การจัดเทรนนิ่ง มีบทบาทสำคัญต่อการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร (พร้อมตัวอย่างการจัดเทรนนิ่ง)

เวลาพูดถึงคำว่า “การฝึกอบรมพนักงาน” หรือ “การจัดเทรนนิ่ง (Training)” หลายคนมักจะมีมุมมองด้านลบกับคำนี้ ด้วยอาจจะมองว่าเป็นการเสียเวลาทำงาน เนื้อหาการฝึกอบรมมักน่าเบื่อ ไม่ตรงกับความต้องการ ไม่สามารถนำไปใช้ในงานได้จริง หรือขนาดที่บางคนรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้เข้าร่วมการฝึกอบรม ไม่ได้เกิดจากความต้องการของตนเอง ในทางตรงกันข้ามอีกหลายคนก็มีมุมมองด้านบวกว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถ เพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ

“วัฒนธรรมองค์กร” คือหัวใจสำคัญขององค์กรที่แสดงถึงค่านิยม ความเชื่อ และชุดพฤติกรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของทุกคนในองค์กร

“การฝึกอบรมพนักงาน” ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาความรู้ และเสริมทักษะให้กับพนักงานในด้านต่างๆ

อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ของความเชื่อมโยงระหว่าง “วัฒนธรรมองค์กรและการฝึกอบรมพนักงาน” คำตอบดูจะไปในทิศทางด้านบวกมากกว่า เมื่อทั้งสองส่วนมาผสานร่วมกันจึงทำหน้าที่เป็น “ตัวเร่ง” ให้เกิดความก้าวหน้า พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม เกิด productivity และ innovation ใหม่ๆ ในองค์กร บทความชิ้นหนึ่งจาก eLearning Industry เว็ปไซต์ชื่อดังด้านการจัดการเรียนรู้ ได้สรุปผลลัพธ์เชิงบวกของการนำวัฒนธรรมองค์กรมาผสานเข้ากับการฝึกอบรมพนักงาน ไว้ 8 ข้อดังนี้


แก่นแท้ของวัฒนธรรมองค์กร คือ ค่านิยม ความเชื่อ และชุดพฤติกรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของทุกคนในองค์กร ดังนั้น เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ผสานรวมเข้ากับเนื้อหาการฝึกอบรม พนักงานจะรู้สึกถึงความภาคภูมิใจ รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมมากขึ้น และรู้สึกผูกพันกับภารกิจขององค์กร


ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พนักงานที่รู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กร มักสะท้อนผ่านความมุ่งมั่นและการรับผิดชอบในบทบาทของตนเองมากขึ้น //แปะลิงก์บทความเรื่องความมุ่งมั่น///  นำไปสู่การลดอัตราการลาออก และประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องงานด้านพัฒนาองค์กร ร่วมทั้งวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจนสามารถปลูกฝังความรู้สึกภักดีที่คนหนึ่งมีต่อองค์กรด้วย ซึ่งสำคัญในการรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้


เนื้อหาการฝึกอบรมที่สะท้อนวัฒนธรรมองค์กร คือ ความสอดคล้องทั้งในอักษรข้อความ สัญลักษณ์ โทนสี และมูดแอนด์โทนในภาพรวมที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแบรนด์บนแพลตฟอร์มการฝึกอบรมทั้งหมด ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรทั้งภายในและภายนอก ความสม่ำเสมอนี้ส่งเสริมความเชื่อมั่นทั้งจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน


พนักงานที่เข้าใจและยึดมั่นในวัฒนธรรมองค์กรมักจะมีแรงจูงใจและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า พวกเขามองว่างานของตนมีความหมายและเป็นส่วนสำคัญขององค์กร แรงจูงใจภายในนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพนักงานขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายที่แท้จริง นอกจากนี้ วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ยังส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของงาน ส่งเสริมให้ริเริ่มและแสวงหาโอกาสในการเติบโตและพัฒนา


การนำวัฒนธรรมองค์กรนี้ผสมผสานเข้ากับโปรแกรมการฝึกอบรม ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาชีพ แต่ยังกลายเป็นรากฐานสำคัญขององค์กรด้านการเรียนรู้อีกด้วย พนักงานจะรู้สึกอยากตั้งคำถาม แสวงหาข้อมูลใหม่ และสำรวจมุมมองที่แตกต่างกัน สร้างความอยากรู้อยากเห็นซึ่งผลักดันให้พนักงานเจาะลึกในบทบาทและหน้าที่ของตนเองมากขึ้น


เมื่อพนักงานรู้สึกว่าวัฒนธรรมองค์กรสนับสนุนการเรียนรู้ต่อเนื่อง พวกเขามีแนวโน้มที่จะกล้าเสี่ยงและก้าวออกจาก comfort zone ของตนเองมากขึ้น และรับรู้ได้ถึงมุ่งมั่นในการเติบโตและพัฒนาขององค์กร


