การทำงานแบบ Hybrid ไม่ได้มีรูปแบบตายตัว แต่ละที่มีความหลากหลาย ดังนั้นความ Hybrid จึงสามารถแบ่งออกเป็นระดับ ๆ ได้ และก่อนหน้านี้เราพาทุกท่านรู้จักกับ Hybrid ทั้ง 5 ประเภทกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันว่าแต่ละแบบเหมาะกับเราหรือไม่ โดยในรายละเอียดของทั้ง 5 รูปแบบทุกท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Link: แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงลักษณะแบบคร่าว ๆ พร้อมกับข้อดี-ข้อเสียของทั้ง 5 แบบ
🔰 รูปแบบที่ 1: Remote-Friendly
เป็นรูปแบบการทำงานที่อยู่ในขั้วของออฟไลน์ และยืดหยุ่นน้อยที่สุด คือการที่องค์กรคาดหวังให้พนักงานเข้าออฟฟิศกันเป็นส่วนใหญ่ในเวลางาน ยกเว้นกรณีพิเศษที่จะประกาศ หรือต้องมีการขออนุญาต เช่น วันที่ฝนตกหนักน้ำท่วม
เรียกได้ว่าเป็นขั้นต่ำที่สุดที่จะสามารถเรียกตัวเองว่าเป็น Hybrid ได้ หรือมักจะเกิดจากการต้องยอมประณีประนอมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยที่หลัก ๆ ยังต้องการการทำงานในรูปแบบเดิมอยู่
ข้อดี:
-อาศัยการปรับตัวน้อยที่สุดจากการทำงานรูปแบบเดิม ๆ
ข้อเสีย:
-อาจจะทำให้พนักงานไม่พอใจมากกว่าเดิม
-ไม่ได้ตอบโจทย์พนักงานต้องการความยืดหยุ่น และคล่องตัว
-ขยายช่องว่างระหว่างสิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องการกับสิ่งที่พนักงานคาดหวัง
🔰 รูปแบบที่ 2: Fixed Hybrid (Hybrid แบบเฉพาะกลุ่ม)
คือการ Hybrid แบบแบ่งกลุ่มพนักงานตามแต่ละบทบาทหน้าที่ จะออกมาในลักษณะของการที่มีบางทีมที่ทำงานแบบเข้าออฟฟิศเป็นปกติ และบางทีมทำงานนอกสถานที่ เช่น ทีม HR ประจำอยู่ออฟฟิศ ทีม Sales ทำงานออนไลน์
ข้อดี:
-ยืดหยุ่นกว่ารูปแบบที่ 1
-อาศัยความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย
-ตอบโจทย์ความยืดหยุ่นกับบางแผนกได้จริง
ข้อเสีย:
-มักจะเป็นการแบ่งโดยหัวหน้างาน โดยคนทำงานไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจ
-สร้างความไม่เท่าเทียมที่เห็นได้ชัดในที่ทำงาน
-ปิดโอกาสในการสำรวจวิถีการทำงานแบบใหม่ ๆ ที่อาจเป็นไปได้
🔰 รูปแบบที่ 3: Collaboration Days
คล้ายกับรูปแบบ Remote-Friendly รูปแบบนี้จะเน้นให้พนักงานทำงานที่ออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ แต่ให้ความยืดหยุ่นกับพนักงานในการเลือกที่จะทำงานข้างนอกได้ ซึ่งแตกต่างจาก Remote-Friendly ตรงที่ปล่อยให้ทีมได้มีการกำหนดวันได้ว่าจะ Remote ในวันไหนบ้างของสัปดาห์ หรือเดือน
ข้อดี:
-ให้ความยืดหยุ่นกับทีมมากขึ้น
-มีความสม่ำเสมอในการมาเจอกัน
-ยังคงรักษาบรรยากาศการทำงานร่วมกันในสถานที่ไว้ได้
ข้อเสีย:
-ยังค่อนข้างเน้นการทำงานในออฟฟิศเป็นหลัก
-ยังคงมีพื้นฐานจากความคิดที่ว่าคนเราต้องอยู่ร่วมกันเท่านั้นถึงจะทำงานได้ดี
-การทำงานร่วมกันในรูปแบบนี้ถูกกำหนดโดยตารางเวลา มากกว่าความจำเป็น (Synchronous work)
🔰 รูปแบบที่ 4: Flexible Hybrid หรือ Flexible Schedule
ในโมเดลนี้พนักงานสามารถเลือกได้ตั้งแต่เวลาทำงาน จนไปถึงสถานที่ทำงาน และให้อิสระกับแต่ละทีมในการกำหนดรูปแบบงานให้เหมาะกับสิ่งที่ต้องทำในขณะนั้น
ข้อดี:
