มุ่งสู่นวัตกรรมด้วย 3 ระดับของ Psychological Safety

Psychological Safety เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจที่สุดของทางเพจ A Cup of Culture เรา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรกำลังขาดหาย และเป็นหนึ่งในตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของธุรกิจ⁣⁣
โดยหากใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า Psychological Safety คำนี้ถูกนิยามโดยศาสตราจารย์ของ Harvard Business School ที่ชื่อว่า Amy Edmonson ที่นิยาม Psychological Safety ว่าเป็น “การที่พนักงานเชื่อว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษ หรือถูกต่อว่าถ้าเขานำเสนอไอเดียออกไป ตั้งคำถาม ตั้งข้อสงสัย หรือทำผิดพลาด”⁣⁣
⁣⁣
ซึ่ง Psychological Safety นี้ไม่ใช่ความไว้วางใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนว่าไว้ใจกันมากแค่ไหน แต่ Psychological Safety คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสภาพแวดล้อมของทีมที่เปิดรับกันและกัน นอกจากนั้นแล้ว Psychological Safety ก็ไม่ใช่ความใจดีหรือเป็นมิตร แต่มันคือการให้เกียรติความคิดเห็น และความผิดพลาดของคนอื่น โดยตัว Psychological Safety นี่มันช่วยให้บรรยากาศการทำงานของทีมเหมาะแก่การให้ Feedback กันได้อย่างตรงไปตรงมา เอื้อให้สมาชิกยอมรับความผิดพลาด และเรียนรู้จากกันและกัน⁣⁣
⁣⁣
สำหรับใครที่สนใจอยากจะรู้จักกับ Psychological Safety ให้มากขึ้นสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ และในวันนี้ที่เราจะมาพูดถึงหัวข้อของ Psychological Safety กันอีกครั้งหนึ่งนั่นเป็นเพราะว่าเวลาที่เราพูดถึงเรื่องนี้เราจะมีภาพของการที่มันเป็นเรื่องที่ Yes or No คือเรามักจะมองในมุมที่ว่าที่ทำงานเรามี หรือไม่มี Psychological Safety โดยเมื่อเรามองมันเป็นในมิติเดียวแบบนี้มันทำให้การพัฒนาก็กลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น และก็ยังขัดกับความเป็นจริงด้วยเพราะไม่ว่าเราจะรู้สึกถึงสิ่งที่องค์กรเราขาดมากแค่ไหน แต่ในความเป็นจริงแล้วน้อยองค์กรนักที่จะ Psychological Safety เป็นศูนย์โดยสิ้นเชิง⁣⁣
⁣⁣
ดังนั้น เมื่อเราจึงต้องมองมันให้เป็นระดับ ๆ ไป ว่าตอนนี้องค์กรเรามี Psychological Safety มากหรือน้อยแค่ไหน และคำว่ามากน้อยเหล่านี้มันแปลว่าอะไรกันแน่ นั่นทำให้เรามาพบกับเครื่องมือหนึ่งที่เหมาะกับปัญหานี้มาก ๆ ซึ่งก็คือโมเดลที่ออกแบบโดย Gustavo Razzetti ที่เขาแบ่ง Psychological Safety ออกมาเป็น 3 ระดับ ที่เขาเรียกมันว่า Psychological Safety Ladder โดยเขาตั้งต้นจากการที่เขามองว่า Psychological Safety นี่เป็นเหมือนขั้นบันได เพราะองค์กรควรที่จะตั้งใจในการพยายามก้าวขึ้นไปยังระดับที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันตัวแปรนี้คือสิ่งที่พร้อมจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาคือขึ้นได้ก็ลงได้เช่นเดียวกันกับการพยายามพัฒนามาขึ้นมา พฤติกรรมแย่ ๆ ของพนักงานที่ถูกปล่อยปะละเลยก็สามารถทำให้องค์กรร่วงจากขั้นบันไดนี้ได้เช่นกัน⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
โดยบันไดของคุณ Gustavo Razzetti ทั้ง 3 ขั้นได้แก่ 1. Belonging 2. Diversity of Thought และ 3. Innovation โดยแต่ละขั้นจะมีรายละเอียดดังนี้⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔴 1. Belonging (การเป็นส่วนหนึ่ง)⁣⁣
⁣⁣
ความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของทีมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นทีมที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ มันคือความรู้สึกของสมาชิกทีมที่รู้สึกปลอดภัยที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานได้ และกล้าที่จะเป็นตัวเองได้เต็มศักยภาพกับที่นี่ โดยหากมีขั้นนี้แล้วจะทำให้พนักงานกล้าที่จะออกความคิดเห็นในการประชุม มีความกระตือรือร้นกับการสนทนา และการวางแผน องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้การเป็นส่วนหนึ่งเรียกได้ว่าเป็นรากฐานของ Psychological Safety หรือเป็น Level 1 ⁣⁣