พนักงานที่ยึดมั่นในค่านิยมขององค์กร มีแนวโน้มที่จะมอบบริการที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ นำไปสู่ความพึงพอใจและภักดีของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งมอบประสบการณ์ของแบรนด์ที่ดีต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ร่วมทั้งลูกค้ารับรู้ได้ถึงความจริงใจในการโต้ตอบกับพนักงาน ดังนั้น เมื่อพนักงานยึดมั่นในวัฒนธรรมองค์กรอย่างแท้จริง ลูกค้าก็จะรู้สึกมั่นใจและไว้วางใจด้วยเช่นกัน


ประสบการณ์ลูกค้าที่ดี ซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมขององค์กร นำไปสู่ความภักดีที่เพิ่มขึ้น ลูกค้าที่พึงพอใจมีแนวโน้มที่จะกลับมาอีก และอาจกลายเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์


ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง วัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่นจะสร้างความแตกต่างให้กับองค์กร ลูกค้าจดจำและชื่นชมแบรนด์ที่ยืนหยัดในสิ่งที่มีความหมาย เมื่อพนักงานเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมนี้ ยิ่งเสริมสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์ ทำให้แบรนด์น่าจดจำและน่าดึงดูดในสายตาผู้บริโภคมากขึ้น


แนวทางปฏิบัติในการเลือกกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ควรเริ่มต้นจากการระบุค่านิยมองค์กร (Core Values) ที่เราอยากส่งเสริมก่อน จากนั้นระบุแนวคิดของกิจกรรม วัตถุประสงค์ การนำไปปฏิบัติ: ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นวางแผนกิจกรรม การดำเนินกิจกรรม และการติดตาม-วัดประเมินผล ซึ่งท่านสามารถดาว์นโหลดคู่มือ “The Value Playbook: Volume 1” ซึ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการเลือกกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร โดยกิจกรรมถูกแบ่งออกเป็น 20 หมวดหมู่ค่านิยมองค์กร (Core Values)
.


Accountability คือ หน้าที่หรือความเต็มใจที่จะยอมรับความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว เป็นองค์ประกอบสำคัญของความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมความรับผิดชอบ ดังนี้:


กิจกรรม Accountability Workshops
แนวคิด: กิจกรรม Accountability Workshops เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างความมีส่วนร่วม และย้ำถึงความสำคัญของความรับผิดชอบทั้งระดับตัวบุคคลและระดับทีม ผ่านการใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ การอภิปรายกลุ่ม และสถานการณ์จำลองจากชีวิตจริง


วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อให้เข้าใจหลักการของ “ความรับผิดชอบในสถานที่ทำงาน” หมายถึงอะไร
  2. เพื่อแสดงผลกระทบของความรับผิดชอบที่ส่งต่อประสิทธิภาพของทีมและความสำเร็จขององค์กร
  3. เพื่อพัฒนาทักษะที่ช่วยให้พนักงานสามารถนำความรับผิดชอบไปปฏิบัติได้ในงานประจำวัน

การนำไปปฏิบัติ:

1) สำรวจความต้องการหรือประเมิน:
– ก่อนการสัมมนาให้ส่งแบบสำรวจหรือแบบประเมินเพื่อทำความเข้าใจการรับรู้และวิธีปฏิบัติของพนักงานเกี่ยวกับ “ความรับผิดชอบ”
– โดยเราจะใช้ข้อมูลนี้ในการปรับเนื้อหาของการเวิร์คช็อปให้เหมาะสมกับบริบทสถานการณ์จริง


2) กิจกรรมละลายพฤติกรรม:
– ใช้กิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เปิดกว้างเปิดเผย และส่งเสริมการมีส่วนร่วม


3) กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role Play):
– ใช้โจทย์จากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จริงในสถานที่ทำงาน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มย่อย
– แต่ละกลุ่มได้รับโจทย์ที่สามารถสะท้อนทั้งพฤติกรรมที่รับผิดชอบและไม่รับผิดชอบ


4) จัดช่วงเวลาสำหรับการฝึกซ้อมและแสดง

– ช่วงท้ายของกิจกรรมควรสรุปผลบทเรียนว่าเรื่องราวนี้สะท้อนความรับผิดชอบหรือไม่รับผิดชอบอย่างไร จุดไหนทำได้ดีและอะไรควรปรับปรุง


5) การอภิปรายกลุ่ม:
– ดำเนินการอภิปรายกลุ่มโดยใช้หัวข้อที่เกี่ยวกับความท้าทายในการปฏิบัติตามงานบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ (Accountability) และกลยุทธ์ในการเอาชนะความท้าทายเหล่านั้น
– ส่งเสริมการแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวและบทเรียนที่ได้


ประโยชน์:

  1. สามารถปรับความยาวและเนื้อหาของสัมมนาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและเวลาที่มีได้
  2. เน้นย้ำการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสนับสนุนการพูดคุยอย่างเปิดเผยและจริงใจ
  3. สามารถใช้กิจกรรมเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ เช่น แบบฝึกหัดหรือการนำเสนอ case study


คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรม” หมายถึง การนำแนวคิดใหม่มาใช้ซึ่งส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ หรือโซลูชันใหม่ๆ ที่มีคุณค่า ซึ่งไม่ใช่เพียงประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาแต่นั้นต้องมีประโยชน์ ส่งผลกระทบในวงกว้าง และสามารถทำธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้ (หรือขายได้นั่นเอง) ตัวอย่างกิจกรรมดังนี้


กิจกรรม Innovation Awards
แนวคิด: กิจกรรม Innovation Awards เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อยกย่องและให้รางวัลแก่บุคคลหรือทีมงานที่ได้มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร รางวัลนี้เชิดชูการคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการนำแนวคิด ผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุงกระบวนการใหม่ๆ มาใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จ


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อยกย่องและให้รางวัลแก่ผลงานที่สร้างสรรค์ ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรม
  2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแนวคิดและการปรับปรุงผลงานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องภายในองค์กร
  3. เพื่อเน้นย้ำนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างให้กับพนักงานคนอื่น


การนำไปปฏิบัติ:

1) กำหนดเกณฑ์การให้รางวัล
– กำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าอะไรที่ถือว่าเป็น “นวัตกรรม” ภายในองค์กร ซึ่งอาจรวมถึงเกณฑ์ต่างๆ เช่น ความคิดริเริ่ม ผลกระทบ ความสะดวกในการใช้งาน และความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
– กำหนดรูปแบบการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ของโปรแกรมให้ชัดเจน
– กำหนดวัตถุประสงค์ เกณฑ์ กระบวนการเสนอชื่อ และตารางเวลา


2) กระบวนการเสนอชื่อ:
– ตั้งระบบสำหรับการเสนอชื่อบุคคลหรือทีมเพื่อรับรางวัล การเสนอชื่อสามารถเสนอเองหรือเสนอโดยเพื่อนร่วมงาน
– พิจารณาการจัดประเภทต่างๆ สำหรับนวัตกรรมประเภทต่างๆ (เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การปรับปรุงกระบวนการ การยกระดับประสบการณ์ลูกค้า)


3) คณะกรรมการคัดเลือก:
– จัดตั้งคณะกรรมการที่หลากหลาย ประกอบด้วยผู้นำระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญภายนอก และแม้แต่ผู้ได้รับรางวัลในอดีต เพื่อประเมินการเสนอชื่อ
– ออกแบบและนำเสนอกระบวนการคัดเลือกให้เป็นธรรมและโปร่งใส


4) งานประกาศรางวัล:
– จัดงานประกาศและเชิดชูผู้ชนะ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมบริษัทที่ใหญ่
– ออกแบบงานให้น่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของนวัตกรรมในบริษัท


5) รางวัลและการยกย่อง:
– บอกเล่าและให้ความหมายแก่ของรางวัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลในรูปแบบของเงิน วันหยุดพักร้อน การยกย่องต่อสาธารณะ หรือโอกาสในการทำงานในโครงการพิเศษ
– ประชาสัมพันธ์นวัตกรรมที่ชนะในช่องทางต่างๆ ของบริษัทเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น
– กระตุ้นให้ผู้ชนะได้แบ่งปันและบอกเล่าเส้นทางนวัตกรรมของตนผ่านการพูดคุยภายในหรือเวิร์กช็อป


ประโยชน์:

  1. กระตุ้นให้พนักงานคิดสร้างสรรค์และริเริ่ม
  2. ยกย่องและให้รางวัลแก่ความพยายามที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม
  3. ส่งเสริมการไหลเวียนของแนวคิดและการปรับปรุงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องภายในองค์กร


บทสรุป —การผสมผสานวัฒนธรรมองค์กรเข้ากับการฝึกอบรมพนักงาน ไม่ใช่แค่การแสดงออกถึงอัตลักษณ์แบรนด์แบบผิวเผิน แต่มันเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จและความรุ่งเรืองขององค์กรในระยะยาว วัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน ส่งเสริมการมีส่วนร่วม เสริมสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ และผลักดันประสิทธิภาพ กลายเป็นรากฐานสำคัญของความเป็นเลิศขององค์กร เมื่อองค์กรต่างๆ ตระหนัก

สนใจเนื้อหาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม คลิ๊ก “วัฒนธรรมองค์กร” คืออะไร ทำไมถึงต้องมี และจะสร้างให้เกิดขึ้นอย่างไร?”


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

การจัดเทรนนิ่ง
References
https://elearningindustry.com/importance-of-aligning-company-culture-with-employee-training
https://www.linkedin.com/pulse/analysis-effect-training-corporate-culture-success-meredith-d-graham/
arm
Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search