ปรับมุมมองก่อนเริ่มงานใหม่ ! ถ้าอยากมี Work-life Bal-ance

Worklife Balance คือสิ่งที่หลายคนตามหาในยุคนี้ และหลายคนตัดสินใจที่จะเปลี่ยนงานเพื่อตามหามัน แต่ส่วนใหญ่กลับพบพวกเขายิ่งห่างไกลมันมากกว่าเดิมโดยเฉพาะในช่วงแรกของการเริ่มงานที่ใหม่ วันนี้เราจะมาพูดกันถึงสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ รวมถึงวิธีการที่ช่วยให้เรามี Work-life balance ได้ง่ายขึ้นในช่วงของการเริ่มงานใหม่⁣

ปัญหาเริ่มจากการที่แม้เราจะต้องการ Work-life Balance แต่อีกสิ่งที่หลายคนยังต้องการไม่แพ้กันคือความสำเร็จในการทำงาน ความต้องการในการพิสูจน์ตัวเองว่าเราเป็นคนเก่ง หรือเขาคิดถูกที่จ้างเรามา และสิ่งเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับความกลัวที่จะทำให้ที่ทำงานผิดหวัง เพื่อนร่วมงานผิดหวัง หรือยิ่งกว่านั้นคือความผิดหวังในตัวเอง⁣

นั้นทำให้หลาย ๆ คนที่เริ่มงานในที่ใหม่ที่ยังไม่คุ้นชินกับมาตรฐาน รูปแบบการทำงาน และกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของที่นี่รู้สึกว่าต้องกดดันตัวเองมาก ๆ และเกิดพฤติกรรมเช่น การตอบรับกับทุกคนที่ถูกหยิบยื่นมาให้ คิดมากที่จะนำเสนอความคิดตัวเอง กังวลกับทุก ๆ การประชุม ทำงานล่วงเวลา หรือรีบตอบข้อความงานแม้นอกเวลา⁣

การฝืนตัวเองในช่วงแรก ๆ อาจจะเป็นไปได้ แต่นาน ๆ ไปมันเริ่มกลายเป็นสิ่งที่คนรอบตัวมองเรา และเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ถูกคาดหวังไว้ นั่นทำให้ต้องกดดันตัวเองไปตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่นี่ และนั่นทำให้ Work-life Balance ที่ตามหายิ่งย้ายงานก็จะยิ่งไม่เกิดขึ้น เป็นวังวนแห่งความเหนื่อยล้า และการ Burnout และในการที่เราจะหลีกเลี่ยงการวางกับดักให้ตัวเองได้นี้คือการรักษาสมดุลย์ระหว่างความต้องการของตัวเอง และการสร้างความประทับใจให้กับที่ใหม่ โดยแนวทางในการเริ่มต้นมีดังนี้:⁣

::::::::::::::::::⁣

✳️ ระบุที่มาที่ไปให้ชัด⁣

เริ่มต้นจากการลองนึกว่าดูอะไรทำให้เราอยากที่จะพิสูจน์ตัวเองกับงานนี้โดยบางสาเหตุอาจจะเป็นแรงบันดาลใจที่ดี เช่น เพราะเราชอบงานนี้จริง ๆ หรือเรามีศักยภาพที่อยากให้คนอื่นเห็น แต่ในบางครั้งความกลัวบางอย่างก็อาจเป็นสิ่งที่นำพาเรามาถึงจุดนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์ที่มักจะออกมาในรูปประโยคเช่น “ฉันควรจะ…” หรือ “ฉันต้อง…” ตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะเชื่อว่าฉันต้องตอบรับทุกงานไม่งั้นจะเข้ากับที่ใหม่ไม่ได้ โดยความเชื่อประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ และเป็น unconscious แต่จะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเราในหลาย ๆ บริบท เช่น ทำให้เราไม่กล้าออกความคิดเห็น ดังนั้นสิ่งแรกที่ทำได้เพื่อปรับ Work-life Balance ของเราคือลองทบทวน และตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราพยายามพิสูจน์ตัวเองด้วยความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์เหล่านี้บ้างหรือไม่ และลองหามุมมองใหม่ให้กับความเชื่อเหล่านั้นโดยที่ไม่ขัดแย้งกับความเป็นตัวเองของเรา⁣


✴️ มีเส้นแบ่งในการทำงาน⁣

สำหรับคนที่ทุ่มเทกับการทำงาน และเชื่อมั่นในความก้าวหน้าในการทำงานแล้ว คำแนะนำที่บอกให้ลองกีดเส้นแบ่งในเรื่องการทำงานนั้นอาจจะฟังดูไม่เข้าท่าสักเท่าไหร่ เพราะมันอาจจะทำให้เราดูอ่อนแอหรือเปล่า เป็นคนทำงานด้วยยาก หรือเป็นคนเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้วการเป็นคนมีเส้นแบ่งชัดเจนนั้นแสดงถึงคุณสมบัติของการมี Self-management ในการบริหารเวลาและพลังงานตนเอง และแสดงถึงความเป็นผู้นำที่มีทักษะในการบริหารจัดการเวลา ⁣
การจัดลำดับความสำคัญ และการสื่อสาร⁣