-เป็นระดับที่ทำให้สามารถเกิด Asynchronous work ได้ (ทำงานไม่พร้อมกัน)
-มีความยืดหยุ่นในระดับที่พนักงานหลายคนมองหา
-ประสิทธิภาพสูงหากพนักงานเก่ง
ข้อเสีย:
-คาดเดาได้ยากว่าแต่ละคนจะเข้ามาทำงานเมื่อไหร่
-สร้างความซับซ้อนให้กับการจัดงบประมาณด้านพื้นที่ใช้สอย และ การเตรียม facility ต่าง ๆ
-รูปแบบนี้ทำให้เกิด proximity bias คือพนักงานที่บ้านใกล้กันมักจะทำงานด้วยกันบ่อยกว่า มากกว่าอิงจากความจำเป็นในการทำงาน
🔰 รูปแบบที่ 5: Remote-First ออนไลน์ไว้ก่อน
ในรูปแบบนี้คือพนักงานทุกคนเข้าใจตรงกันว่าพวกเขาถูกคาดหวังให้ทำงานทางไกลเป็นหลัก โดยที่องค์กรอาจจะยังมีการเช่าสถานเป็นครั้งคราวสำหรับวาระโอกาสพิเศษ ๆ เช่น townhall หรือ Sprint แต่นอกจากนั้นพนักงานรวมถึงผู้นำองค์กรควรจะทำงานจากที่อื่นเป็นหลัก
ข้อดี:
-ให้ความยืดหยุ่น แต่ก็ยังยืดหยุ่นไม่เท่ากับ Flexible Hybrid
-ประหยัดต้นทุนด้านสถานที่
-ส่งเสริมให้พนักงานปรับตัวกับวิถีการทำงานแบบใหม่
-เกิด Asynchronous work ได้เต็มรูปแบบ
ข้อเสีย:
-การทำงานที่ออฟฟิศกลายเป็นไม่ใช่ตัวเลือก
-ไม่เข้ากับพนักงานที่ต้องการจะเข้าออฟฟิศบ่อย ๆ
-ไม่ใช่พนักงานทุกคนจะมีพื้นที่ในบ้านพร้อมจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ทั้ง 5 รูปแบบนี้อันไหนตอบโจทย์พนักงานสุด ?
คำตอบก็คือรูปแบบที่ 4 Flexible hybrid และรูปแบบที่ 5 remote-first models คือรูปแบบที่ตอบโจทย์พนักงานที่สุด เพราะพนักงานนั้นมักให้ความสำคัญกับการได้ออกแบบชีวิตตนเอง มากกว่าให้งานมาเป็นตัวกำหนด
นอกเหนือจากด้านความต้องการของพนักงานแล้ว เมื่อเราพูดถึงการทำงานแบบ Hybrid หัวใจสำคัญของการทำงานแบบ Hybrid ที่มีประสิทธิภาพคือการที่พนักงานของเราสามารถที่จะทำงานกันได้แบบ Asynchronous คือไม่ต้องทำงานพร้อมกัน ต่างคนต่างทำ ลดการประชุมที่ไม่จำเป็น และโฟกัสงานได้มากขึ้น และมีเพียงรูปแบบที่ 4 และ 5 เท่านั้นที่จะสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Asynchronous Workplace ขึ้นมาได้ ในขณะที่รูปแบบอื่น ๆ นั้นคือรูปแบบที่อาจเรียกได้ว่ายังครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในด้านของ Performance แบบ Hybrid และอาจเป็นประโยชน์กว่าถ้าองค์กรตัดสินใจว่าจะ u-turn และขยับไปทางออฟไลน์ไปเลย หรือพยายามปรับให้เป็นรูปแบบ 4 หรือ 5
แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่จะทำให้การทำงานออกมาในรูปแบบที่ดีที่สุดคือการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบ ว่าในฐานะคนทำงานจริงแล้วรูปแบบไหนคือรูปแบบที่เหมาะกับพวกเขาจริง ๆ มากที่สุด
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.

https://brightsidepeople.com/hybrid-workplace-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b9%88-%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88/
https://brightsidepeople.com/%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b0-5-%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%ab/
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/hybrid-is-a-spectrum-how-to-choose-the-right-model-for-your-organization
