร่วมกันของ Ritual ที่ประสบความสำเร็จคือการมีพื้นที่ให้พนักงานได้เป็นตัวเอง และสื่อสารความคิดของตัวเองออกไปโดยแท้จริง โดยหัวใจสำคัญของการสร้างพื้นที่แบบนี้คือการที่ผู้นำต้องเป็นคนเริ่มต้น
ตัวอย่างขององค์กรที่เห็นได้ชัดคือองค์กรอย่าง Weber Shandwick ที่มี Ritual ที่ชื่อว่า Time to Connect เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ George Floyd ที่เปิดโอกาสให้พนักงานมาแบ่งปันความเศร้า และบาดแผลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ในมุมของตัวเอง ที่ต่อมากลายเป็น Ritual ประจำองค์กรที่ถูกปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ เดือนที่สามารถแชร์กันได้ในทุก ๆ เรื่องราว โดยทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากการที่ CEO เป็นคนเริ่มต้นเปิดใจ และถามไถ่ความรู้สึกจากทุก ๆ คน
ไม่ว่า Ritual ขององค์กรจะเป็นลักษณะไหน การที่ผู้นำองค์กรเริ่มต้นสร้างบรรยากาศผ่านการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และเริ่มต้นเป็นตัวเองอย่างตรงไปตรงมาจะช่วยให้พนักงานคนอื่น ๆ เห็นโอกาสที่จะเป็นตัวเองได้เช่นกันในระหว่างกิจกรรม นั่นทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา และทำให้พนักงานมีโอกาสที่จะยอมรับและมีส่วนร่วมใน Ritual องค์กรได้มากขึ้น
2. Purpose
การช่วยให้พนักงานมองเห็นจุดมุ่งหมายของพวกเขาในองค์กรได้นั้นเป็นเรื่องสำคัญต่อการสร้าง engagement และรวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร หนึ่งในวิธีที่องค์กรสามารถทำให้พนักงานรู้สึกถึง Purpose ขึ้นมาได้คือการมี Values ที่ชัดเจน และเข้าใจตรงกัน และการเชื่อมโยง Values เหล่านี้เข้ามายัง Ritual คือโอกาสที่ดีที่สุดที่จะทำส่งต่อ purpose ไปยังพนักงานทุก ๆ คน
และ Time to Connect ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีเช่นกัน เพราะด้วย Values ขององค์กรที่ได้แก่ courage, inclusion, curiosity และ impact ที่เชื่อมโยงไปยังกิจกรรมอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ courage และ curiosity ที่มีการถามไถ่กันอย่างใส่ใจ และความกล้าที่จะเล่าเรื่องราวยาก ๆ ของตัวเองออกมา
3. Performance
สิ่งสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้องค์ประกอบอื่น ๆ เลยก็คือ Performance เพราะสุดท้ายแล้ว Ritual จะไม่มีประโยชน์เลยถ้ามันเพียงแต่สร้างความสนุก ๆ ไปเรื่อยโดยไม่ช่วยพาองค์กรไปข้างหน้า
โดยในมุมของ Performance นั้นไม่ได้แปลว่า Ritual จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรงเท่านั้น แต่มันหมายถึง Performance ในด้านของ Employee Engagement และ Employee Retention ได้เช่นกัน ที่ว่ากิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้พนักงาน engage กับองค์กรมากขึ้นหรือไม่ หรือช่วยให้พนักงานมีความผูกพันและรักองค์กรมากขึ้นหรือเปล่า
เช่นในตัวอย่างของเรา Time to Connect นี้เองก็ได้ผลดี เพราะเมื่อมีการสำรวจเพิ่มเติมก็พบว่าตัวเลขของ engagement จากพนักงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
. . .
ทั้งหมดนี้คือ 3 องค์ประกอบหลักของการมี Workplace Ritual ที่ดี ได้แก่การที่ Ritual นี้ต้องเป็นพื้นที่ให้พนักงานเป็นตัวเองได้ หรือมีสร้าง psychological safety ได้ Ritual ต้องเชื่อมโยงไปยัง purpose และ value ขององค์กร และสุดท้ายคือ Ritual นี้ต้องพาองค์กรไปข้างหน้า ที่ทั้ง 3 อย่างเรียกย่อ ๆ ได้ว่า 3P ที่หากองค์กรไหนที่มี Ritual อยู่แล้วอาจจะลองสำรวจดูอีกครั้งว่ามันตอบโจทย์ทั้ง 3P นี้หรือไหม หรือถ้าองค์กรไหนกำลังออกแบบ Ritual กันอยู่ 3P นี้อาจจะเป็นตัวช่วยในการออกแบบได้ไม่มากก็น้อย
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.