ดังนั้น นอกจากการวางเส้นแบ่งจะแสดงให้ที่ทำงานเราเห็นถึงความเป็นผู้นำ และทักษะการบริหารของเราแล้ว มันยังเป็นการสื่อสารถึงคนรอบตัวว่าเราอยากให้เขาปฏิบัติกับเราอย่างไรด้วย โดยการไม่ทำแบบนี้หลายครั้งมักจะทำให้คนรอบตัวชินกับภาพลักษณ์ของเราที่ดูเป็นคนใช้งานง่าย และขาดภาวะผู้นำ ⁣


✳️ แชร์วิถีการทำงานให้คนอื่นรู้⁣

ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ของตัวเองที่ช่วยให้เราทำงานได้ดีในมิติต่าง ๆ เช่น ⁣

  • เวลาทำงานเรากี่โมงถึงกี่โมงดีที่สุด ⁣
  • ช่วงเวลาไหนที่เราสะดวกจะตอบข้อความ ⁣
  • ความถี่และระยเวลาของเวลาพัก ⁣
  • ทรัพยากรและการฝึกอบรมที่เราอยากได้ ⁣
  • ช่วงเวลาที่ต้องการ Focus กับงาน⁣
  • ลักษณะของงานที่ถนัด และอยากที่จะทำ⁣
  • ปริมาณงานที่พอดีสำหรับเรา⁣

สำรวจและระบุมิติต่าง ๆ ที่ช่วยให้เราทำงานได้ดีออกมาให้ชัดเจน และสื่อสารสิ่งเรานี้ไปยังผู้จัดการและทีมของเรา โดยอาจจะเป็น session เฉพาะที่แชร์กับสมาชิกคนอื่น ๆ โดยข้อดีของการทำแบบนี้คือการแสดงออกถึงความโปร่งใส และความจริงจังในการทำงานร่วมกันกับทีม⁣


✴️ ลงแรงอย่างมีกลยุทธ์⁣

สัปดาห์แรก ๆ หรือเดือนแรก ๆ ของการทำงานในที่ใหม่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างมากต่อภาพที่คนจะมีต่อเรา ดังนั้นเราเองก็เห็นด้วยอย่างแน่นอนว่านี่เป็นช่วงเวลาที่เราควรจะทำให้ดีที่สุด แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือมันไม่ได้แปลว่าเราต้องทำทุกอย่าง และการเลือกสิ่งที่เราจะลงแรง และเวลาในช่วงแรกของการทำงานนี้แหละคือสิ่งสำคัญ ในการเริ่มงานที่ใหม่เราควรที่จะแน่ใจได้เวลาพลังงานและเวลาที่เรามีจำกัดนั้นสร้าง impact ให้ได้มากที่สุด⁣

วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือการเช็คเป้าหมายของทีม รวมถึงความคาดหวังทั้งหมด และวางแผนเลือกสิ่งที่จะลงแรงของเราให้มี impact ที่สุดให้เป็น priority และในฐานะที่เป็นพนักงานใหม่เรายังสามารถที่จะใช้โอกาสนี้ถามคำถามเยอะ ๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการลงแรงของเราได้โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าเราจะดูไม่ดี และยังเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความ⁣
สัมพันธ์กับทีมใหม่อีกด้วย⁣

:::::::::::::::⁣

ในการเริ่มงานใหม่ หรือแม้แต่การพยายามสร้าง Work-life Balance ในที่ทำงานเดิมนั้นหัวใจสำคัญคือการที่เราต้องบริหารจัดการตัวเองให้ดี และเป็นเจ้าของผลลัพท์ด้วยตัวเองมากกว่าให้บริษัทใดก็ตามจัดการให้เรา ดังนั้นนอกเหนือจากหลักการทั้งหมดในข้างต้นแล้วการลองเช็คอินกับตัวเองบ่อย ๆ หรือดีกว่านั้นคือหา partner ที่ร่วมพัฒนาไปกับเรา และคอยตรวจสอบความคืบหน้าให้กันและกัน เพื่อให้ในท้ายที่สุดแล้วเราสามารถที่จะมีชีวิตการทำงานที่ลงตัวกับเราได้ในระยะยาวทั้งในด้านของความสำเร็จในงาน และชีวิตส่วนตัว⁣


A Cup of Culture⁣
———–⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣
Corporate culture⁣
Organizational culture
.
.

https://www.pnas.org/doi/10.1073/pnas.1415086111
https://hbr.org/2021/05/stop-being-so-hard-on-yourself
https://hbr.org/2022/04/how-to-set-healthy-boundaries-when-starting-a-new-job

.
.

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search