⁣⁣
แต่หลายคนก็สับสนระหว่างคำว่ารู้สึกปลอดภัย กับการเลี่ยงปัญหา นั่นเป็นเพราะหลาย ๆ องค์กรนั้นมี Psychological Safety ถึงแค่ Level นี้เท่านั้น หรือมีความเข้าใจถึงแค่ระดับนี้ แต่ที่จริงแล้วนั้นการพยายาม Psychological Safety จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ ถ้าเราไม่ตั้งเป้าไปที่การนำมาซึ่งไอเดียที่แตกต่าง และนวัตกรรม และนั่นคือขั้นถัดไป⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔵 2. Diversity of Thought (ความคิดที่หลากหลาย)⁣⁣
⁣⁣
ความคิดต่างที่หลากหลายคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ทีมสามารถสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมให้เกิดขึ้นได้ เพราะความคิดที่แตกต่างกันมาก ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ Groupthink ที่ทุกคนมีความเห็นตาม ๆ กันไปโดยไม่ผ่านการคิดจริง ๆ จัง ๆ⁣⁣
⁣⁣
นั่นทำให้นอกเหนือจากการที่สมาชิกรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งแล้ว สมาชิกยังรู้สึกปลอดภัยที่จะนำทักษะ มุมมอง หรือความเชี่ยวชาญที่เฉพาะทางของตัวเองมาใช้กับการทำงาน กล้าที่จะพูดถึงประเด็นยาก ๆ และคิดต่างจากคนอื่น ๆ โดยใน Level 2 นี้มันคือบรรยากาศที่ชวนให้สมาชิกทีมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของกันและกันโดยไม่มีการรู้สึกว่าถูกโจมตีเป็นการส่วนตัว⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🟡 3. Innovation (นวัตกรรม)⁣⁣
⁣⁣
หัวใจสำคัญของขั้นบันไดนี้คือสำหรับ Psychological Safety แล้วยิ่งเราไต่บันไดนี้ขึ้นมาสูงเท่าไหร่ มันยิ่งรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นที่จะเสี่ยง⁣⁣
⁣⁣
โดยใน Level 3 นี้คือจุดหมายปลายทางของการพัฒนา Psychological Safety ของเรา หรือการพัฒนาศักยภาพทีมในขั้นสูงสุด ซึ่งเป็นเป้าหมายที่หลาย ๆ องค์กรตามหา หรือก็คือนวัตกรรม โดยถ้าองค์กรมาถึงระดับนี้ได้คำว่านวัตกรรมนั้นไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาสินค้า หรือบริการใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ทั้งกับลูกค้า และตัวองค์กรเองที่ทำให้องค์กรปฏิบัติงานกันดีขึ้น ใน Level 3 นี้มันคือความรู้สึกปลอดภัยที่จะท้าทายสิ่งเดิม ๆ ที่มีัอยู่แล้ว และตั้งคำถามไปยังความเป็นไปได้ใหม่ ๆ กล้าที่จะทดลอง และกล้าที่จะผิดพลาด⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
หลาย ๆ ที่พยายามสร้าง Psychological Safety เพื่อที่พัฒนาศักยภาพทีม หรือไม่ก็เพื่อกระตุ้นให้พนักงานสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์กร แต่ความยากคือที่ผ่านมาหลายที่มองเรื่องนี้เป็นแค่ขาวกับดำ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว Psychological Safety คือสิ่งที่มีระดับของความมากน้อยที่สามารถพัฒนา และถอยหลังได้ โดยทั้ง 3 ระดับโดยคุณ Gustavo Razzetti ได้แก่ 1. Belonging 2. Diversity of Thought และ 3. Innovation จะช่วยให้องค์กรประเมินตัวเองได้มากขึ้นว่ามาถูกทางมากน้อยแค่ไหน และเป็นพื้นฐานในการสร้าง Psychological Safety ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้ง่ายขึ้น⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture⁣⁣
⁣⁣.
.

Resources:
https://brightsidepeople.com/tag/psychological-safety/
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/the-psychological-safety-ladder-canvas
https://hbr.org/2021/04/what-psychological-safety-looks-like-in-a-hybrid-workplace
Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search