“ทำไมน้องคนนี้ไม่มี Responsibility เลย?” หรือ “จะทำอย่างไรให้ทีมงานของเรามี Accountability นะ?” ผมเชื่อว่าทั้งสองคำนี้เป็นคำที่เราหยิบมาใช้บ่อยๆ เวลาที่จะพูดถึงอะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับคำว่า “ความรับผิดชอบ” ทำให้คำสองคำนี้ผู้คนมักใช้สลับกันอยู่เสมอ… แต่ในความจริงแล้วสองคำนี้ความหมายที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรและการปฏิบัติงานส่วนบุคคล
Responsibility ต่างจาก Accountability อย่างไร?
อ้างอิงความหมายตามพจนานุกรมชื่อดังอย่าง Merriam-Webster ให้ความหมายของทั้งสองคำนี้โดยสรุปคือ Responsibility = ความรับผิดชอบ / Accountability = ภาระรับผิดชอบ ซึ้งมีรายละเอียด ดังนี้
(1) Responsibility (ความรับผิดชอบ) คือ การรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ตามตำแหน่งงานที่ได้รับมา โดยจะโฟกัสไปที่การทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงอย่างถูกต้องและตรงเวลา (task-focused) หรือคือการตอบคำถามได้ว่า บทบาทนี้เกี่ยวข้องกับอะไร? บทบาทนี้เป็นของใคร? และอะไรคือเป้าหมายที่บุคคล (ซึ่งรับผิดชอบในบทบาทนี้) ต้องทำให้ความสำเร็จ?
ตัวอย่างเช่น เป็นความรับผิดชอบของพนักงานซ่อมบำรุงที่ต้องดูแลเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่เสมอ
(2) Accountability (ภาระรับผิดชอบ) คือ ความรับผิดและรับชอบในผลของการกระทำและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (results-focused) ทั้งยังต้องมีความโปร่งใส ชี้แจ้งตรวจสอบ และสามารถให้คำอธิบายได้ว่า “เหตุใดจึงสำเร็จหรือล้มเหลว? เพราะอะไร?
ตัวอย่างเช่น เมื่อเครื่องจักรติดขัดและเสียหายจากความประมาทของตนเอง พนักงานก็พร้อมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำและผลที่เกิดขึ้น
—ดังนั้น Accountability (ภาระรับผิดชอบ) จึงมีขอบข่ายกว้างกว่า Responsibility (ความรับผิดชอบ)
———–
ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลายองค์กรคาดหวังให้พนักงานของตนเอง มีมากไปกว่าเพียงการทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของตนเองให้เสร็จสิ้น (Responsibility) แต่องค์กรคาดหวังให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของในงานนั้นๆ ร่มทั้งรับผิดและรับชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้วย (Accountability)
คุณ TORBEN RICK ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์องค์กรกล่าว่า “วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งจะช่วยให้ผู้คนในองค์กรเข้มแข็งไปด้วย พวกเขาจะตระหนักถึงความสามารถของตนเอง ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ (Responsibility) และพร้อมรับผิดชอบต่อการกระทำและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Accountability)” ซึ่งคุณ Torben Rick ได้แนะนำ SIMPLE Model ที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการมีภาระรับผิดชอบ และทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน
S = Set expectations
– ขั้นตอนแรกคือ ความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและความคาดหวังขององค์กร พนักงานจำเป็นต้องรู้ว่าพวกเขา “ถูกคาดหวังอะไร” ก่อนที่พวกเขาจะรับผิดและรับชอบต่อสิ่งใดๆ ได้ ยิ่งเป้าหมายและความคาดหวังชัดเจนมากเท่าไร เวลาก็จะเสียไปก็ยิ่งน้อยลงไปมากเท่านั้น
I = Invite commitment
– เพียงเพราะพนักงานของคุณรู้ว่าต้องทำอะไรไม่ได้แปลว่า “พวกเขาจะทำเช่นนั้น” ดังนั้น หลังจากกำหนดเป้าหมายและความคาดหวังแล้ว องค์กรต้องชี้ให้เห็นพนักงานเข้าใจสองสิ่งนี้ด้วย คือ (1) ทำแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างไร? (2) และเป้าหมายนี้จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างไร? ดังนั้น เมื่อพวกเขาเข้าใจเป้าหมายและความคาดหวังนี้แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะยินดีทำและรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่พร้อมรับผิดชอบต่อผลลัพธ์มากขึ้น
M = Measure progress
– ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้าง Accountability ควรที่จะมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดและประเมินผลจะช่วยให้พนักงานเห็นว่า ตนเองอยู่ไกลหรือใกล้จากเป้าหมายและความคาดหวังที่กำหนดไว้
P = Positive feedback
– การให้ Feedback ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาตรงๆ แต่มันช่วยเปิดประตูในการพูดคุย อภิปราย และหาวิธีปรับปรุงพัฒนาผลงาน *ซึ่งการให้ Feedback ที่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดคือ โฟกัสไปที่พฤติกรรม ที่สังเกตเห็นได้ วัดผลได้ มากกว่า Feedback เชิงนามธรรมความรู้สึก
L = Link to consequences
– บางครั้งแรงจูงใจจากภายนอกเล็กน้อยๆ ก็ช่วยกระตุ้นพนักงานให้มีแรงฮึดกลับมาโฟกัสที่เป้าหมายและความคาดหวังอีกครั้ง องค์กรควรจัดแรงจูงใจจากภายนอกเสริมเข้าไปด้วยระหว่างทาง เช่น รางวัล คำชม หรือการยกย่อง
E = Evaluate effectiveness
– การทบทวนวิธีการ การจัดกระบวนการ หรือขั้นตอนต่างๆ อยู่เสมอ
บทสรุป —เป็นไปได้ว่าพนักงานขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของเพราะพวกเขาไม่เข้าใจบทบาทของตนต่อความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องเริ่มต้นขั้นตอนแรกด้วยการระบุเป้าหมายและความคาดหวังให้ชัดเจนก่อน จากนั้นชี้ให้เขาเข้าใจว่าทำไปแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างไร และเป้าหมายนี้จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างไร ซึ่งก็ควรมีกรบวนการติดตามวัดผล ให้ Feedback กระตุ้นแรงจูงใจ และทบทวนขั้นตอนกระบวนการอย่างสม่ำเสมอด้วย
สามารถรับฟังเกี่ยวกับ “SIMPLE Model” ได้แล้ววันนี้ผ่าน Podcast : A Cup of Culture EP555 จะทำให้คนในทีมรู้สึกเป็นเจ้าของในงานอย่างไรดี!?
Contents ที่เกี่ยวข้อง : 4 ขั้นตอน ค้นหาอุปสรรคที่ขัดขวาง Accountability ในทีม
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.
![Team managment](https://brightsidepeople.com/wp-content/uploads/จะทำให้คนในทีมรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างไรดี-01-819x1024.png)
https://www.indeed.com/career-advice/career-development/accountable-vs-responsible
https://www.torbenrick.eu/blog/performance-management/infographic-simple-approach-to-high-performance-organization/
https://www.torbenrick.eu/blog/performance-management/how-to-hold-people-accountable/amp/
![arm](https://brightsidepeople.com/wp-content/uploads/zAA-5-1024x365.jpg)